SHARE

คัดลอกแล้ว

อุตสาหกรรมร้านอาหารไม่ว่าจะเป็น red ocean แข่งขันรุนแรงมากแค่ไหนก็ตาม แต่ตลาดยังมีที่ว่างเหลือสำหรับแบรนด์ใหม่เสมอ อย่าง ‘CRG’ (Central Restaurants Group) แม้ว่าปัจจุบันจะมีแบรนด์ในเครือมากถึง 22 แบรนด์ แต่แผนการเติบโตของปี 2025 ยังมองว่าน่าจะเติมพอร์ตอีกประมาณ 2-3 แบรนด์ และน่าจะเป็นธุรกิจที่ยังขาด เช่น ชาบู, ปิ้งย่าง และสตรีทฟู้ด

‘ณัฐ วงศ์พานิช’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เปิดเผยในงานแถลงข่าว “Celebrating Success, Challenging Excellence” โดยขยายภาพรวมธุรกิจร้านอาหารของปี 2024 ที่ผ่านมาว่า แม้มีสถานการณ์ความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่ธุรกิจก็เปิดตัว 2 แบรนด์น้องใหม่ คือ NAMA Japanese and Seafood Buffet และ Katsu Midori Sushi ซึ่งยังเป็นไปตามเป้าในการสร้างพอร์ตธุรกิจให้แข็งแรง

ขณะเดียวกันมีความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น แต่ปีที่ผ่านมา CRG ยังสามารถเติบโตได้ 9% และโกยรายได้ถึง 15,800 ล้านบาท กับจำนวนร้านอาหารมากกว่า 1,300 สาขาทั่วประเทศ

“ผมมองว่า ถ้าในธุรกิจอาหารมีโปรดักส์ที่ใช่ โอกาสที่จะทำให้ธุรกิจขยายตัวได้มากๆ ก็จะเกิดขึ้น”

[ คาดการณ์ตลาดอาหารยังโตได้อีกมากราว 5-7% ]

ณัฐ วงศ์พานิช ได้พูดถึงคาดการณ์ของ ‘ตลาดอาหาร’ ในประเทศไทยว่าน่าจะโตได้อีกประมาณ 5-7% หรือราว 572,000 ล้านบาท ซึ่งรวมอาหารทุกประเภท แม้แต่สตรีทฟูดด้วย ดังนั้น อาหารจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ดี

ยิ่งสถานการณ์การแข่งจันในปัจจุบันรุนแรงมาก ทุกอาทิตย์จะมีแบรนด์เปิดตัวใหม่ตลอด หรือบางอาทิตย์ก็ 2 แบรนด์ ยังไม่นับว่าที่ผ่านมาแต่ละวันมีการปิดตัวลงไปเยอะเพราะการแข่งขันโหด ทั้งจากแบรนด์คนไทย และแบรนด์สัญชาติจีน ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด

อย่างไรก็ตาม mindset เกี่ยวกับ ‘ของแพง-ของถูก’ กลายเป็นเรื่องที่หลายคนประเมินผิด เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันอาจจะไม่ได้ชอบ ‘ของถูก’ เสมอไป เพียงแต่ชอบความคุ้มค่า พวกเขาสามารถซื้อราคาที่แพงได้ พรีเมียมได้ แต่วัตถุดิบ ราคา แพกเกจจิ้ง หรือประสบการณ์ลูกค้าต้องสมเหตุสมผลด้วย

โดยเขาได้ยกตัวอย่างแบรนด์ในเครืออย่าง OOTOYA’ ที่มีการเพิ่มเมนู ‘ลิ้นวัวพรีเมียม’ เข้ามา ซึ่งราคาไม่ถูก แต่ผู้บริโภคเข้าใจเรื่องของคุณภาพ ราคาที่แฟร์ จึงทำให้ผลตอบรับจากลูกค้าดีมากสำหรับเมนูนี้ เป็นต้น

[ คนไทยทานตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ 3 มื้อ ]

ด้วยความที่ไทยมีวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับเรื่องอาหาร ขนม เครื่องดื่ม โดยคนไทยยุคใหม่ไม่ใช่แค่ทานเฉพาะ 3 มื้อหลักอย่างที่เราเห็นเมื่อก่อน (เช้า-กลางวัน-เย็น) แต่กลายเป็นแบ่งทานอาหารขนมหรือเครื่องดื่มต่างๆ ได้ตลอดทั้งวัน-ทั้งคืน รวมๆ ก็น่าจะ 7 มื้อได้

