SHARE

คัดลอกแล้ว

งานวิจัยล่าสุดเผย ปลาเสี่ยงหมดทะเลหลังร้านค้าประเภท โมเดิร์นเทรดอย่าง ซูเปอร์มาร์เก็ต-ร้านสะดวกซื้อต่างขายสัตว์วันอ่อนอย่างกว้างขวาง เมื่อเทียบกับตลาดสดและร้านชำ กลุ่มประมงและภาคประชาสังคมเรียกร้องภาครัฐให้ดำเนินการณ์และรณรงค์ให้ผู้บริโภคยุติการซื้อสัตว์น้ำที่ถูกจับก่อนวัยอันควรเพื่อรักษาระบบนิเวศน์และความยั่งยืน

ต้นเดือนกรกฎาคมภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่ออาหารทะเลที่เป็นธรรมและยั่งยืน ( CSO Coalition for Ethical and Sustainable Seafood in Thailand) เผยแพร่งานวิจัยเรื่อง “การสำรวจรูปแบบการจัดจำหน่ายสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่โตไม่ได้ขนาดในประเทศไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งสนับสนุนโดยองค์การอ็อกแฟมในประเทศไทย และสหภาพยุโรป พร้อมเวทีเสวนาออนไลน์ “ปัญหาปลาเด็ก เรื่องไม่เล็กของทะเลไทย” 

<iframe src=”https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FworkpointTODAY%2Fvideos%2F990395588436984%2F&show_text=false&width=560&t=0″ width=”560″ height=”314″ style=”border:none;overflow:hidden” scrolling=”no” frameborder=”0″ allowfullscreen=”true” allow=”autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share” allowFullScreen=”true”></iframe>

ปลาเด็ก หรืือสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัย กลายเป็นหนึ่งในสินค้าประมงที่ถูกจับและขายตามท้องตลาด ส่วนหนึ่งมาจากการใช้อุปกรณ์การประมงที่มีตาถี่ทำให้ปลาขนาดเล็กไม่สามารถหลุดรอดออกจากอุปกรณ์จับปลาได้ การจับปลาเหล่านี้ส่งผลเสีย เพราะจะทำให้สัดส่วนเหลือปลาตัวเต็มวัยในท้องทะเลเพื่อผลิตปลารุ่นต่อไปน้อยลงและเสี่ยงต่อระบบนิเวศน์ที่จะไม่สามารถรักษาความสมดุลได้

แรกเริ่มสังคมมีสมมติฐานว่าการแก้ปัญหานี้ต้องเริ่มจากชาวประมง อย่างไรก็ดี งานวิจันชิ้นนี้ก็ได้รื้อสร้างชุดความรู้ขึ้นมาใหม่ พร้อมปรับมุงมองจากฝ่ายตลาดที่ทำการซื้อขายสินค้าประเภทนี้ ส่วนหนึ่งของเนื้อการการวิจัย พบว่ากลุ่มที่มีการซื้อขายสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนมากที่สุดไล่ตามลำดับคือ 1.ห้างโมเดิร์นเทรด หรือตลาดค้าปลีก 2. กลุ่มตลาดขายของฝาก 3. ตลาดสด 4. ตลาดออนไลน์ต่างๆ ผลจากการสำรวจใน 15 จังหวัดพบว่าความนิยมของการบริโภคในผู้คนในจังหวัดชลบุรีมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือนครราชสีมา ต่อมาคือกรุงเทพ แปลว่ากลุ่มเมืองใหญ่ที่มีผู้คนเยอะ มีชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อเยอะ เป็นกลุ่มลูกค้าหลักในการบริโภคสัตว์น้ำวัยอ่อนในไทย”

ในการซื้อขายสัตว์น้ำวัยจิ๋ว จะไม่ใช้ชื่ที่บอกกับผู้บริโภคโดยตรงว่าเป็นสัตว์น้ำที่จับมาบริโภคก่อนวัยอันควร แต่จะมีการเลี่ยงไปใช้คำอื่นอย่างหลากหลาย

