Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ข่าวคราววงการคริปโตเคอร์เรนซี่ที่กำลังเป็นกระแสดังในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการจับกุมทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา (มูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในคดี “แฮ็กบิตคอยน์กระฉ่อนโลก” ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2016

ซึ่งจากการใช้เวลาสืบสวนถึง 6 ปี ล่าสุดทางการสามารถจับกุมสองสามีภรรยา ‘อิลยา ลิกเตนสไตน์’ และ ‘เฮเธอร์ มอร์แกน’ อายุ 34 และ 31 ปีตามลำดับ ได้แล้วในนิวยอร์ก พร้อมยึดบิตคอยน์เป็นของกลางได้อีกจำนวนหนึ่งด้วย

โดยทั้งคู่ถูกจับและถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการฟอกเงินและฉ้อโกงประเทศ

แม้คดีจะเหมือนหนังที่ใกล้มาถึงตอนจบ แต่เรื่องราวระหว่างนั้นกลับน่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะด้วยจำนวนบิตคอยน์ที่ถูกแฮ็กไปได้, การที่อาชญากรลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคม (แถมยังเป็นคนดังในโซเชียล) แล้วนำบิตคอยน์ไปฟอกเงินด้วยวิธีต่างๆ

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราว “อาชญากรรมที่สะเทือนโลก” เรื่องหนึ่ง ถึงขนาดที่ Netflix ประกาศนำเคสนี้ไปสร้างสารคดีแล้ว

แล้วเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง TODAY Bizview ชวนเจาะลึกเรื่องนี้ไปด้วยกัน!

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หรือในปี 2016 เหตุการณ์สะเทือนโลกคริปโตฯ ในปีนั้นคงหนีไม่พ้นข่าวกระดานเทรดที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้นอย่าง Bitfinex ประสบปัญหาเรื่องความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มของตัวเอง

ปัญหาที่ว่าก็คือ Bitfinex ถูกแฮ็ก โดยมีธุรกรรมราว 2,000 รายการ ได้รับการอนุมัติจากบัญชีผู้ใช้ให้ส่งบิตคอยน์รวมจำนวน 119,754 BTC ไปยังวอลเล็ตหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นบิตคอยน์ดังกล่าวก็มีมูลค่าราว 72 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้าหากคิดเป็นปัจจุบันก็มีมูลค่าราว 4.5 พันล้านดอลลาร์แล้ว (ราคา ณ วันที่ 10 ก.พ. 2565)

และแน่นอนว่าข่าวดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อตลาดคริปโตฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบิตคอยน์ราคาร่วงลง 20% ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

[ กระบวนการแฮ็กและฟอกเงิน ]

หลังจากถูกแฮ็กไป บิตคอยน์มูลค่ามหาศาลถูกเก็บไว้ในวอลเล็ตเดียว และยังไม่มีการเคลื่อนไหวไปไหน เพราะการถอนออกเป็นจำนวนมากในครั้งเดียวจะทำให้เกิดความสงสัยตามมามากมาย

กระทั่ง ในช่วงต้นปี 2017 บิตคอยน์จำนวนเล็กน้อยเริ่มเคลื่อนไหวออกจากวอลเล็ตผ่าน Alphabay แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตฯ บนเว็บมืด ที่มักใช้ในการทำธุรกรรมซื้อขายยาเสพติด อาวุธ และสินค้าผิดกฎหมายอื่นๆ

ข้อดีอีกอย่างที่ทำให้อาชญากรชอบใช้ Alphabay ในการโยกย้ายแลกเปลี่ยนคริปโต เป็นเพราะร่องรอยของคริปโตฯ บนบล็อกเชนนั้นจะหมดไป ทำให้ผู้ฟอกเงินสามารถฝากบิตคอยน์ไว้ในวอลเล็ตอื่น แบบที่ไม่รู้ว่าแหล่งที่มามาจากไหนได้

