Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ชี้ การเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP จะทำให้ไทยประกาศใช้การบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (CL) ได้ยากขึ้นเพราะเปิดช่องให้เจ้าของสิทธิโต้แย้งฟ้องร้องได้ ส่งผลกระทบทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้น้อยลง

นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน หากรัฐบาลไทยตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก  (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership : CPTPP) ว่า ในอนาคตหากประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง เงื่อนไขใน CPTPP จะส่งผลให้การบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing: CL) ทำได้ยากขึ้นจนกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน เพราะมีช่องให้ประเทศสมาชิก CPTPP และ นักลงทุนข้ามชาติฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและล้มการทำ CL ได้

นายนิมิตร์ กล่าวว่า ในงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้นได้รวมค่ายาอยู่ด้วยทั้งในส่วนของผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และยังมีค่ายาที่เป็นยาสำหรับโรคเฉพาะอีกปีละประมาณ 1 หมื่นล้าน ในจำนวนนี้มียาต้นแบบหรือยาที่ติดสิทธิบัตรอยู่ ซึ่งหากเป็นยาที่มีความจำเป็นก็จะถูกบรรจุเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติด้วยและต้องจัดซื้อในราคาของยาต้นตำหรับ

ขณะเดียวกัน ด้วยกลไกเดิม การจะขยับทำ CL ยาก็ยากอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามี CPTPP เข้ามาอีกก็มีความสุ่มเสี่ยงว่าจะถูกฟ้อง ทำให้ความที่ยากอยู่แล้วยากขึ้นไปอีก เนื่องจากสิ่งที่ CPTPP เพิ่มขึ้นมาคือเปิดช่องให้เจ้าของสิทธิที่เห็นต่างยื่นฟ้องระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนผ่านอนุญาโตตุลาการโดยแย้งว่า เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก  (in rare circumstances) ตรงนี้จะทำให้การทำ CL ยายากขึ้นไปอีก

“บางคนบอกว่ายังทำ CL ได้เหมือนเดิม เราก็เข้าใจว่ายังทำได้เหมือนเดิม แต่มันมีเงื่อนไขเหล่านี้อยู่ แล้วในอนาคตถ้าเราจำเป็นต้องใช้ยาที่ติดสิทธิบัตร โอกาสที่รัฐจะทำ CL ได้ก็คือเป็นศูนย์ เพราะมันจะทำให้รัฐไทยหรือหน่วยงานที่มีสิทธิประกาศ CL ไม่กล้าทำ ไม่พร้อมจะทำเพราะถ้าถูกทักท้วงจากเจ้าของสิทธิหรือประเทศสมาชิกใน CPTPP เมื่อไหร่ เราถูกฟ้องทันที แต่ถ้าไทยไม่เข้าร่วม CPTPP ตามกฎหมายและความตกลงที่ไทยผูกพันอยู่เดิม เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นเพียงพอประเทศไทยสามารถทำ CL ได้เลย” นายนิมิตร์ กล่าว

นายนิมิตร์ กล่าวสรุปว่า จากข้อมูลของ สปสช.พบว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบันไทยสามารถประหยัดค่ายาจากการทำ CL ยาได้ 71,265 ล้านบาท แต่ด้วยเงื่อนไขของ CPTPP แบบนี้ทำให้เครื่องมือที่ช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงยาราคาถูกมีความยากยิ่งขึ้น ทำให้การเข้าถึงยาเป็นปัญหาและสะท้อนไปโดยตรงกับงบประมาณค่ายา แต่ละปีงบประมาณค่ายาเฉพาะเหล่านี้จะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท หากไม่สามารถเข้าถึงยาราคาถูกได้ก็จะทำให้จัดซื้อยาแก่ผู้ป่วยได้ในจำนวนที่น้อยลง

ทั้งนี้ สปสช.รายงานมูลค่าประหยัดจากการทำ CL ยา ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบันปี 2563 พบว่า หากไม่มีการทำ CL ยา ไทยจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อยาในราคาที่สูงมาก เช่นในปี 2563 หากไม่ทำ CL ยา ต้องใช้งบประมาณซื้อยากลุ่มนี้เป็นเงิน 5,992.20 ล้านบาท แต่เนื่องจากไทยทำ CL ยา จึงใช้งบประมาณได้ถูกลง เหลือเพียง 578.90 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ในปี 2563 สปสช.สามารถประหยัดงบประมาณไปได้ 6,571.10 ล้านบาท

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า