SHARE

คัดลอกแล้ว

“เรียนยากขึ้น เสียสุขภาพ ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เครียด สุขภาพจิตเริ่มเสีย เริ่มท้อแท้ ไม่อยากไปเรียน ฯลฯ” คือสิ่งที่ได้รับรู้มาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการเรียนในห้องเรียน มาเป็นออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ ในช่วงวิกฤตโควิดที่ยาวนานถึง 2 ปี ซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทย เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้เรียนไม่มีความสุข และอาจหมดแรงบันดาลใจในการเรียนได้ในที่สุด

แน่นอนว่าหากปล่อยแบบนี้นานเกินไปจะไม่เป็นผลดี แล้วทางออกการศึกษาไทยในยุคนิวนอร์มอลจะเป็นอย่างไรไปดูกรณีศึกษาจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) ฟังเสียงสะท้อนจากนิสิต และมุมมองของอาจารย์ ความพยายามของจุฬาฯ ที่ออกมาตรการช่วยเหลือ ไปจนถึงความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย (KBank)ในการพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์ม CU NEX ให้เป็นทางออกในการเชื่อมโยงผู้เรียนกับมหาวิทยาลัยไว้ด้วยกัน เพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้ของนิสิตจุฬาฯ ให้สามารถเดินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุดบนวิถีนิวนอร์มอล

รับฟังปัญหาที่ต้องการทางออก

ก่อนจะลงมือพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์มเพื่อนิสิต จุฬาฯ ได้ให้ความสำคัญกับความต้องการของนิสิตเป็นสำคัญ เพราะนิสิตคือหัวใจสำคัญของสถาบันการศึกษา โดยเปิดการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

นางสาวชนิดาภา ถนอมวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า เดิมทีการเปลี่ยนผ่านจากมัธยมมาสู่การเรียนระดับมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว แต่การต้องมาเรียนออนไลน์ตั้งแต่ปี 1 คือสิ่งที่ยากกว่า ในช่วงแรกรู้สึกได้เลยว่าการเรียนไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับตอนเรียนในห้อง ส่วนการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์และเพื่อน ๆ ก็ไม่สะดวก อีกทั้งยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงวิกฤต

ด้านนายพิชญพงษ์ ศรีโภคา นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับทีม WorkpointTODAY ว่า การเรียนออนไลน์มีผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะแทนที่จะได้ออกไปใช้ชีวิตข้างนอกกลับต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในห้อง นั่งเรียนหน้าคอมตลอดทั้งวัน สุขภาพกายและใจเริ่มแย่ แรงบันดาลใจในการเรียนลดลงด้วย

และเพื่อให้การเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเกิดผลดีที่สุด ทั้งสองคนจึงเลือกที่จะแจ้งปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการด้านต่าง ๆ ไปยังอาจารย์ประจำคณะและทางมหาวิทยาลัย

ก้าวผ่านปัญหา

หลังจากที่ได้แจ้งเรื่องไปแล้ว นิสิตทั้งสองคนเล่าต่อว่า ทางมหาวิทยาลัยสนับสนุนเต็มที่ เช่น ปรับการสอบออนไลน์ให้สะดวกมากขึ้น แต่ยังคงความเป็นมาตรฐานที่ดีเหมือนเดิม มีช่องทางการติดต่ออาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะได้สะดวกขึ้น เช่น คณะครุศาสตร์มีการจัดส่งเครื่องดนตรีสำหรับใช้ในการเรียนให้ถึงบ้าน สำหรับนิสิตสาขาดนตรีที่ไม่มีเครื่องดนตรีเป็นของตนเอง มอบทุนการศึกษาช่วยเหลือในช่วงโควิด มีระบบยืมหนังสือจากห้องสมุด ช่วยดูแลสุขภาพจิตผ่านกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ มีการจองวัคซีน หรือแม้แต่ช่วยเหลือหากติดโควิด จนกว่าจะหายดี ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน CU NEX

