SHARE

คัดลอกแล้ว

“สิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่จะยืนยันการแสดงสิทธิเสรีภาพ แสดงอัตลักษณ์ แสดงวิถีชีวิตของตัวเองได้ชัดเจน”

วันที่ 6 พ.ย. 2564 นายถนอม ชาภักดี อาจารย์พิเศษ ด้านทฤษฎีแนวคิดเชิงการวิจารณ์ศิลปะ วัฒนธรรม นักปฏิบัติการศิลปวัฒนธรรม และนักวิจารณ์ศิลปะ รวมถึงในฐานะที่เป็นคนอีสาน จ.ศรีสะเกษ ให้สัมภาษณ์กับ workpointTODAY เกี่ยวกับกรณีการวิจารณ์ถิ่นกำเนิดที่เกิดขึ้นในโซเชียล หากย้อนกลับไปมองอดีตมาสู่ปัจจุบัน ประเด็นการเหยียดชาติพันธุ์เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคอดีต โดยเฉพาะคนในลุ่มน้ำโขง ชี มูล ตั้งแต่ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของสยามแล้ว

“ผมเกลียดการดูถูกเหยียดหยามมาก เพราะไม่เปิดช่องให้เราได้พูด” อ.ถนอมกล่าว

ลักษณะการเหยียดส่วนหนึ่งก็คือเขาคิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่า หากวิเคราะห์กระแสข่าวที่เกิดขึ้นและมองย้อนไปถึงอดีตที่ว่า กรุงเทพฯหรือส่วนกลางทำให้อีสานเจริญ รวมถึงคนที่เหยียดมองว่าชนชั้นแรงงานก็คือคนอีสาน วัฒนธรรมแบบนี้ทำให้รู้สึกว่าการใช้แรงงานเป็นคนที่อยู่ในชั้นต่ำ เป็นคนไม่มีการศึกษาแม้ว่าจะมีการศึกษาสูงแต่ก็ถูกภาพรวมมองการเหยียดเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ซึ่งกรณีแบบนี้เกิดจากโครงสร้างของสังคมที่ไม่ได้เปิดช่องให้พูดถึงความเป็นชาติพันธุ์ ไม่ให้พูดถึงความเป็นคนในภูมิภาคที่เท่าเทียม

“ทำไมต้องมองอีสานว่าเป็นลักษณะความเป็นชนบท ผมคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่มาก ลักษณะการดูถูกเหยีดหยามแบบนี้ เพราะว่าโครงสร้างอำนาจกดทับให้คนภาคอีสาน หรือว่าคนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ถูกกดทับอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่เราพยามพูดถึงความหลากหลาย แต่พอเราพูดถึงความหลากหลายคนทั่วไปก็ไม่ได้เคารพถึงความหลากหลายที่เราแสดงออกมา” อ.ถนอม กล่าว

อ.ถนอม กล่าวอีกว่า ทุกอย่างจึงกลายเป็นการรวมศูนย์อำนาจ การไม่มีเสรีภาพการแสดงออกในเรื่องความเป็นมนุษย์ ความเป็นชาติพันธุ์เป็นปัญหาใหญ่มาก การไม่เคารพอำนาจทางวัฒนธรรมของคนอื่นก็เป็นปัญหา ทำให้คนภาคอีสานถูกเหยียดหยามและเหยียดหยามกันเอง และคนจำนวนไม่น้อยในรุ่นใหม่ ก็พยายามที่จะพูดถึงสภาพตนเองว่ามาจากที่ไหนมีกำพืดเผ่าพันธุ์อย่างไร เป็นเพราะว่าปัญหาส่วนกลางรวบอำนาจเอาไว้

สิ่งสำคัญที่สุดจึงควรกระจายอำนาจการปกครอง กระจายอำนาจชาติพันธุ์แต่ละพื้นที่ให้ได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านกระบวนการในการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมผ่านลักษณะการพูดถึงโคตรเหง้าเหล่าตระกูลของตัวเอง ชำระล้างประวัติศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่อดีต

ยกตัวอย่าง ‘หมอลำ’ ศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานที่ทั่วโลกรู้จัก คืออาวุธสำคัญที่สุดในลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ซึ่งใช้เป็นอาวุธในการต่อรองทางวัฒธนธรรมจากส่วนกลางแต่กลับไม่พูดถึงเรื่องนี้ หลายครั้งของประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของชาวอีสานกับอำนาจรัฐ มีหมอลำเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอในฐานะกระบอกเสียงในการปลุกระดมต่อสู้ต่อการกดขี่ของอำนาจอันไม่ชอบธรรม เช่น กรณีกบฏผีบุญ (พ.ศ. 2444-45) กรณีหมอลำน้อยชาดา บ้านเชียงเหียน (พ.ศ. 2479) กรณีหมอลำโสภา พลตรี บ้านสาวะถี (พ.ศ. 2483) กรณีหมอธรรมศิลา วงศ์สิน (พ.ศ. 2502) ส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นหมอลำทั้งสิ้น หากเราจะกล่าวว่า “ปัญญาชนชาวอีสาน” นอกจากพระสงฆ์แล้วก็คงเป็นหมอลำ

แต่กลับผลักดันให้หมอลำฉพาะเป็นแค่เรื่องความบันเทิงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วการร้องรำทำเพลง เครื่องดนตรีคืออาวุธสำคัญที่จะเป็นการต่อรองอำนาจทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้พูดถึงเรื่องเหล่านี้สักเท่าไหร่
“สำหรับผมแล้วผมทำงานในด้านทางศิลปวัฒนธรรม มองว่าการเปิดพื้นที่ให้แสดงออกอย่างมีเสรีภาพมีประชาธิปไตย ในเรื่องอำนาจทางศิลปวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ” อ.ถนอม กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า