 “เช่น ปลาทูวัยเด็กที่ถูกจับมาขายจะถูกนำไปเปลี่ยนชื่อ เป็นปลาทูแก้ว หรือหมึกกล้วยวัยละอ่อนจะถูกเรียกว่าหมึกกะตอย ปลากะตักก็ถูกใส่ชื่อว่าเป็นปลาข้าวสาร หรือปูม้าวัยละอ่อนก็เปลี่ยนชื่อมาเป็นปูกะตอย โดยผู้บริโภคอาจเข้าใจว่าทั้งหมดนี้เป็นสัตว์น้ำสายพันธุ์ใหม่หรือเป็นชื่อสัตว์น้ำสายพันธุ์เล็ก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ แต่เป็นสัตว์น้ำวัยเด็กที่ยังไม่โตเต็มวัย” วิโชคศักดิ์ ณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผย

ในตอนนี้การแก้ปัญหาดังกล่าวถูกดำเนินการไปในหลายส่วน ส่วนของชาวประมง ภาคประชาสังคมร่วมกันรณรงค์ทำความเข้าใจ ในการเสวนานี้จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมพูดคุยด้วย

จิรศักดิ์เปิดเผยว่าตัวเองเคยใช้อวนตาถี่จับลูกปลาวันละหลายพันกิโลกรัมในอดีค ทำให้ปี 2551 เกิดวิกฤติไม่มีปลาให้จับ ต้องอพยพไปหากินต่างอำเภอ

“จนสมาคมรักษ์ทะเลไทยก็ได้มาลงพื้นที่ ถอดบทเรียนในการทำประมง ว่าทำไมเมื่อก่อนปลาเยอะแต่ตอนนี้ไม่มีปลาให้จับเลย ก็ได้ข้อสรุปว่าเราจับลูกปลาหมดจนไม่มีปลาขยายพันธุ์เลย เราจึงเลิกใช้อวนปลาขนาด 2.5 เลย เป็นข้อตกลงในชุมชนว่าจะไม่ใช้อวนขนาดเล็กมาจับปลาอีก ทำให้เห็นภาพว่าถ้าเราใช้ลูกปลาทะเล อาชีพเราก็พัง แต่ถ้าเราปล่อยให้เขาโตแล้วค่อยจับ เราก็มีโอกาสรอด” จิรศักดิ์สรุป

ทั้งนี้เขาชี้รายละเอียดว่าการทำประมงนั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือชาวประมงพื้นบ้านที่จะออกเรือแค่วันละครั้ง จับสัตว์น้ำแบบแยกประเภททำให้การออกเรือแต่ละครั้งต้องนำอุปกรณ์จับสัตว์น้ำเฉพาะชนิดไป ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถจับสัตว์น้ำได้คราวละมากๆ ต่อการออกเรือหนึ่งครั้ง ขณะที่ประมงพานิชย์เป็นประมงขนาดใหญ่ เครื่องมือมีความพร้อมกว่า ถ้าเป็นอวนล้อมจับก็จะมีออกคืนหนึ่ง 3-5 ครั้ง ทำให้จับสัตว์น้ำได้เป็นปริมาณมาก

 

การที่ปลาน้อยลงส่งผลต่อวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านอย่างจัง ดวงใจ พวงแก้ว Producer Outreach Manager – SE Asia  องค์กรมาตรฐานอาหารทะเลยั่งยืน ASC ชี้ว่าปลาหายไปมากทำให้หาวชาวประมงพื้นบ้านต้องการปลาพอจะดำรงชีพได้ต้องออกทะเลไปไกล ใช้ปริมาณน้ำมันมากกว่าเดิมทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น เทียบกับประมงพาณิชย์ที่ทุนในการเพิ่มอุปกรณ์เพิ่มแรงสูงกว่า

ปัญหาด้านระบบนิเวศน์เริ่มเห็นชัดแล้วในกลุ่มปลากะตัก ซึ่งเป็นปลายอดฮิตที่ถูกจับก่อนวัยอันควรก่อนบรรจุถุงขายในชื่อ ปลาข้าวสาร นอกจากปลากะตักเกิดโตไม่ทันจนแพร่พันธุ์แทบไม่เพียงพอจะทดแทนปลาที่หายไปแล้ว ปลากกะตักยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศน์ตรงที่เป็นอาหารของปลาอื่นด้วย เมื่อปลาเล็กอย่างปลากะตักหายไปจากธรรมชาติ ปลาอื่น ๆ ก็ขาดอาหาร ทำให้ปลาหลายชนิดหันมากินลูกตัวเอง ส่งผลให้ปลาชนิดอื่น ๆ น้อยลงไปอีก

