SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ มีน้ำท่วม 31 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด ยังเหลืออีก 17 จังหวัดถูกน้ำท่วม ขณะที่มีผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย สูญหาย 1 ราย

วันที่ 3 ต.ค. 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ ‘เตี้ยนหมู่’ ในช่วงวันที่ 23 ก.ย. – 3 ต.ค. 2564 ว่าเกิดอุทกภัยใน 31 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวม 195 อำเภอ 1,001 ตำบล 6,909 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 264,210 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย สูญหาย 1 ราย

สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี และกำแพงเพชร 

ยังคงมีสถานการณ์ 17 จังหวัด รวม 81 อำเภอ 488 ตำบล 2,871 หมู่บ้านได้แก่

1. สุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย ระดับน้ำลดลง

2. พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ ระดับน้ำลดลง

3. เพชรบูรณ์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ที่ติดริมแม่น้ำ ป่าสัก ระดับน้ำลดลง

4. พิจิตร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบึงนาราง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล และอำเภอสามง่าม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ระดับน้ำลดลง

5. ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ อำเภอหนองเรือ อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอโนนศิลา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6. ชัยภูมิ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจัตุรัส และอำเภอคอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง

7. นครราชสีมา ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนโทย อำเภอคง อำเภอพระทองคำ อำเภอจักราช อำเภอสีดา อำเภอขามสะแกแสง และอำเภอบ้านเหลื่อม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น จังหวัดได้จัดตั้งจุดอพยพ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอโนนไทย อำเภอแก้งสนามนาง และอำเภอเมืองนครราชสีมา ผู้อพยพ 544 คน

8. อุบลราชธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้น จัดตั้งจุดอพยพในอำเภอเมืองอุบลราชธานี ผู้อพยพ 467 คน

9. นครสวรรค์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว และอำเภอท่าตะโก ระดับน้ำลดลง

10. อุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอทัพทัน ระดับน้ำลดลง

11. ชัยนาท น้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเนินขาม อำเภอหันคา อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอหนองมะโมง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

12. ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และอำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำลดลง

13. สระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเสาไห้ อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน อำเภอวิหารแดง อำเภอพระพุทธบาท อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอมวกเหล็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอดอนพุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

14. สุพรรณบุรี ยังคงน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

15. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอค่ายบางระจัน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

16. อ่างทอง น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

17. พระนครศรีอยุธยา น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร และอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ยังน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบขนาดใหญ่เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว

สำหรับภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันบางพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีระดับน้ำเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประสานแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมรับมือแล้ว ทั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า