Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ทำเรื่องไปถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอให้ครม.เห็นชอบการเข้าร่วมการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTTP ก่อนหน้านี้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์เป็นประธานก็ได้เห็นชอบไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เสียงเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกออกเป็นสองส่วน

– ฝั่งเครือข่ายภาคประชาสังคมยังเห็นว่ามีประเด็นอ่อนไหวหลายเรื่อง รายละเอียดหลายอย่างอาจทำให้ไทยเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ จึงมีการเรียกร้องได้ถอนวาระนี้ออกจากการประชุมครม.วันที่ 28 เมษายน 2563 ไปก่อน

– ฝั่งกระทรวงพาณิชย์เห็นว่าหากไม่รีบเข้าร่วมจะเป็นการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ

ก่อนอื่นเราจะมาดูกันก่อนว่า CPTPP ที่วันนี้เป็นหนึ่งในแฮชแท็กที่ติดอันดับต้น ๆ ในทวิตเตอร์ คืออะไร

CPTPP หรือชื่อทางการ คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการและการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

เป็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า เปิดเสรีเรื่องภาคบริการ หากใครเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องตกลงว่าจะใช้มาตรฐานเดียวกับชาติสมาชิกอื่น ๆ มีเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ

ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ในการคุยกันตอนแรกสหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมด้วย แต่ภายหลังก็ได้ถอนตัวออกไป แต่แม้สหรัฐอเมริกาถอนตัว รวมประชากรประเทศสมาชิกรวมกันแล้วก็มากกว่า 500 ล้านคน และมี GDP คิดเป็น 13% ของโลก

ประเทศที่เข้าร่วมสมาชิกต้องปรับกฎหมายภายในต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตกลง 30 ข้อด้วยกัน กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชนหรือ FTA Watch ระบุว่า เอกสารประกอบวาระการประชุมที่ส่งให้คณะรัฐมนตรีชี้ว่าใน 30 ข้อไทยพร้อมทำทันทีแค่ 15 ข้อ ส่วนอีก 15 ข้อเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่าง ๆ ซึ่งในเอกสารระบุว่าอาจจะเจรจาต่อรองได้ แต่หากเร่งรัดอนุมัติการเข้าเป็นสมาชิกก็ไม่มีใครรู้ว่าเราจะต่อรองหรือไม่ หรือจะรับหมดทั้ง 30 ข้อ

เปรียบเทียบ ข้อดี vs ข้อเสีย

บทความเรื่อง CPTPP โอกาสและความท้าทายของไทย จากสำนักวิชาการ สำนักงานเสขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สรุปข้อดีของการเข้าร่วม CPTPP ไว้อย่างน้อย 3 ข้อ ได้แก่

1.เพิ่มโอกาสการส่งออก โดยเฉพาะตลาดแคนาดา-เม็กซิโกซึ่งไทยยังไม่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี สินค้าหลักที่จะได้ประโยชน์จากการส่งออกได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป ข้าวผลิตภัณฑ์ยาง ที่แคนาดารับซื้อ ส่วนรถยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปยังเม็กซิโก

2.ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การเข้าร่วม CPTPP ยังช่วยดึงดูดการลงทุนของกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีโอกาสใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP  “หากประเทศไทยไม่เข้าร่วมก็อาจจะเสียโอกาสนี้ให้ประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนามได้” เอกสารดังกล่าวระบุ

3.ความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันปรับปรุงกฎระเบียบ เช่น กฎหมายสิทธิแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างธุรกิจชาวท้องถิ่น-ชาวต่างชาติ ซึ่งการปฏิรูปกฎหมายเหล่านี้จะเป็นผลบวกกับไทยในระยะยาว

หลังจากที่มีข้อเสนอการเข้าร่วมก็มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลถึงข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

 เรื่องที่ใหญ่ที่สุดที่มีการพูดคุยกันคือเรื่องของภาคการเกษตร

บทความเรื่อง ติดตามความคืบหน้าล่าสุดของข้อตกลงทางการค้า CPTPP ของ Economic Intelligence Cnter ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากแคนาดา เช่น ปุ๋ย และถั่วเหลือง ที่จะเข้ามาตีตลาดไทยหลังการเปิดเสรีด้านการค้า

