SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อน กระแสคริปโทเคอร์เรนซี หรือหรือดิจิทัลคอยน์ ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง หลังบิทคอยท์พุ่งทำราคานิวไฮมาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา จุดพลุดันเหรียญชิบะ หรือ Dogecoin ทำสถิติราคาบวกหลายเท่าตัว สูงสุดถึง 800% ตอบรับทวีตคนดังที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอย่าง ‘อีลอน มัสก์’ แห่ง Tesla ที่ติดแฮชแท็กคล้ายจะสนับสนุนคริปโทฯ สกุลนี้

เข้าสู่เดือนพฤษภาคม ข่าวเชิงลบเกี่ยวกับตลาดคริปโทเคอร์เรนซีที่มีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกรณี Tesla ประกาศระงับการใช้เหรียญบิทคอยน์ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงข่าวที่ 3 สมาคมด้านการเงินของจีนออกแถลงการณ์สั่งแบนการใช้คริปโทฯ ในการทำธุรกรรมการเงิน

นอกจากนี้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศยกระดับมาตรการควบคุมตรวจสอบการดำเนินธุรกรรมและถ่ายโอนเงินผ่านตลาดคริปโทฯ อย่างเข้มงวดเพื่อกวาดล้างกลุ่มหนีภาษี แม้ว่านักลงทุนบางรายจะตีความข่าวนี้ในเชิงบวกที่สะท้อนว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มยอมรับตลาดนี้ แต่สุดท้ายราคาเหรียญคริปโทฯ ในทุกสกุลยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากนโยบายการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลของแต่ละประเทศที่เข้มงวดขึ้น ‘ข่าวสาร’ ก็ส่งผลให้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซียังคงอยู่ใน ‘ภาวะซึมตัว’

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย, ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bit Investment กล่าวกับ TODAY Bizview ว่า การร่วงลงอย่างหนักของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี เป็นธรรมชาติของการลงทุนและอารมณ์ปกติของตลาดคริปโทฯ ที่ต้องมีทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าถึงจุดต่ำจุดแล้วหรือยัง เพราะหลังจากลงมาก็ดีดกลับขึ้นไปได้ จึงถือว่ายังไม่ถึงจุดที่เป็นแนวรับใหญ่ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นที่ราคาเหรียญบิทคอยน์ปรับตัวลดลงรุนแรง พร้อมบอกว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 300 ครั้งแล้ว
“บิทคอยน์ตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ครั้ง”

สาเหตุการผันผวนสูงของตลาดคริปโทฯ ในช่วงนี้ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ระบุว่ามาจาก 3 ปัจจัยหลัก
1. อีลอน มัส ที่จู่ๆ ทวีตจะไม่รับบิทคอยน์ในการซื้อขายรถเทสล่าอีกต่อไป ด้วยความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม บิทคอยน์ใช้พลังงานในการขุดทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมาก ทำให้ตอนนั้นราคาของบิทคอยน์ได้ร่วงลงไปสู่งจุด 45,000 เหรียญจาก 52,000 เหรียญทันที
2. กระแสข่าวแฮกเกอร์ยึด Colonial Pipeline บริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์แล้วเอาบิทคอยต์มาเป็นตัวเรียกค่าไถ่ ทำให้การส่งน้ำมันทางท่อต้องหยุดชะงักลง จนสหรัฐฯ ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ชื่อเสียงของบิทคอยน์เสื่อมเสีย ถูกมองเป็นภาพลบไปด้วยทันที
และ 3. กรณี Financial Stability and Development Committee (FSDC) หน่วยงานควบคุมด้านการเงินการคลังของประเทศจีน ประกาศแผนเดินหน้าปราบปรามการขุดเหมืองและการเทรดเหรียญคริปโทฯ ในประเทศ โดยมองว่าเพื่อลดความเสี่ยงในด้านเครดิต, ปฏิรูปสถาบันการเงินขนาดกลาง, และลงโทษกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมายอย่างรุนแรง

“จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้บรรยากาศตลาดคริปโทเคอเรนซี โดนถล่มต่อเนื่อง หากผู้เล่นที่เข้ามาใหม่ ขาดความเข้าใจก็อาจจะส่งผลให้รู้สึกว่าไม่ได้ปลอดภัยหรือรู้สึกว่าอาจจะไม่ต่อไม่ได้ จึงมีการเทขาย ซึ่งคนที่ยังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ก็จะเทขาย”

“สำหรับคนที่ติดดอยต้องดูจากวัตถุประสงค์คนที่เข้ามาจริงๆ ว่าเข้ามาเพื่ออะไร เพราะบางคนเข้ามาเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาว ก็มีเป็นเรื่องที่ผู้เล่นพร้อมเผชิญความเสี่ยงอยู่แล้ว…..คริปโทเคอเรนซี่ไม่เหมือนตลาดทุนอื่น ที่ราคาลงแต่ก็ไม่ได้ลงเยอะขนาดนี้ เช่น เห็นบางคนโพสต์ว่า จากมูลค่า 10 ล้าน เหลือ 3 ล้าน ซึ่งคนที่สูญเสียจริงๆ ก็จะรับไม่ได้” ศุภกฤษฎ์ กล่าว