นอกจากนั้นภายในแอปยังมีความน่าสนใจอื่น ๆ อีก เช่น ฟังก์ชันปฏิทินส่วนตัวที่แจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาเรียน สอบ และสามารถกดเพิ่มกิจกรรมส่วนตัวของนิสิตเข้าไปได้ด้วย ทำให้สามารถบริหารจัดการเวลาในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น สิทธิพิเศษสำหรับนิสิต เมื่อใช้จ่ายด้วยบัตรนิสิตจุฬาฯ ก็จะได้รับคะแนนสะสมจาก The1 บริการจองวัคซีนที่มาพร้อมระบบแจ้งเตือน เป็นต้น

“ช่วงแรกการเรียนออนไลน์เป็นเรื่องยาก แต่พอมีมาตรการช่วยเหลือออกมา และมี CU NEX ก็ช่วยได้มาก ทั้งในเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิต ทำให้พวกเราปรับตัวได้ง่ายขึ้น เพราะตั้งแต่ใช้แอปนี้มาตั้งแต่ปี 1 เห็นตลอดว่ามีการอัปเดตสิ่งใหม่ ๆ เสมอ เลยรู้สึกว่าถ้าต้องมีเรียนออนไลน์อีกรอบ CU NEX ก็จะมีฟังก์ชันใหม่ออกมาช่วยซัพพอร์ตได้”

ชูนโยบาย 50+ ช่วยนิสิตอย่างเร่งด่วน

เมื่อติดตามปัญหาจากนิสิตอย่างใกล้ชิดแล้ว ใช้เวลาเพียงไม่นาน จุฬาฯ ก็มีนโยบาย 50+ ออกมาช่วยเติมเต็มการเรียนออนไลน์ครั้งนี้อย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ซึ่ง ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี ด้านการพัฒนานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาที่เด็กเจอเยอะมากที่สุดในช่วงที่มีโควิดแรก ๆ คือ เรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมไปถึงเรื่องของอุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สถานที่ในการเรียน เพราะหลายครอบครัวประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจ และหลังจากนั้นคือเรื่องการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพน้อยลง ทำให้นิสิตมีความเครียดมากขึ้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ นำไปสู่การช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างการให้ทุนการศึกษา การลดค่าเทอม 50% และการดูแลสุขภาวะทางใจของนิสิต

“นโยบาย 50+ เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่จุฬาฯ มีอยู่แล้ว และพร้อมดำเนินการช่วยเหลือนิสิตได้ทันทีมาไว้ด้วยกัน เช่น การลดค่าใช้จ่าย ที่เดิมทีมีทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิตสำหรับช่วยเหลือนิสิตยามเกิดเหตุฉุกเฉินอยู่แล้ว ซึ่งปกติจะมอบทุนนี้ประมาณ 10 – 20 ทุนต่อปีตามความจำเป็น แต่พอเกิดวิกฤตโควิคก็ได้ขยายจำนวนทุนนี้ให้มากกว่า 2,000 ทุน มีการช่วยจัดหาซิมโทรศัพท์สำหรับต่ออินเทอร์เน็ตประมาณ 7,000 ซิม บริการให้ยืมคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน มีทุนช่วยในการทำประกันโควิด ยกเว้นค่าหอพัก กระบวนการดูแลและส่งต่อหากติดโควิด ซึ่งทั้งหมดจะไม่ช่วยเหลือแบบหว่านแห แต่จะคัดกรองนิสิตที่เดือดร้อนจริง ๆ เท่านั้น และสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการสมัครทุนการศึกษาผ่านแอป CU NEX”

เป้าหมายสูงสุดในการช่วยเหลือ

“เป้าหมายของจุฬาฯ คือ นิสิตสามารถเข้ามาเรียนได้แบบไม่มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย” ผศ.ดร.ชัยพรกล่าวก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วมหาวิทยาลัยไม่สามารถมากซัพพอร์ตปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัวนิสิตได้ทั้งหมด แต่เล็งเห็นความสำคัญว่าปัญหาของครอบครัวนั้นเชื่อมโยงกับการเรียนของนิสิต ฉะนั้นเวลาให้ทุนการศึกษา จุฬาฯ จะมองภาพกว้าง คือนิสิตสามารถเอาทุนเหล่านี้ไปทำให้ชีวิตตนเองและครอบครัวดีขึ้นได้ โดยให้แบบทุนให้เปล่าตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท ซึ่งเป็นการให้ที่นอกเหนือจากการลดค่าเทอมและทุนการศึกษาอื่น ๆ ด้วย