นอกจากนี้มูลนิธิชีววิถียังออกมาแสดงความกังวลว่า CPTPP ยังมีข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้ว จะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น

นอกจากเรื่องการเกษตรแล้วยังมีข้อกังวลเรื่องธุรกิจบริการ เนื่องจากเงื่อนไขการเจรจาของ CPTPP ระบุเพียงรายการที่ไม่เปิดเสรี สิ่งที่นอกเหนือจากการระบุไว้มีอยู่กว้างขวาง อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยที่สงวนภาคบริการไว้ให้คนไทยทำให้ธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนแข่งขันได้

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่มีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวางคือเรื่องการเข้าถึงยาและการรักษาที่อาจกระทบ เนื่องจาก CPTPP ระบุให้รัฐวิสาหกิจที่ทำกิจการซื้อขายสินค้าจะต้องถูกปฏิบัติเสมอหน้ากับเอกชน ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมของไทยใช้วิธีประกาศบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เพื่อนำเข้ายาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์  หากถูกบังคับด้วยข้อตกลงตรงนี้หลายฝ่ายจึงเกรงว่าการเข้าถึงยาสำหรับผู้มีรายได้น้อยจะทำได้ยากกว่าเดิม

เรื่องนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูลพูดในการประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เมื่อวันที่ 27 เมษายน  2563 กล่าวว่ากังวลว่าการเข้าร่วม CPTPP จะกระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิต และสุขภาพของคนไทย

ขณะที่นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่าจะกระทบกับการดูแลรักษาประชาชนเป็นแสน ๆ คนในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ

“เราช่วยชีวิตคนติดเชื้อเอดส์ ไม่ให้เป็นโรคเอดส์แล้วก็รอดจากการตายเป็นแสน ๆ คนในช่วงปี 2459-2550 ไม่ใช่น้อยที่เดียวที่คนเป้นโรคเอดสืเป็นมะเร็งไม่มียารักษา เพราะสปสช.ไม่มีเงินที่จะไปซื้อยาที่จะมาให้คนไข้อยู่กับเชื้อโดยไม่มีใครเสียหายซึ่งกันและกัน แต่ทีนี้พอเราสามารถที่จำทำซีแอลได้(ประกาศบังคับใช้สิทธิ) มันก็ทำให้คนที่ติดเชื้อเอดส์สามารถจะอยู่กับเชื้อได้จนบัดนี้” อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขกล่าว  “อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่ากลัวสำหรับสัญญาการค้าตรงนี้ที่รัฐบาลกำลังพิจารณา”

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่เป็นที่กังขาว่าหากเข้าร่วมแล้วจะต่อรองข้อตกลงเหล่านี้หรือไม่ หรือจะรับทั้งหมด เช่น เรื่องที่สามารถให้เอกชนฟ้องรัฐบาลโดยนำเรื่องเข้าศาลระหว่างประเทศ แม้การกระทำของรัฐจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน (อ่าน เอกชนเตรียมฟ้องรัฐบาลที่ใช้มาตรการต่างๆเพื่อรักษาชีวิตประชาชน โรคระบาดได้เผยช่องโหว่ของระบบการค้าเสรีของโลก)

หลังมีกระแสต่อต้าน กระทรวงพาณิชย์ถอนเรื่องออกจากการประชุมครม.วันที่ 28  เมษายน 2563 แต่ไม่ช้าไม่นาน วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ก็มีการโหมข่าวการชงเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมครม.ใหม่อีกครั้ง แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีแผนจะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาอีกครั้ง ย้ำตนยังยืนยันจุดยืนว่าตนจะเสนอเรื่องนี้ก็ต่อเมื่อสังคมมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ทิ้งท้ายว่านี่คือส่วนของกระทรวงพาณิชย์ แต่ตนไม่ทราบหากกระทรวงอื่นจะมีการแทงเรื่องนี้เข้าครม.

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า