‘ทอม โรบินสัน’ จาก Elliptic ผู้ซึ่งติดตามเส้นทางคริปโตฯ ของการแฮ็กครั้งนี้ โดยใช้เทคนิคการติดตามและซอฟต์แวร์อื่นๆ ระบุว่า เมื่อ Alphabay ถูกปิดตัวลงโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในปี 2017 ผู้ฟอกเงินเปลี่ยนไปใช้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินภาษารัสเซียที่ชื่อว่าตลาด Hydra

3 ปีต่อมา เมื่อราคาบิตคอยน์พุ่งสูงขึ้น ผู้ฟอกเงินใช้ธุรกรรมประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ‘coinjoin’ โดยใช้ Wasabi Wallet ซึ่งเป็นวอลเล็ตที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดตามบนบล็อกเชน

ซึ่งโรบินสันระบุว่าวิธีการเหล่านี้ถือเป็น “เทคนิคการฟอกที่ล้ำสมัยที่สุดในขณะนั้น”

ลิซ่า โอ โมนาโก รองอัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ลิกเตนสไตน์และมอร์แกนเป็นผู้ดำเนินการการฟอกเงินเหล่านี้ พวกเขาใช้บริการเว็บมืดร่วมกับกระบวนการธุรกรรมอันซับซ้อนประหนึ่ง “เขาวงกตของธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล”

นอกจากนี้ พวกเขายังเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อปลอม, โอนเงินในธุรกรรมเล็กๆ หลายพันธุรกรรม ที่แยกจากกันโดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้หลุดรอดสายตาของระบบตรวจสอบไปได้

แต่ในที่สุด เงินก็เข้าสู่บัญชีแบบดั้งเดิมที่ ‘ลิคเตนสไตลน์’ และ ‘มอร์แกน’ ถือครอง พวกเขาฟอกเงินด้วยการเปลี่ยนไปเป็นทองคำ, NFT และบัตรกำนัลของห้างวอลมาร์ต ซึ่งใช้ในการชำระค่า Uber และ Playstation

แม้บิตคอยน์มูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์จะถูกแปลงเป็นเงินจริงแล้ว แต่อีก 80% ของที่ถูกแฮ็กมายังอยู่ในวอลเล็ตเดิมจนกระทั่งวันที่ 31 ม.ค.

[ ถึงคราวถูกไล่ล่า ]

ในขณะที่ผู้ฟอกเงินใช้เทคนิคต่างๆ ในการเคลื่อนย้ายคริปโตฯ แต่ภาครัฐก็ยิ่งหาหนทางต่อสู้กับมิจฉาชีพมากยิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ ที่กำลังจับตาดูการหลอกลวงครั้งใหญ่

ในขณะเดียวกัน นักวิจัยและนักเขียนโค้ดคริปโตฯ ก็กำลังสร้างเครื่องมือติดตามที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น แม้จะรู้ว่าวอลเล็ตไหนที่เก็บบิตคอยน์ที่ถูกแฮ็กไว้ แต่การเชื่อมโยงที่อยู่บนบล็อกเชนไปสู่ตัวตนคนจริงๆ นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

โรบินสัน กล่าวว่า การที่ AlphaBay ปิดตัวลงในปี 2017 ช่วยการสืบสวนของกระทรวงยุติธรรมได้อย่างมาก โดยโรบินสันเชื่อว่าการปิดตัวของ AlphaBay ทำให้รัฐสามารถเข้าถึงบันทึกการทำธุรกรรมภายในของแพลตฟอร์มได้ ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างวอลเล็ตจากการแฮ็กในปี 2016 และบัญชีที่เกี่ยวกับการฟอกเงินได้นั่นเอง

และจิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ที่สุดก็ถูกค้นพบ เจ้าหน้าที่เริ่มพบความเชื่อมโยงระหว่างบัญชีปลอม และบัญชีธนาคารที่เป็นของ ‘ลิกเตนไสตน์’ และ ‘มอร์แกน’