เจาะลึก CU NEX กับการเป็นมากกว่าแอปพลิเคชัน เพราะเป็น Single Portal

จากการพูดคุยกับนิสิตที่เป็นผู้ประสบปัญหาต่าง ๆ โดยตรงและการดำเนินงานของจุฬาฯ จะเห็นได้ว่า CU NEX ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด อย่างไรก็ตามมันไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะโควิด แต่มีมาก่อนหน้านั้นประมาณ 3 ปีแล้ว เพราะจุฬาฯ ต้องการสร้าง Single Portal ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิด Digital lifestyle University อย่างยั่งยืน เพียงแต่ CU NEX ได้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางรวดเร็วในช่วงนี้ที่โควิดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนในห้องเรียน

ด้านนายโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดูแลการดำเนินงานของแพลตฟอร์ม CU NEX โดยตรง ให้ข้อมูลว่า CU NEX เป็นแพลตฟอร์มที่จุฬาฯ พัฒนาร่วมกับธนาคารกสิกรไทย (KBank) และกสิกร บิชิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยใกล้ชิดกับนิสิตมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่อยู่นอกมหาวิทยาลัย หรืออธิบายง่าย ๆ ว่าเป็นการย่อมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยอาจารย์และเนื้อหาวิชาการให้เข้าไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นิสิตใหม่แทบจะไม่ได้เข้ามาที่มหาวิทยาลัยเลย ดังนั้น CU NEX จึงเป็นเหมือน One Stop Service ที่เมื่อคิดอะไรไม่ออก นิสิตจะนึกถึงที่นี่ก่อน โดยทุกฟีเจอร์พัฒนาขึ้นมาจากการรับฟังปัญหาและความต้องการของนิสิตอย่างใกล้ชิด ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Social Listening ซึ่งจะทำให้เห็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น

“ปกติจุฬาฯ มีเว็บไซต์ของสถาบันอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่ต้องมี CU NEX เพราะแพลตฟอร์มนี้เป็นการสื่อสารสองทาง ที่ไม่ได้มีแค่การประชาสัมพันธ์ แต่ยังเปิดโอกาสให้นิสิตลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทันที เช่น งานประชุมระดับนานาชาติ การเลือกตั้งระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงข้อมูลที่มีจะจัดสรรมาให้แบบ Customized เพื่อนิสิตแต่ละคนโดยเฉพาะ ที่อยู่ต่างคณะกัน”

ร่วมมือกับ KBank พาร์ทเนอร์อันดับหนึ่งด้าน Digital Banking

“สาเหตุที่ทำให้จุฬาฯ มาจับมือกับ KBank คือเขาเป็นผู้นำด้าน Digital Banking ของประเทศไทย และแอปพลิเคชัน K PLUS ก็เป็นโมบายแบงกิ้งที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด เราเลยคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม CU NEX เพื่อรองรับการใช้งานของนิสิตหลายหมื่นคน ซึ่งสิ่งที่KBank นำเสนอคือบริการที่มีความเข้าใจในความต้องการของนิสิตเป็นอย่างดี เพราะชีวิตของนิสิตไม่ได้มีแค่เรื่องเรียน แต่ยังมีการเดินทาง การใช้จ่าย และกิจกรรมอื่น ๆ ดังนั้น CU NEX จะต้องเป็นสะพานเชื่อมให้นิสิตเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย” นายโภไคยกล่าว

