SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วันนอร์’ ประธานรัฐสภา เผย จะเชิญสมาชิกรัฐสภา ประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ในวันอังคารที่ 22 ส.ค.นี้ ยืนยัน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา แถลงในวันนี้ (16 ส.ค. 66) ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีรัฐสภามีมติห้ามเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีซ้ำว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือว่าสิ่งที่ทางรัฐสภาประชุมไปแล้วเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ถูกต้องไม่ขัดต่อสิ่งที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งไปให้พิจารณาว่าระหว่างข้อบังคับกับรัฐธรรมนูญ มีความขัดแย้งกันหรือไม่อย่างไร ทำให้สิ่งที่สภาทำไปดำเนินการต่อไปได้

โดยวันที่ 17 ส.ค.นี้ เวลา 14.00 น. จะให้ฝ่ายกฎหมายสภาฯ และฝ่ายที่เกี่ยวกับประชุมรัฐสภา ในการเลือกนายกฯ ได้พิจารณารายละเอียด ระเบียบวาระที่ค้างอยู่ และกระบวนการเลือกนายกฯ จากนั้น ตนจะนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย คือ วุฒิสภา กับสภาฯ ทั้งสองฝ่าย เพื่อหาข้อสรุป ซึ่งที่ตนกำหนดไว้แล้วน่าจะออกระเบียบวาระได้หลังฝ่ายกฎหมายให้ความเห็นเรียบร้อยแล้ว และจะเชิญสมาชิกรัฐสภา ประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ ซึ่งตนได้หารือประธานวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอญัตติให้ทบทวนมติของที่ประชุมรัฐสภา ที่ให้การเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี รอบ 2 เป็นการเสนอญัตติซ้ำ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ในวาระการประชุมอยู่แล้ว เมื่อมีคำวินิจฉัยศาล ก็ต้องหารือต่อไป โดยจะดำเนินการตามข้อบังคับ และจะทบทวนอย่างไร ต้องอยู่ในกรอบคำวินิจฉัยศาล

เมื่อถามว่า การประชุมรัฐสภา วันที่ 22 ส.ค.นี้ จะเรียบร้อยใช่หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า “จะดำเนินการให้เรียบร้อยมากที่สุด แต่จะจบวันที่ 22 ส.ค.นี้ หรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภา”

เมื่อถามว่า ในฐานะประธานรัฐสภา เห็นควรหรือไม่ว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ต้องเข้ามาชี้แจง และแสดงวิสัยทัศน์ด้วย นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ตนไม่สามารถกำหนดได้ แต่รัฐธรรมนูญและข้อบังคับ ไม่ได้กำหนดก็ขึ้นอยู่กับสภาว่าจะเห็นสมควรอย่างไร

เมื่อถามย้ำว่า ข้อเรียกร้องของสมาชิกส่วนใหญ่ อยากให้มาแสดงวิสัยทัศน์ ตรงนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถูกเสนอชื่อว่าอยู่ที่ไหน หากอยู่ที่สภา และพร้อมแสดงวิสัยทัศน์ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม แต่หากเขาไม่อยู่ก็คงไม่สะดวก เพราะในปี 62 ก็ เราก็ได้พิจารณาในข้อนั้น รวมถึงได้สอบถามฝ่ายกฎหมายว่า ตอนที่ร่างข้อบังคับในการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำไมจึงไม่ได้กำหนดเหมือนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้รับการชี้แจงเบื้องต้นว่า เดิมได้มีการกำหนดว่าจะให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ แต่ภายหลังผู้ร่างข้อบังคับได้มีการตัดออกไป เพราะเห็นว่าอาจจะเป็นบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมของรัฐสภาที่ถูกเสนอชื่อเข้ามา ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดว่าสามารถเสนอบุคคลภายนอกได้ และเราจะนำข้อกฎหมายนี้จะมีการนำเรื่องนี้พูดคุยในการหารือ วิป 3 ฝ่ายด้วย อยากให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อยากให้มีการกังขา หรือประเด็นอะไรต่างๆ ที่ยืดเยื้อกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า