ในเดือน ม.ค. เจ้าหน้าที่ได้เข้าค้นคลาวด์เก็บข้อมูลของลิกเตนสไตน์ และพบลิสต์ลิงก์ที่อยู่วอลเล็ตที่ใช้ในการแฮ็ก พร้อมพาสเวิร์ด

โดยหนึ่งในวอลเล็ตเหล่านั้นเก็บเงินส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ คือบิตคอยน์จำนวน 94,000 BTC จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ใช้รหัสผ่านดังกล่าวจากระบบคลาวด์เข้าวอลเล็ตและยึดบิตคอยน์ดังกล่าวได้

[ อาชญากรโปรไฟล์ดี ]

อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าสองสามีภรรยาไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าทำการแฮ็กจริง แต่ถูกจับกุมในข้อหาฟอกเงิน นั่นเป็นเพราะการพิสูจน์ว่าใครแฮ็กนั้นอาจทำได้ยากกว่า

แต่ถึงอย่างนั้น การจับกุมสามีภรรยาทั้งคู่ก็ทำให้คนรู้จักของทั้งคู่ถึงกับตะลึง เนื่องจากโปรไฟล์ที่ทั้งคู่สร้างขึ้นไม่ได้ดูเป็นอาชญากรเลยแม้แต่น้อย

ลิกเตนไสตน์ เป็นชาวรัสเซียที่อพยพมาอเมริกาเมื่ออายุ 6 ขวบ พ่อของเขาทำงานให้กับหน่วยงานการเคหะของคุกในรัฐอิลลินอยส์ แม่ของเขาเป็นนักชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น

ตามโปรไฟล์ใน LinkedIn ระบุว่าเขาเป็นนักลงทุนด้านเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินดิจิทัล

ส่วนมอร์แกนเป็นชาวอเมริกัน เกิดในโอเรกอน พ่อของเธอทำงานให้กับกองทัพสหรัฐฯ และเป็นนักชีววิทยาที่เกษียณอายุแล้ว ขณะที่แม่ของเธอเป็นบรรณารักษ์ในโรงเรียนมัธยมปลาย

มอร์แกนยังเป็นนักธุรกิจหญิงคนเก่ง เป็นอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย เป็นแรปเปอร์เสียดสีที่ใช้ชื่อว่า Razzlekhan มากไปกว่านั้น มอร์แกนยังเขียนบทความลงนิตยสาร Forbes โดยเป็นบทความแนะนำการป้องกันธุรกิจจากอาชญากรรมไซเบอร์

คนรอบตัวของมอร์แกนบางคนยังไม่เชื่อว่ามอร์แกนกระทำความผิดจริง บางรายระบุว่ามอร์แกนเป็นคนจริงใจและซื่อสัตย์ การมีบุคลิกบนโลกโซเชียลที่ฉูดฉาดของมอร์แกน ก็เพื่อปลอดปล่อยตัวเองจากบทบาทอื่นที่กดดันชีวิต และบุคลิกนี้เองที่ทำให้ถูกเพ่งเล็งจากผู้มีอำนาจ นำมาสู่การตั้งข้อกล่าวหาและจับกุมในที่สุด

ขณะที่ทนายของทั้งคู่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ แต่ในคำให้การในศาล ทนายระบุว่าการดำเนินการสืบสวนนั้นค่อนข้างอ่อนแอ และกล่าวสรุปคดีโดยที่หลักฐานไม่ได้มีน้ำหนักเพียงพอ

เบื้องต้นศาลสั่งลงโทษทั้งคู่ 20 ปี ในข้อหาสมคบคิดฟอกเงิน และโทษ 5 ปีในข้อหาสมคบคิดฉ้อโกงประเทศ ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้รับการประกันตัวหรือไม่

ส่วนเรื่องการแฮ็ก Bitfinex นั้น เจ้าหน้าที่ระบุว่ากำลังสืบสวนเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป

ที่มา:

https://www.nytimes.com/2022/02/13/nyregion/bitcoin-bitfinex-hack-heather-morgan-ilya-lichtenstein.html

https://time.com/6146749/cryptocurrency-laundering-bitfinex-hack/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า