SHARE

คัดลอกแล้ว

อิทธิฤทธิ์หลัง ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ชนะเลือกตั้ง และเปิดสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ส่งผลสะเทือนต่อซัพพลายเชนทั้งโลกในหลายภูมิภาคจนประเมินกันว่า จากนี้ระบบเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนไป วิธีค้าขายแบบเดิมๆ กำลังจบสิ้นลง?

คำถามที่หลายคงสงสัยคือ แล้ว ‘ธุรกิจใหญ่ของไทย’ ที่มีการกระจายการลงทุนไปในหลายประเทศ เป็นหนึ่งในฟันเฟืองของห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ค้าขายและลงทุนทั้งใน จีน สหรัฐ ยุโรป อินเดีย และหลายประเทศในเอเชีย จะปรับตัวยังไงในช่วงที่การค้าโลกกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้

แน่นอนว่า ‘สินค้าปศุสัตว์และเนื้อแปรรูป’ อย่างเนื้อวัว เนื้อไก่ ก็อยู่ในข่ายที่สหรัฐอเมริกามองว่าไทยเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐสูง ขณะที่สินค้าไทยก็เผชิญกับการถูกเรียกเก็บภาษีจากสหรัฐฯ สูงถึง 36% จากนโยบาย “Reciprocal Trade” 

‘ซีพี’ ยักษ์ใหญ่สะเทือนกับเรื่องนี้แค่ไหน ล่าสุด ‘ธนินท์ เจียรวนนท์’ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อ Nikkei Asia ในช่วงเดินทางไปญี่ปุ่นไม่กี่วันที่ผ่านมา ถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมถึงผลกระทบที่ซีพีต้องเผชิญ

[ สหรัฐฯ ชนะสงครามการค้าในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะเสียเปรียบ ]

‘เจ้าสัวธนินท์’ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาอาจสูญเสียบทบาทความเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก หากยังคงใช้นโยบายการค้าที่เป็นปฏิปักษ์กับพันธมิตร โดยเฉพาะมาตรการขึ้นภาษีภายใต้นโยบาย “America First” ของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สร้างความสั่นคลอนต่อระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ เพราะนโยบายถูกนำมาใช้แบบไร้แบบแผน และเป็นการกระทำที่ละเลยพันธมิตรของสหรัฐฯ

และแม้ว่าสหรัฐฯ จะยังเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจและมีพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ถือว่าปลอดภัยที่สุดในโลก แต่หากยังเดินหน้าทำลายความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้า การลงทุนในสินทรัพย์ของสหรัฐฯ ก็อาจถดถอยในระยะยาว 

‘เจ้าสัวธนินท์’ ยังเตือนว่า หากประเทศต่างๆ รวมตัวกันสร้างกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตัวเอง สหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ที่ต้องแบกรับความเสียหาย

“เขาชนะในระยะสั้น แต่ในระยะยาว สหรัฐฯ จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ”

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ จะมีหนี้สาธารณะสูงทะลุ 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว แต่ ‘เจ้าสัวธนินท์’ ยังคงมองว่าสหรัฐฯ ควรทำหน้าที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลกต่อไป เพราะพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ยังถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าเชื่อถือที่สุดในโลก

“ถ้าเขาทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกปั่นป่วน แล้วสหรัฐฯ จะไปต่อยังไง? ใครจะยังกล้าลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ อยู่?” 

‘เจ้าสัวธนินท์’ ตั้งคำถาม พร้อมเตือนว่า ถ้ายังเดินหน้าแบบนี้ประเทศอื่นๆ อาจหันไปจับมือกันสร้างกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองแทนการพึ่งพาสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี บทสัมภาษณ์‘เจ้าสัวธนินท์’ เกิดขึ้นในในช่วงที่หลายประเทศ เช่น จีนและญี่ปุ่น กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อคลี่คลายความตึงเครียดจากสงครามการค้า โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากที่สุดในโลก ทำให้ ‘เจ้าสัวธนินท์’ มองว่า ญี่ปุ่นสามารถใช้สถานะผู้ถือพันธบัตรรายใหญ่เป็น “ไพ่ใบสุดท้าย” ในการต่อรองกับสหรัฐฯ หากเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าด้วย

[ เครือซีพีกระทบเล็กน้อยจากสงครามการค้า เพราะผลิตที่ไหนขายที่นั่นเลย ]

ส่วนผลกระทบของสงครามการค้าที่มีต่อเครือซีพี ‘เจ้าสัวธนินท์’ อธิบายว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจเกษตร-อาหารของซีพี “เพียงเล็กน้อย” เนื่องจากกลุ่มบริษัทเน้นกลยุทธ์ผลิตและขายในประเทศที่ตั้งโรงงาน และใช้เครื่องจักรในการผลิตที่นำเข้าจากญี่ปุ่นถึงประมาณ 80%

โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) ซึ่งเป็นบริษัทหลักในกลุ่มซีพี ก็สร้างรายได้จากต่างประเทศถึง 63% โดยมีเวียดนามและจีนเป็นตลาดหลัก สะท้อนให้เห็นว่าการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกช่วยลดความเสี่ยงจากมาตรการทางการค้าได้

“เราขายอาหารในประเทศที่เราผลิตสินค้า นโยบายนี้ช่วยให้เรารอดพ้นจากผลกระทบสงครามการค้า” เจ้าสัวธนินท์กล่าว

สรุปมุมมอง ‘เจ้าสัวธนินท์’ ได้ว่าในเรื่องสงครามการค้า นโยบายที่สุดโต่งอาจทำให้สหรัฐฯ เสียเปรียบได้ในระยะยาวเพราะอาจมีกลุ่มประเทศรวมตัวกันสร้างกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อปกป้องประเทศของตัวเองกัน ส่วนด้านธุรกิจเครือซีพี ก็ไม่ได้กระทบอะไรนัก เพราะรายได้หลักมาจากเวียดนามและจีนเป็นหลัก อีกทั้งตั้งโรงงานผลิตที่ไหน ก็ขายในประเทศนั้นๆ เลย

ที่มา :

        • https://asia.nikkei.com/Editor-s-Picks/Interview/CP-Group-tycoon-warns-US-Treasurys-selloff-could-weaken-America-s-status

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า