โดย ‘กณพ ศรีอาวุธ’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่าย Food Innovation ขยายความ 7 มื้อของคนไทยว่า พฤติกรรมใหม่ของคนไทยทำให้ CRG ต้องนำอินไซต์ต่างๆ ที่ได้รับไปวิเคราะห์ และพัฒนามาเป็นเมนูในแต่ละแบรนด์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด

รวมถึงให้ความสำคัญกับ ‘วัตถุดิบ’ มากกว่าที่คิด เช่น แป้งโดนัท ที่ CRG พยายามรักษาความเป็นผู้นำในเรื่องความหลากหลายของแป้งโดนัทให้ได้ตลอด โดย CRG มีประเภทของแป้งให้เลือกมากกว่าคู่แข่งในตลาดในปัจจุบัน

โดยการพัฒนาเมนูใหม่ของ CRG ภายใต้ทีมทำงาน ‘Delicious Lab’ ด้วยการนำนวัตกรรม อินไซต์ พฤติกรรม ปัจจัยเสริมอื่นๆ มาประกอบร่างและต่อยอดเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งจะโฟกัสที่ 3 เรื่องหลัก ก็คือ 

  1. Delicious รสชาติต้องอร่อยเสมอ หัวใจหลักของอาหาร
  2. Premium Affordable ลูกค้าต้องเข้าถึงง่ายขึ้นสำหรับคุณภาพวัตถุดิบ และราคาที่สมเหตุสมผล
  3. Innovation ต้องเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมอาหาร เช่น การพัฒนาแป้งโดนัทชนิดใหม่ตลอดเวลา

 

[ ปีนี้ลงทุน 1,200 ล้านบาท แตกแบรนด์-ขยายสาขา-นวัตกรรม ]

ความน่าสนใจจาก CRG ปีนี้ที่ ‘ณัฐ วงศ์พานิช’ เปิดเผยไว้ก็คือ งบลงทุนเพิ่มประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งประมาณ 800 ล้านบาทจากส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการขยายสาขาแบรนด์ต่างๆ ตลอดทั้งปี และอีก 200 ล้านบาทจะเป็นทุนสำหรับนวัตกรรมในอาหาร เพื่อให้การเติบโตเป็นไปตามเป้า ก็คือ 13%

และจากที่ทุกๆ ปีเราจะเห็นแบรนด์จาก CRG ตลอด ปีนี้ก็เช่นกัน เพราะปี 2025 น่าจะมีแบรนด์ใหม่เดินเข้าพอร์ตธุรกิจประมาณ 2-3 แบรนด์ โดยเลือกจากธุรกิจร้านอาหารที่ยังขาด และมีศักยภาพในตลาดไทย เช่น

  • ร้านชาบู ตอนนี้มีแค่ OOTOYA ที่มีเมนูประเภทนี้ ยังถือว่าน้อยมากๆ สำหรับอาณาจักรร้านอาหารอย่าง CRG
  • ร้านปิ้งย่าง ตอนนี้มีแค่ ‘นักล่าหมูกระทะ’ ที่เป็นอาหารคล้ายกัน ไม่ใช่ปิ้งย่าง ดังนั้น เป็นไปได้ที่จะเห็น ‘ปิ้งย่าง’ เข้าสู่พอร์ตภายในปีนี้
  • อาหารสตรีทฟู้ด ตอนนี้ CRG มีแค่แบรนด์ ‘อร่อยดี’ ที่เป็นประเภทอาหารจานเดียว ดังนั้นยังถือว่าน้อยมากๆ หากเทียบกับศักยภาพของธุรกิจ

‘ณัฐ วงศ์พานิช’ ได้ทิ้งท้ายถึง ‘แบรนด์เครื่องดื่ม’ เช่น Brown Cafe (บราวน์ คาเฟ่) ที่ตอนนี้เหลือประมาณ 2 สาขา จากก่อนหน้านี้ 10 สาขา กับอีกแบรนด์ก็คือ อาริกาโตะ (Arigato) บรนด์เครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น แต่ราคาจับต้องได้ ซึ่งเขามองว่า ทีม R&D อาจจะต้องหันมามองตลาดเครื่องดื่มเพิ่มเติม เพราะในร่มของ CRG เชนธุรกิจเครื่องดื่มถือว่าน้อยมากๆ หากเป้าหมายใหญ่ต้องการเป็นอาณาจักรอาหารที่ครบสมบูรณ์

แต่ตลาดเครื่องดื่มในไทยตอนนี้ก็เป็น red ocean ไม่ต่างกัน คงต้องดูเกมธุรกิจของ CRG ต่อไปว่าจะรุกหน้ากลยุทธ์อะไรบ้าง และจะมีแบรนด์ไหนเข้าตาเครือใหญ่แห่งนี้บ้างในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า