SHARE

คัดลอกแล้ว

ระบบอาหารของโลกเราทุกวันนี้ไม่ยั่งยืน เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมทั้งหมดทั่วโลก

 อย่างที่เราพอจะรู้ว่าการทำปศุสัตว์เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์มาเป็นอาหารต้องมีการผลิตจำนวนมากให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นกระบวนการทำปศุสัตว์จึงส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงมาก ทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้เกิดทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศแปรปรวน และไม่ตรงตามฤดูกาล นอกจากนี้ การทำปศุสัตว์ยังต้องใช้พื้นที่รวมทั้งทรัพยากร และพลังงานมหาศาล นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบอาหารจึงสร้างก๊าซเรือนกระจกมากตามไปด้วย

 ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ ในแต่ละวันวัวนับล้านตัวที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนพีมีโปรตีนจะปล่อยก๊าซมีเทนออกจากร่างกายผ่าน “ตด” และ “เรอ” ซึ่งถือว่ามีปริมาณมากในระดับที่เป็นอีกหนึ่งแหล่งสร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกนั่นเอง

 ทำให้เทรนด์การผลิตโปรตีนจากพืชถูกคิดค้นและเริ่มทำให้กลายเป็นที่นิยมในการบริโภคมากขึ้นในต่างประเทศ

 ย้อนไปยุคก่อนที่เราจะเริ่มคุ้นหูคุ้นชินคำว่า “อาหารที่ผลิตโดยโปรตีนจากพืช” Plant-Based Food หรือง่ายๆว่า เนื้อจากพืช ที่ตอนนี้วางจำหน่ายให้เห็นมากขึ้น ชื่อของ “แดน ปฐมวาณิชย์” คือนักธุรกิจที่สร้างกิจการผลิตอาหารจากโปรตีนพืชคนแรก ๆ ของประเทศ เขาให้เหตุผลที่ทำให้เดินหน้าธุรกิจที่ขณะนั้นยังใหม่มาก ๆ ว่า อาหารที่ผลิตจากพืชปล่อยก๊าซก๊าซเรือนกระจกเพียง 1 ใน 10 ของอาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์

 ซีอีโอ NRF ให้มุมมองว่า คนจำนวนมากยังคิดว่าปัญหาโลกร้อนไม่เกี่ยวกับตัวเอง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยพิบัติต่างๆ มันเกิดที่ทวีปอื่น ไม่มาถึงประเทศไทยหรอก ทั้งที่จริงโลกร้อนส่งผลกระทบกับเราในแทบทุกมิติ เอาใกล้ตัวที่สุดก็คืออาหารการกิน ดังนั้นอย่างแรกคือคุณต้องตระหนักก่อนว่ามันเกี่ยวกับคุณแน่ ๆ

 ในบทบาทนักธุรกิจด้านอาหาร เขาเป็นซีอีโอบริษัทเอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรสอาหารและอาหารสำเร็จรูป และยังเน้นเรื่องการผลิต และจำหน่ายอาหารประเภท Specialty Food อาหารที่ใช้กระบวนการผลิตจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง หรือมีลักษณะของ Food Tech ซึ่งเขาพยายามใช้นวัตกรรมเข้ามาในกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อช่วยลดโลกร้อนให้ได้

 แดนอธิบายว่า ในปี 2050 โลกอาจจะมีจำนวนประชากรถึงหนึ่งหมื่นล้านคน คำถามที่ตามมาคือเราจะหล่อเลี้ยงประชากรจำนวนมากขนาดนั้นได้อย่างไร นั่นคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ และผมมองว่าการบริโภคอย่างยั่งยืน ที่เปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานและการผลิต การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง คือหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหานี้

 ในฐานะผู้บริหารธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร แดนตั้งเป้าหมายว่าบริษัทของเขาจะต้องเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร ให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ให้ได้

 แดน อธิบายต่อว่า ที่เรามุ่งมาทางนี้ เพราะในกระบวนการผลิตอาหารจากพืช ที่ได้ทั้งสารอาหารและโปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์ นั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าอาหารจากสัตว์ถึง 1 ใน 10 ทุกวันนี้ NRF เป็นโรงงานผลิตอาหารที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเป็นกลาง (Carbon Neutral) แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย สิ่งนี้ส่งผลต่อความรู้สึกเชิงบวกของผู้บริโภคโดยเฉพาะที่ต่างประเทศ อย่างซูเปอร์มาร์เก็ตที่สหรัฐฯ ก็นำสินค้าของเราขึ้นเชลฟ์แทนสินค้าหลายๆชิ้น เพราะเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

 “หมุดหมายใหม่ของเราตอนนี้ คือการมุ่งสู่การเป็น Global Clean Food Tech Company เราจะไม่ใช่แค่เป็นกลางทางคาร์บอน แต่เราจะไปให้ถึงจุดที่ปล่อยคาร์บอนติดลบ (Carbon Negative) ”