สิ่งที่ควรตระหนักเสมอก่อนซื้อขาย คือ คริปโทเคอร์เรนซี อาจไม่มีปัจจัยพื้นฐานที่ชัดเจนมารองรับ ความเคลื่อนไหวของราคาคริปโตขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของคริปโทนั้นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการนำไปใช้งาน ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี การมีข่าวว่ามีการยอมรับ โดยบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้มีชื่อเสียง เป็นต้น
และที่สำคัญคือ ‘อารมณ์’ ศุภกฤษฎ์ ระบุว่า ปัจจัยการขึ้นลงของราคาคริปโทฯ โดยเฉพาะสกุลบิทคอยน์ นอกจากอุปสงค์และอุปทาน ล้วนๆ แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ตลาดด้วยว่าจะให้คุณค่าเหรียญนั้นอย่างไร พร้อมแนะนำให้นักลงทุนทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของคริปโทฯ แต่ละสกุล รวมถึงเข้าใจเป้าหมายการลงทุนของตัวเองด้วย

“แท้ที่จริงแล้ว มูลค่าของมันจริงๆ มันอยู่ที่ว่าเราเอาหลักอะไรเป็นตัวยึด เท่าที่ศึกษามามันมีโมเดลที่เรียกว่า Stock to Flow เหมือนไอเดียที่นำเสนอว่าจะเล่นบิทคอยน์ ที่คำนวณได้ว่าจะมีบิทคอยน์ออกมาเท่าไหร่ต่อปี พอจะเทียบเคียงกับทองคำได้ แต่ส่วนของทองที่ไหลออกมามีเท่าไหร่ แล้ว Market cap เท่าไหร่ ส่วนใหญ่คนซื้อจะไม่ค่อยดูโมเดลนี้ แต่จะดูที่ราคาตลาด ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาจะไม่ค่อยดูเรื่องพื้นฐาน เพราะคนเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นนักเทรด นักเก็งกำไร” ศุภกฤษฎ์ กล่าว

ศุภกฤษฎ์ ยอมรับว่า วงการคริปโทฯ ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์เยอะ และราคาขึ้นลงของคริปโทฯ สัมพันธ์กับข่าวสารเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างบางครั้งแค่มีกระแสข่าวออกมาก็ทำให้คนแห่เข้าไปซื้อ เพราะ ‘กลัวตกขบวน’ ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติของตลาดที่เปิดเสรี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนเข้ามาลงทุนต้องเรียนรู้ ว่าเราจะเอาหลักอะไรเป็นตัวยึดที่จะไม่ทำให้เรามีอารมณ์คล้อยตามไปกับข่าวสารที่เกิดขึ้น

“ตลาดนี้มันเป็น Open Market ใครจะมาปั่นก็ได้ ไม่มีผู้ควบคุม ลักษณะตลาดก็จะเป็นแบบนี้ไปตลอด ไม่สามารถตอบได้ว่าจะผันผวนไปถึงเมื่อไหร่ ยกเว้นว่าตลาดจะตายไปแล้ว เมื่อมันเป็นตลาดเสรีที่ใครจะทำอะไรก็ได้ สิ่งสำคัญคือคนที่เข้าไปต้องรู้เอง ต้องตระหนักเองว่าจะให้คำพูดของใคร มาเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการลงทุนหรือไม่ แต่เชื่อว่าเมื่อตลาดใหญ่ขึ้น ผลกระทบจะค่อยๆ น้อยลงไปด้วย แต่อาการแบบนี้จะยังคงอยู่ และมีแบบเรื่อยๆ ดังนั้นคนที่เข้ามาในตลาดจะต้องมีภูมิต้านทาน”

สุดท้าย ฝากถึงนักเทรดคริปโทฯ ที่กำลังติดดอย ขอให้กลับมาทบทวนเป้าหมายแรกในการลงทุนหากจะออกจากตลาด โดยการแก้ไขสถานการณ์ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองเท่านั้น ไม่ว่าจะล้มเลิก ไม่กลับมาเล่นต่อ หรือ เรียนรู้จากข้อผิดพลาด ระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งบางรายมองโอกาสนี้ ใช้วิธีถือเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน เพราะทำให้ต้นทุนนั้นถูกลง แต่ก็ต้องมีสภาพคล่องที่ทนต่อตลาดได้นานเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนช่วงกลางปี 2017 ที่ราคาบิทคอยน์ก็ปรับขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 650 ดอลลาร์ ไปทำนิวไฮในระดับ 20,000 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นไปราวๆ 3,000% แต่หลังจากนั้นราคาก็ร่วงลงสู่ระดับ 3,000 ดอลลาร์ หรือลดลงมาราวๆ 80% เช่นเดียวกัน และราคาจะดีดขึ้นมานิดหน่อย ก่อนจะลงมาแล้วเป็น ‘Crypto Winter’ ฤดูหนาวของคริปโทฯ

“เหมือนการจำศีลไปเลย ยอมรับว่าเหนื่อย เหมือนเดินข้ามทะเลทราย ต้องรอคอยว่าเมื่อไหร่ราคาจะมา ต้องใช้เวลานานนับปี ขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นอดทนได้หรือไม่”

“ย้ำว่าไม่ใช่ทุกเหรียญที่มีคุณสมบัติควรจะเก็บ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีเหรียญใดบ้าง ผู้เล่นจะต้องพิจารณาเอาเอง ว่าสิ่งที่ซื้อสามารถสะท้อนสิ่งที่กำลังถืออยู่หรือไม่ เชื่อว่านักลงทุนที่กำลังติดดอยอยู่ มีเหรียญที่หลากหลาย จากที่มีอยู่นับหมื่นสกุล ก็โฟกัสเฉพาะเหรียญใหญ่” ศุภกฤษฎ์ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า