SHARE

คัดลอกแล้ว

กอนช. ประเมินพบ 4 เขื่อนใหญ่ ทับเสลา, กระเสียว, ขุนด่านปราการชล และนฤบดินทรจินดา เสี่ยงน้ำมากเกินความจุ ด้าน สทนช. หารือ กฟผ. ซักซ้อมเพิ่มการระบายเขื่อนบางลางเพิ่มพื้นที่รับน้ำฝนเดือนหน้า

วันที่ 15 ต.ค. 2564 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากคาดการณ์สภาพอากาศตั้งแต่วันนี้ – 17 ต.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

เลขา กอนช. ระบุว่า จากการประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ พบว่า มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เสี่ยงมีปริมาณน้ำเกินความจุ จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นสะสม 3 วันล่วงหน้า จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

อ่างฯทับเสลา จ.อุทัยธานี ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 162 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101% ของความจุ คาดว่าจะมีน้ำไหลลงอ่างฯสะสม เพิ่มขึ้น 29 ล้าน ลบ.ม.

อ่างฯกระเสียว จ.สุพรรณบุรี ปริมาณน้ำ 292 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 98% ของความจุ คาดการณ์น้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้น 13 ล้าน ลบ.ม.

อ่างฯขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 224 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 100% ของความจุ คาดการณ์น้ำไหลลงอ่างฯเพิ่มขึ้น 11 ล้าน ลบ.ม.

อ่างฯนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ปริมาณน้ำ 307 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 104% คาดการณ์น้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้น 32 ล้าน ลบ.ม.

พร้อมกันนี้ยังต้องเฝ้าระวังอ่างฯ ขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 95% ในพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณภาคเหนือ จ.กำแพงเพชร ภาคกลาง จ.ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย อำนาจเจริญ ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้สั่งการให้ กอนช. ประสานและแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาวางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำและในลำน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำให้น้อยที่สุด ตรวจสอบเสถียรภาพและความมั่นคงของตัวเขื่อน รวมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้ทราบและเตรียมความพร้อมรับมือ ลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุดด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า