ดูแลนิสิตครอบคลุม ไม่เว้นแม้มิติสุขภาพจิต

สองปีที่ผ่านมาการศึกษาไทยเจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตใจของนิสิตรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี ที่จุฬาฯ เองก็มีการรับมือด้วยวิธีป้องกันเชิงรุกอยู่แล้ว คือ ต้องรู้ให้ได้ว่ามีกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงอยู่บ้างแล้วยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ผ่าน Wellness Center ซึ่งมีนักจิตวิทยาที่คอยให้คำปรึกษาแก่นิสิต และมีเวิร์คชอปที่เปิดโอกาสให้นิสิตลงทะเบียนเข้าร่วมเพื่อรักษาสุขภาพจิตใจได้

เมื่อมี CU NEX ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อยู่ โดยมีฟังก์ชันที่ลิงค์กลับไปที่ Wellness Center เพื่อให้นิสิตลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ง่ายขึ้น และในอนาคตได้เตรียมให้สามารถติดต่อรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาได้โดยตรง

การตอบรับจากนิสิตและอนาคตของ CU NEX

หลังจากที่เผชิญกับภาวะวิกฤตโควิด เศรษฐกิจ และการศึกษามาอย่างยาวนาน นิสิตจุฬาฯ กว่า 98% ก็หันมาใช้ CU NEX และใช้บริการเฉลี่ยมากถึง 28 ครั้งต่อเดือน หรือเกือบทุกวัน เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัวร์ที่สุด และสามารถให้คำตอบในทุกเรื่องที่นิสิตสงสัยได้

อย่างไรก็ตามทีมพัฒนา CU NEX ได้เตรียมฟังก์ชันใหม่ไว้อีกมากมาย อาทิ เชื่อมต่อกับระบบขนส่งภายในจุฬาฯ ช่องทางการช่วยเหลือหากโดนล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) จึงคาดหวังว่าในอนาคตนิสิตจะใช้บริการครบ 100% และใช้ทุกวันด้วยความเต็มใจ

“Digital Lifestyle University ในนิยามของผมคือ ต้องเป็นสิ่งที่นิสิตใช้ทุกวันและเป็นประโยชน์ พูดกันตรง ๆ ว่าประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่ให้ไปทำอะไรในเวลาว่างสักเท่าไหร่ ทุกอย่างบังคับให้ไปได้แค่ห้างสรรพสินค้า การมีแอป CU NEX จะกลายเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ เพราะทำให้นิสิตได้เจอความน่าสนใจอื่นที่นอกเหนือจากการเรียนด้วย เช่น อีเวนน์หรือนิทรรศการระดับนานาชาติที่หาข้อมูลได้ยาก หนังสือออกใหม่ งานวิจัยที่น่าสนใจ วันหนึ่งเมื่อเขารู้สึกเบื่อก็จะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์จากการไถฟีดโซเชียลมีเดีย มาเป็นแอปพลิเคชันนี้แทน”

จับมือ KBank สร้างโอกาส Stay connected ให้นิสิตแบบทั่วถึง

นอกจากนั้นจุฬาฯ และพาร์เนอร์อย่าง KBank ยังได้ร่วมกันจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ให้แก่นิสิต เป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจำนวนรวม 500 เครื่อง เพื่อช่วยให้การเข้าถึงการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้นิสิตสามารถเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยได้อย่างทั่วถึง ไม่มีใครต้องหลุดออกไปจากระบบ

“วิธีการของเราคือใช้กระบวนการเพื่อให้นิสิตมีความพยายามมากขึ้น ด้วยการช่วยงานมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ แล้วเอาชั่วโมงการช่วยงานมาแลกรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ซึ่งจะไม่ใช่งานหนัก แต่เป็นกิจกรรมหลายที่เป็นประโยชน์ต่อตัวนิสิตเอง เช่น เป็นผู้ช่วยอาจารย์ขณะสอนออนไลน์”

ทั้งหมดนี้คือทางออกของการศึกษาไทยในยุคนิวนอร์มอลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถลดปัญหาที่ผู้เรียนพบเจอได้จริง ช่วยให้ชีวิตการเรียนของนิสิตเดินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด ด้วยการเป็น Digital Lifestyle University ที่ยั่งยืน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า