Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จัดให้ประเทศไทยอยู่ในลิสต์ 10 ประเทศ “ถูกจับตา” เรื่องการ “บิดเบือนค่าเงิน” (currency manipulation) หมายถึงการที่รัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่งใช้นโยบายทางการเงินเข้าแทรกแซงค่าเงินในสกุลของตัวเอง เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ สร้างเสถียรภาพทางการเงิน หรือสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ประเด็นนี้ workpointTODAY พูดคุยกับ ผศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์  อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงประเด็นนี้ ผศ.ดร. อนุสรณ์ กล่าวว่าการจัดอันดับดังกล่าวเป็นวิธีการที่สหรัฐฯ ใช้เป็นแนวทางที่จะตอบโต้ทางการค้ากับประเทศที่สหรัฐฯ รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในแง่ของการทำการค้า โดยที่ประเทศเหล่านั้นมีการแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริง ซึ่งสหรัฐฯ จะมีเกณฑ์ในการดูว่าประเทศไหนเข้าข่ายบ้างด้วย 3 เกณฑ์ด้วยกันคือ

(1) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP ซึ่งสหรัฐฯ

(2) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

(3) การสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP

โดยเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ เข้ามาแทรกแซงซื้อดอลล่าห์เกินกว่า 2 % ของ GDP เพื่อให้เงินดอลล่าห์แข็งขึ้นและทำให้เงินสกุลของตัวเองอ่อนค่าลงเพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งออกและได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ นอกจากนี้ประเด็นเรื่องการที่ประเทศใดเกินดุลการค้าสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลล่าห์สหรัฐฯ แต่หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเกินดุลนี้ บางทีอาจจะไม่ใช่เรื่องของการบิดเบือนค่าเงิน แต่อาจจะเป็นเพราะว่าสินค้าจากประเทศนั้นๆได้รับความนิยมจากคนสหรัฐฯ หรือมีคุณภาพดีกว่า ราคาถูกกว่า ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นผลมาจากการที่เงินบาทอ่อนค่าและทำให้ราคาลดลงก็ได้ ฉะนั้นการพิจารณาที่จะตอบโต้ทางการค้าหรือไม่ สหรัฐฯ ยังต้องดูองค์ประกอบเรื่องอื่นๆ ที่จะตัดสินด้วย อย่างกรณีประเทศล่าสุดที่โดนตอบโต้ทางการค้าไปแล้วคือเวียดนาม โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับยางรถยนต์ ก็จะโดนเก็บภาษีเพิ่ม 6 -10% โดยที่เวียดนามถูกสหรัฐฯ ตอบโต้ว่าจงใจลดค่าเงินของตัวเอง

ไทยอยู่ในจุดที่กำลังถูกจับตา (monitoring list) กรณีนี้มีนัยยะสำคัญอย่างไรต่อประเทศไทย และไทยควรวางตัวอย่างไร ?

ประเด็นที่ไทยอยู่ในจุดกำลังถูกจับตา (monitoring list) ก็มีนัยยะสำคัญระดับหนึ่ง ซึ่งเราต้องพยามยามที่จะชี้แจงและบริหารจัดการไม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สหรัฐฯ กำหนดและนำไปสู่การที่สหรัฐฯ ตอบโต้ทางการค้าเช่น การขึ้นภาษี เพราะถ้าตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีเราก็อาจจะได้รบผลกระทบ แต่อย่างไรก็ตามไทยจะวิตกกังวลมากไปก็ไม่ได้ เพราะถ้าสหรัฐฯ มากล่าวหาว่าไทยบิดเบือนค่าเงินและไทยไม่สนใจเข้าไปบริหารจัดการ การที่เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไปก็จะกระทบกับผู้ส่งออกอยู่ดี แต่การบริหารการส่งออกหรือการดูแลเศรษฐกิจก็ไม่ได้มีเครื่องมือเดียวเท่านั้น ดังนั้นถ้าบางเรื่องกำลังถูกเพ่งเล็ง เราก็ต้องชะลอไม่ดำเนินมาตรการนี้และไปดำเนินมาตรการอื่นแทน เช่น การลดดอกเบี้ย แต่ก็จะมีผลข้างเคียงพอสมควรเนื่องจากเศรษฐกิจเราติดลบและมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่จำนวนมาก ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกจึงไม่ได้มีผลให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้ออะไร แต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ตรงนี้ก็ต้องไปศึกษาดู ดังนั้นการบริหารจัดการนโยบายการแลกเปลี่ยนต้องมีความสมดุล ว่าอะไรที่จะทำให้เกิประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวมและไม่ได้รับผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจ้างงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศที่ถูกจับตา รายงานล่าสุดยังระบุด้วยว่า ประเทศที่อยู่ในลิสต์ “เฝ้าจับตา” เพิ่มเป็น 10 ประเทศและดินแดน ได้แก่ ไต้หวัน, อินเดีย และ ไทย ที่เพิ่งถูกนำรายชื่อไปรวมกับ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เยอรมนี, อิตาลี, สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามีหลายประเทศใหญ่ๆ เช่นกันที่อยู่ในสถานะเดียวกับเรา ตรงนี้ประเทศไทยต้องมีความกังวลหรือไม่ ผศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไปเพราะเป็นสภาวะที่ทุกประเทศต้องบริหารจัดการให้สินค้าในประเทศตัวเองส่งออกได้มากที่สุด เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เกิดการจ้างงานและมีรายได้เข้ามา ขณะที่เศรษฐกิจภายในยังอ่อนแออยู่ ในทางทฤษฎีถ้าทุกประเทศแข่งขันกันลดค่าเงินหรือทำให้ค่าของตัวเองอ่อนค่า ก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์ในที่สุด แต่ถ้าหากประเทศใดทำก่อน ขณะที่ประเทศอื่นยังไม่ทำจึงจะได้ประโยชน์เหมือนกับเวลาพ่อค้าขายของและแข่งกันลดราคา ถ้าเราต้องการขายของได้ก่อนเราก็ต้องรีบลดก่อนคนอื่นเป็นต้น

ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกต้องปรับตัวอย่างไร

ขณะนี้ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกต้องช่วยเหลือตัวเองมากขึ้นเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเข้ามาบริหารจัดการแทรกแซงค่าเงินได้เหมือนเดิม เพราะถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามามากเกินไปก็จะถูกเพ่งเล็ง ดังนั้นผู้ส่งออกต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ส่งออกอาจจะต้องซื้อประกันความเสี่ยงเอาไว้ด้วยการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ได้ในระดับราคาที่ตัวเองยอมรับได้เพราะขณะนี้เราเริ่มเล็งเห็นแล้วว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจะไปเปิดบัญชีเงินสกุลต่างประเทศมากขึ้น โดยยังไม่ต้องแลกเงินกลับไปกลับมาเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า