“ต่อมาคือตัวปลาอย่างอื่นก็เริ่มลดน้อยถอยลงไป ปลาทูแทบจะหายไปจากทะเลไทย มนุษย์ที่ไปจับปลาจึงจับได้น้อยลงทำให้ต้องจับมากขึ้น ผู้ได้รับผลกระทบหลักๆ คือชาวประมงพื้นบ้านที่มีรายได้น้อย ส่วนประมงพานิชย์ก็ต้องออกเรือให้จับมากขึ้น ใช้เวลา อวนและน้ำมันเรือมากขึ้น ซึ่งกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งระบบ เพราะต้องใช้สัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนมากจึงจะมีน้ำหนักครบหนึ่งกิโลกรัม แต่ถ้าเรารอให้สัตว์น้ำโตเต็มวัยแล้วขายก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปริมาณมากถึงขนาดนั้น อันที่จริงก็รอเพียงหกเดือน ปลาส่วนใหญ่ก็โตเต็มวัยและทำให้ราคาในตลาดเปลี่ยนเป็นราคาถูกลง โดยหากไม่จัดการเรื่องนี้จะเกิดวิกฤติอย่างรุนแรง คนไทยจะกินปลาที่แพงมากขึ้น หาปลาที่มีคุณภาพมาบริโภคได้ยากมากขึ้น” วิโชคศักดิ์กล่าว

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการองค์กร Greenpeace เผยว่าเรื่องนี้ไม่ได้สร้างปัญหาแค่น่านน้ำไทยแต่เป็นปัญหาระดับโลก

 หากดูประมงโลกจะพบว่าจีนเป็นมหาอำนาจของประมงทะเล เข้าใจว่ากองเรือประมงออกหาปลามีจำนวนมาก จีนจับปลา 15 เปอร์เซ็นต์ของประมงโลก โดยนิยมจับปลาเป็ดจนส่งผลกระทบวงกว้างต่อระบบนิเวศทางทะเลของจีน 80 เปอร์เซ็นต์เป็นปลาวัยอ่อน ปริมาณของปลาเป็ดเหล่านี้มากกว่าปลาทั้งหมดที่จับได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ก็มีข้อเรียกร้องเช่นกัน เพราะนโยบายการประมงของจีนนั้นท้าทายมาก และได้มีการคุยกันว่าพยายามการลดการทำประมงทะเลให้เหลือ 10 ล้านตันต่อปีจาก 12-13 ล้านตัน และลดจำนวนกองเรือประมงลง จะช่วยให้ทะเลฟื้นฟูกลับมาได้ระดับหนึ่ง

“กรีนพีซในตุรกีมีงานรณรงค์เรื่องการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนเมื่อราว 10 ปีก่อน และมีคนร่วมลงชื่อให้รัฐบาลออกกฎหมายห้ามจับปลาวัยอ่อน 8 ชนิด กว่า 5-6 แสนคน ทั้งยังมีการกดดันในหลายๆ ทางจนเกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายประมงในตุรกีตามมา” ธารากล่าว

ภาคประชาสังคมที่ร่วมเสวนาเห็นตรงกันว่าทะเลไทยจะรักษาไว้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ภาครัฐต้องออกกฎที่สามารถบังคับใช้ได้และยืดหยุ่นพอสำหรับวัฒนธรรมประมงพื้นบ้าน ห้างโมเดิร์นเทรดซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ๋มากก็สามารถตัดสินใจหยุดซื้อสัตว์น้ำโตไม่เต็มวันก่อนมีกฎหมายออกมา และสุดท้ายเชื่อว่าหากผู้บริโภคเล็งเห็นผลเสียที่เกิดขึ้น และทราบว่าปลาจิ๋วๆที่แพ็กขาย จริง ๆ ไม่ใช่ปลาสายพันธุ์ใหม่แต่กลับเป็นปลาที่ถูกจับมาก่อนถึงวัน ก็จะร่วมรณรงค์ไม่ซื้อเพื่อลดความต้องการลงไปได้ นอกจากนี้ภาคประชาสังคมก็ออกแคมเปญ ซูเปอร์มาร์เก็ต: เลิกขายสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัย เพราะอาหารทะเลกำลังจะ #หมดแล้วจริงๆ  เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งในการรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า