Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากประเด็นกรมสรรพากรให้ใส่ข้อมูลเงินได้จาก คริปโทเคอร์เรนซีในแบบยื่นภาษี และคุณสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี และโฆษกกรมสรรพากร ให้สัมภาษณ์ในราย The Morning Wealth จาก The Standard เกี่ยวกับมาตรการภาษีคริปโท 15% ว่าคิดภาษีจากกำไร โดยการขาดทุนไม่สามารถนำมาหักลบได้ นำมาสู่ดราม่า และการถกเถียงบนโลกออนไลน์ 

ล่าสุด ดร.พีรภัทร ฝอยทอง ทนายความและนักวางแผนการเงินส่วนบุคคล โพสต์สเตตัสว่า จริงๆ แล้ว คนอาจต้องเสียภาษีคริปโทสูงสุด 35% เลยทีเดียว 

ดร.พีท ระบุว่า “การเก็บ 15% นั้น เป็นเรื่องของการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการหักในส่วนนี้) แต่ความจริงแล้ว ภาษีเงินได้จากการเทรดคริปโตนั้น เราอาจจะไม่เสีย หรือเสียสูงสุดถึง 35% เลยนะครับเพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายของการเทรดคริปโตนั้น เป็นการเสียภาษีล่วงหน้า แต่สรรพากรไม่ให้ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax) ต่างจากเงินปันผลที่เราได้จากการถือหุ้น”

ถ้าเราได้เงินปันผลจากการถือหุ้นมา 100 บาท เราจะถูกหักไป 10% ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าที่เราโดนหักไป 10% นี้ ถือเป็น final tax เลยหรือไม่ หรือ เราจะนำมาคิดเครดิตเงินปันผลก็ได้ (ถ้าเรามีเงินได้น้อย ๆ ก็คิดเครดิตปันผล เพื่อเอาขอคืนส่วนที่หักไปคืนมาได้)

แต่ถ้าเราเทรดคริปโตได้กำไร 100 บาท แล้วโดนหักไป 15% เรายังไม่สามารถถือเอา 15% นี้เป็นภาษีที่เราจ่ายได้ แต่ต้องนำมารวม หักลดหย่อนเสียก่อน ซึ่งข้อสังเกตคือการเทรดคริปโท สรรพากรกำหนดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) ซึ่งหักค่าใช้จ่ายอีกไม่ได้

หลังจากนั้นถึงจะมาดูว่าเงินได้สุทธิอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละเท่าไร ซึ่งมีตั้งแต่ 0 ถึงร้อยละ 35

ดร.พีท ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นดังนี้ 

สมมุติว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา เราเทรด BTC ได้กำไร 10 ล้าน แต่เทรด ADA ขาดทุน 10 ล้าน

แปลว่าทั้งปี เราจะมีเงิน 10 ล้าน และในส่วนที่ขาดทุนนั้นเราไม่สามารถนำมาหักกลบกันได้

ในการยื่นแบบแสดงการเสียภาษี เราจะต้องคำนวณดังนี้

(1) เงินได้ – 10,000,000 บาท

(2) ค่าลดหย่อนส่วนตัว – 60,000 บาท

[สมมุติว่าเราไม่ได้ทำประกันชีวิต ซื้อ SSF RMF ฯลฯ ก็จะมีค่าลดหย่อนแค่นี้]

(3) ค่าใช้จ่าย – การเทรดคริปโตหักไม่ได้

ดังนั้น เราจะมีเงินได้สุทธิ 10,000,000 – 60,000 = 9,940,000 บาท

เราจะต้องเสียภาษีดังนี้

  • 0-150,000 ได้รับการยกเว้น
  • 150,001 – 300,000 เสีย 5% [ภาษีสะสมสูงสุด 7,500 บ]
  • 300,001 – 500,000 เสีย 10% [ภาษีสะสม 27,500 บ]
  • 500,001 – 750,000 เสีย 15% [ภาษีสะสม 65,000 บ]
  • 750,001 – 1,000,000 เสีย 20%  [ภาษีสะสม 115,000 บ]
  • 1,000,001 – 2,000,000 เสีย 25%  [ภาษีสะสม 365,000 บ]
  • 2,000,001 – 5,000,000 เสีย 30%  [ภาษีสะสม 1,265,000 บ]
  • เกินกว่า 5,000,000 เสีย 35%

ที่มา : https://www.facebook.com/drpeerapat.f/posts/473544870802635 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า