 แดน เล่าถึง กลยุทธ์สู่ Carbon Negative ของ NRF ว่า เราใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาอาหาร ทำอย่างไรเพื่อปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกน้อยลง แต่ยังคงคุณภาพและความอร่อยเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือดีต่อสุขภาพกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีทั้งนั้น เช่นเดียวกับการปล่อยคาร์บอนติดลบ เราก็นำเทคโนโลยีเข้ามาเช่นเดียวกัน

 อีกหนึ่งภารกิจตอนนี้คือพัฒนาไบโอคาร์บอน (Biocarbon) จากของเหลือทางการเกษตรที่ไม่มีมูลค่าใดๆ ซึ่งปกติจะถูกเผาทิ้งเนื่องจากเกษตรกรต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกฤดูกาลถัดไป ของเหลือทางการเกษตรเหล่านี้มีมหาศาลทั่วโลก ซึ่งการเผานับเป็นหนึ่งในบ่อเกิดของมลภาวะ PM 2.5 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้

 “เรานำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในกระบวนการนี้เพื่อการเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปของเหลือจากการเกษตรเหล่านั้น เช่น ซังข้าวโพด ให้กลายเป็นไบโอคาร์บอน ซึ่งเป็นถ่านชีวภาพที่เมื่อฝังแล้วจะช่วยเพิ่มศักยภาพของดิน ทำให้ดินดูดซึมน้ำได้ดีขึ้นถึง 3-4 เท่า ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แทนที่ซังข้าวโพดจะถูกเผา แต่ถูกแปรรูปเป็นไบโอคาร์บอน เปรียบเสมือนโรงงานดักจับก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ลอยขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศ”

 ซีอีโอ NRF ให้มุมมองว่า คนจำนวนมากยังคิดว่าปัญหาโลกร้อนไม่เกี่ยวกับตัวเอง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยพิบัติต่างๆ มันเกิดที่ทวีปอื่น ไม่มาถึงประเทศไทยหรอก ทั้งที่จริงโลกร้อนส่งผลกระทบกับเราในแทบทุกมิติ เอาใกล้ตัวที่สุดก็คืออาหารการกิน ดังนั้นอย่างแรกคือคุณต้องตระหนักก่อนว่ามันเกี่ยวกับคุณแน่ ๆ

 “อย่าคิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จะไม่ช่วยแก้ปัญหานี้ หากร่วมกันปรับเปลี่ยนคนละนิดละหน่อยก็สามารถช่วยโลกได้ อย่างตัวผมเอง เวลาไปออฟฟิศที่อยู่ชั้น 6 ผมจะเลี่ยงการใช้ลิฟต์แต่จะเปลี่ยนเป็นเดินขึ้นบันไดแทน ต่างกันไม่กี่นาที บางทีเราเลือกเดินอาจจะไวกว่าการขึ้นลิฟต์ และยังได้ออกกำลังกาย แถมยังประหยัดพลังงานอีกต่างหาก ลองคิดดูว่าถ้าทุกคนคิดแบบเดียวกับผม นั่งบีทีเอสบ้าง ลองเปิดหน้าต่างปิดเครื่องปรับอากาศดูบ้าง วันๆ นึงทั้งโลกจะลดการใช้พลังงาน ลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานนั้นไปได้มากมาย”

 เขาเสริมต่อว่า เราทุกคนกู้โลกได้จากอาหารวันละ 3 มื้อ สนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือลองเริ่มลดการกินเนื้อสัตว์ ปรับมากิน Plant-Based Food บ้าง ตอนนี้ในเมืองไทยมีผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ พัฒนาอาหารหลายสูตรที่อร่อยไม่แพ้เนื้อจริงๆ และไม่ได้มีแค่ทางเลือกทดแทนเนื้อ แต่นมทดแทนจากพืชก็มีให้เลือก สิ่งแวดล้อมดีขึ้นและสุขภาพก็ดีขึ้นด้วย เพราะอาหารจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล

 “สิ่งที่ผมพยายามทำคือการสร้างเวทีให้อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรทั่วโลก รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มและสร้างเครือข่ายให้ SME ไทยที่ทั้งเก่งและครีเอทีฟในด้านการพัฒนาอาหาร ตอนนี้เรามีร้าน alt.Eatery ซึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำ Plant-Based Food มากมาย ยิ่งมีร้านเยอะ เราก็ยิ่งขยายสิ่งนี้ออกไปหาคนได้เยอะขึ้น ผลิตภัณฑ์ก็จะหลากหลายขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทำตลาดได้เยอะขึ้น”

 แดนกล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อคนกินอาหารจากพืชมากขึ้น ก็เท่ากับการผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง คนได้กำไรทางตรงคือคนทำธุรกิจก็จริง แต่คนได้กำไรระยะยาวที่แท้จริงคือเราทุกคนบนโลก

 

เรียบเรียงจาก

https://globalcompact-th.com/news/detail/1145

https://www.sdgmove.com/2021/02/26/greenhouse-gas-farming-paris-agreement/

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า