Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บรรษัทข้ามชาติกำลังเตรียมใช้กฎเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและนักลงทุนเอกชน ที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงทางการค้าต่างๆ เช่นข้อตกลง CPTPP เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยหลายล้านเหรียญสหรัฐจากรัฐบาลที่ตัดสินใจใช้มาตรการแทรกแซงหรือข้อจำกัดทางการค้าบางอย่างเพื่อรับมือกับวิกฤตการระบาดใหญ่ (Pandemic) ของโรคโควิด-19

ที่ผ่านมา บรรษัทเอกชนเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการล้อบบี้ให้มีกฎระเบียบดังกล่าวในข้อตกลง CPTPP และข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคีอื่นๆ ซึ่งช่วยให้พวกเขาหลบเลี่ยงกลไกศาลยุติธรรมรวมถึงศาลสูงออสเตรเลีย และให้พวกเขาสามารถฟ้องร้องรัฐบาลประเทศต่างๆ ในอนุญาโตตุลาการนอกประเทศ (Extraterritorial Tribunals) เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากรายได้ที่อ้างว่าสูญเสียไปอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางการค้าที่ประเทศนั้นๆประกาศใช้ กฎที่กล่าวถึงนี้เรียกว่า ISDS หรือกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนเอกชนและรัฐ (Investor-State Dispute Settlement)

กลไก ISDS ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organisation) ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่มีหน้าที่อย่างเป็นทางการในการดูแลการค้าระหว่างประเทศ

ที่ผ่านมา บริษัทฟิลิปส์มอริส ผู้ขายบุหรี่และยาสูบเคยใช้กลไกดังกล่าวในข้อตกลงการค้าระหว่างฮ่องกงและออสเตรเรีย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากออสเตรเลียเป็นเงินหลายพันล้านเหรียญ จากการที่ออสเตรเลียออกกฎหมายบังคับให้ซองบุหรี่ต้องเป็นซองเปล่า (ไม่มีภาพ/ข้อความโฆษณา)

กว่าออสเตรเลียจะคณะคดีนี้ ก็เสียเวลาไปถึง 7 ปีและเสียค่าใช้จ่ายทางคดีไปถึง 12 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

กรณีที่บรรษัทเอกชนใช้กฎหรือกลไกในข้อตกลงการค้าเสรีทำนองนี้เพื่อฟ้องร้องรัฐบาลที่ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และจัดการกับวิกฤตโลกร้อน กำลังเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Aceris Law LLC บริษักฎหมายซึ่งเชี่ยวชาญกลไกอนุญาโตตุลาการนอกประเทศ บอกกับลูกค้าว่า
“แม้อนาคตจะยังไม่ชัดเจน แต่เป็นไปได้สูงว่ามาตรการที่รัฐบาลต่างๆใช้ในการรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรค Covid-19 จะทำให้เกิดการละเมิดความคุ้มครองการลงทุนภายใต้ ข้อตกลงการค้าทวิภาคี และอาจนำไปสู่การฟ้องร้องโดยบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต”

อีกด้านหนึ่ง บริษัทกฎหมายสัญชาติออสเตรเลีย Alston & Bird ก็กำลังโฆษณางานอีเว้นท์ที่ใช้ชื่อว่า “ระลอกใหม่ของกลไกอนุญาโตตุลาการในยุคโควิต — มองไปข้างหน้า”

นักวิชาการสายนิติศาสตร์ซึ่งคอยจับตากลไก ISDS กล่าวว่า รัฐบาลต่างๆอาจต้องเตรียมเผชิญกับเคสที่ใช้กลไก ISDS จำนวนมากเมื่อการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกสิ้นสุดลง

มาตราที่เกี่ยวกับ ISDS เป็นการวางรากฐานให้เอกชนฟ้องรัฐ

นักลงทุนต่างชาติอาจอ้างว่ารัฐบาลละเมิดมาตราใน ISDS ที่เกี่ยวกับ “การเวนคืนทางตรง” (Direct expropriation) ผ่านการยึดทรัพย์สินเอกชนที่เกี่ยวกับสุขภาพและด้านอื่นๆเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการบังคับห้ามออกจากบ้าน (lockdown) ซึ่งกระทบการทำกำไรของเอกชน อาจถูกตีความว่าเป็น “การเวนคืนทางอ้อม” (Indirect expropriation) การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคโควิด-19 ยังทำให้เกิดคำถามหลายแง่มุมต่อข้อตกลงการค้าเสรีจำนวนมากที่ออสเตรเลียทำกับประเทศอื่นๆ

