SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย , สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย มีข้อสรุปในเรื่องการเข้าร่วม
ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP โดยเห็นควรสนับสนุนให้ประเทศไทย เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มประเทศภายใต้ข้อตกลง CPTPP ในเดือน ส.ค.นี้

เนื่องจากการเข้าร่วมเจรจาทำให้เห็นถึงผลดีหรือผลเสียต่อการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีตามข้อตกลง CPTPP ซึ่งกระบวนการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีนั้น มีขั้นตอนเป็นลำดับขั้น ซึ่งประกอบด้วย การขอเข้าร่วมเจรจา การเข้าร่วมเจรจากับประเทศภาคี หลังจากเจรจาเสร็จแล้ว ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งขณะเดียวกันต้องมีการรับฟังประชาพิจารณ์ผลการเจรจาด้วย และสุดท้ายต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งต้องใช้เวลาในทุกกระบวนการอย่างน้อย 4 ปี

ทั้งนี้ ประเทศไทยสามารถยุติการเจรจาในทุกขั้นตอนได้หากเห็นว่าประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์ กกร. จึงเห็นว่าการเข้าร่วมเจรจาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยทราบถึงข้อตกลง และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับตัวของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ในเวทีโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน

ด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ BioThai กล่าวถึง กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณาญัตติด่วนให้มีการพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ว่า ยังมีความกังวลเกรงว่า สภาจะถูกใช้เป็นตรายางในการสร้างความชอบธรรมในการเข้าร่วมเจรจา CPTPP

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ทราบมาว่า ถ้ามีการตั้ง กมธ. ก็จะมีกรอบเวลาพิจารณาเบื้องต้น 30 วัน ซึ่งมีเวลาน้อยมากในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ความซับซ้อน และในชุด กมธ.ก็จะมีสัดส่วน ส.ส.ฝั่งรัฐบาลเป็นเสียงข้างมาก สภาอาจจะเป็นตรายางเพื่อสร้างความชอบธรรมเท่านั้น

ทั้งนี้ นายวิฑูรย์ ได้คาดการณ์ความเป็นไปได้ของทิศทางการตัดสินใจของ กมธ.วิสามัญชุดนี้ ใน 3 ทิศทาง คือ

1.ไม่มีมติ กมธ. อาจมีข้อสรุปตอนท้ายให้ศึกษาข้อดีข้อเสียหรือให้ข้อสังเกต โดยไม่มีการลงมติ ก่อนส่งต่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการต่อ เช่น การจัดให้โหวตในสภา
2. มีมติเข้าร่วมจากเสียงส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพื่อสร้างความชอบธรรม ลดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากมีการพิจารณาร่วมกันแล้ว
3. มีมติไม่เข้าร่วม แต่ในกรณีนี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก ขึ้นอยู่กับกระแสของภาคประชาชนที่ต้องแสดงออกถึงการคัดค้าน โดยคาดหวังว่าสภาผู้แทนราษฎรต้องรับฟังข้อเรียกร้องจากภาคประชาชน

ส่วนทางออกอีกแนวทางคือ การทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นายวิฑูรย์ระบุว่า ในห้วงเวลาขณะนี้การลงประชามติไม่สามารถทำได้ทัน แต่หากรัฐบาลต้องการเดินหน้าในการเข้าร่วมภาคี CPTPP ขอให้เลื่อนการแสดงความจำนงออกไปในการเจรจาครั้งหน้า เพื่อให้มีการศึกษาผลดี ผลเสียอย่างรอบด้าน และขอให้รัฐบาลจัดทำประชามติก่อนนำเข้าโหวตในสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า