แม้ที่ผ่านมา Productivity Commission ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของออสเตรเลียจะเรียกร้องให้การเจรจาข้อตกลงทางการค้าเป็นไปอย่างโปร่งใสและเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ที่ผ่านมาข้อตกลงแต่ละฉบับก็ยังเจรจากันในทางลับโดยไม่มีกระบวนการประเมินผลกระทบที่เป็นอิสระทั้งในแง่ต้นทุนและผลกำไร

บ่อยครั้งที่ข้อตกลงการค้าเสรีเปิดตลาดการบริการพื้นฐาน เช่นบริการด้านสุขภาพ ให้นักลงทุนเอกชนจากต่างประเทศ โดยมีการจำกัดข้อบทที่เป็นข้อยกเว้น (Carve-outs) เพื่อให้แก้กฎระเบียบได้ในอนาคต (แต่ไม่สามารถขยายได้)

ข้อตกลงการค้าเสรีเหล่านี้ ยังช่วยเอื้อให้บรรษัทยาขนาดใหญ่เพิ่มระยะเวลาการผูกขาดยาใหม่จากเดิมที่มีการคุ้มครองอยู่แล้วถึง 20 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยาในราคาที่เป็นธรรมได้ช้าลง

ในเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้บังคับให้รัฐบาลออสเตรเลียต้องทิ้งวิธีการเหล่านี้ไปบ้าง (อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราว) มีการออกคำสั่งให้โรงพยาบาลเอกชนรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ช่วยเหลือบริษัทท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอุปกรณ์และเวชภัณฑ์จำเป็นเช่นหน้ากากอนามัย และเพิ่มการคัดกรองการลงทุนจากต่างประเทศโดยคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนต่างชาติ ในรูปแบบที่ปกติแล้วจะถูกห้ามโดยข้อตกลงการค้าเสรี

[ผู้เขียนเห็นว่า] นโยบายการค้าของออสเตรเลียยุคหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ต้องปฏิเสธวิถีสุดโต่งไปด้านในด้านหนึ่ง ทั้งแนวทางการเปิดตลาดเสรีให้เอกชนที่เน้นอยู่ในข้อตกลงฉบับหลังๆ และแนวนโยบายของทรัมป์และแฮนสัน ที่เน้นการสร้างกำแพงภาษีและขึ้นภาษีนำเข้าเพื่อส่งเสริมลัทธิคุ้มครองทางการค้า

ยุคหลังโควิด-19 เราควรทบทวนมาตรการเหล่านี้

ออสเตรเลียไม่ควรติดกับการต้องเลือกข้างในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ข้อตกลงการค้าใดๆ ควรต้องเจรจากันอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ ในระบบที่คำนึงถึงความจำเป็นเฉพาะเจาะจงบางอย่างของประเทศกำลังพัฒนา

สนับสนุนสิทธิแรงงานและมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นข้อตกลงร่วมระดับสากลและสามารถนำมาปฏิบัติได้โดยสมบูรณ์ ให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อให้ประเทศต่างๆ รวมถึงออสเตรเลีย สามารถคงศักยภาพการผลิตที่จำเป็นในสถานการณ์วิกฤต และให้รัฐบาลมีอำนาจออกกฎระเบียบที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อมได้

ที่สำคัญที่สุด จะต้องไม่ทำให้สภาพการผูกขาดยาและสินค้าจำเป็นใดๆเลวร้ายขึ้น ไม่เพิ่มสิทธิทางกฎหมายเช่น ISDS ให้กับบรรษัทข้ามชาติที่มีอำนาจทางตลาดมหาศาลอยู่แล้ว

 

เรียบเรียงจากบทความ Corporations prepare to sue over action to save lives as pandemic reveals trade flaws

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า