SHARE

คัดลอกแล้ว

เวทีดีเบตตามหา “ผู้ว่าฯ ฟอร์ ออล” ส่วนหนึ่งของงาน Thailand Friendly Design Expo ที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา ดีเบตถกปัญหาและทางแก้สภาพแวดล้อมพิการ เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม และสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อกลุ่มผู้พิการ มีแคนดิเดต ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมเวทีทั้งหมด 5 คน คือ นายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์, นายโฆสิต สุวินิจจิต, นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร, น.ต.ศิธา ทิวารี และนายสกลธี ภัททิยกุล โดยนายกฤษณะ ละไล ประธานโครงการทูตอารยสถาปัตย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สมัครแต่ละคนได้โชว์วิสัยทัศน์ แสดงความเห็นถึงสิ่งแรกที่อยากทำให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อผู้พิการที่อยู่ในกรุงเทพฯ หากในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.

เริ่มจาก ชัชชาติ  กล่าวถึงแนวทาง 4 ด้านส่งเสริมคุณภาพผู้พิการ ครอบคลุมเดินทาง บริการสาธารณะ ฝึกอาชีพ และจ้างงาน สอดคล้องวิสัยทัศน์ “กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” ในด้านการเดินทาง กทม. ต้องมีพาหนะที่ผู้พิการใช้งานได้สะดวก เช่น รถชานต่ำ รถแท็กซี่ที่ผู้พิการเรียกใช้งานได้สะดวก มีการเชื่อมต่อที่ดี ทางเดินเท้าเรียบ ออกแบบและก่อสร้างถูกต้องตามมาตรฐานตั้งแต่ต้นเ พราะการก่อสร้างภายหลังมักมีต้นทุนสูงกว่า ติดตั้งลิฟต์โดยสารในพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีสะพานลอย ด้านการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่น กทม. ต้องให้บริการล่ามภาษามือกับผู้ต้องการพิเศษ เพิ่มจุดออกบัตรผู้พิการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (one stop service) ในโรงพยาบาลสังกัด กทม. จัดบริการให้คำปรึกษาการแพทย์ทางไกลถึงบ้าน ขณะที่ด้านการฝึกอาชีพ กทม. ต้องเน้นส่งเสริมอาชีพให้คนพิการทำงานตามความสนใจอย่างมีศักดิ์ศรี โดยขยายจำนวนศูนย์และโรงเรียนที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ ให้ครอบคลุมและด้านการจ้างงาน กทม. ต้องจ้างงานผู้พิการมากขึ้นคือ การจ้างงาน 100 คนต้องมีผู้พิการอย่างน้อย 1 คน ชัชชาติ กล่าวว่า แนวทางทั้ง 4 ด้านจะทำให้การแก้ไขปัญหาเพื่อผู้พิการสามารถดำเนินการได้จริงเป็นรูปธรรม

ขณะที่ วิโรจน์ บอกว่า การออกแบบเมืองนั้นไม่ใช่เพื่อคนพิการอย่างเดียว แต่ต้องออกแบบมาเพื่อทุกคน เพราะเมื่อเราแก่ตัวขึ้น อาจต้องใช้วีลแชร์ทั้งที่ขาเราอาจจะเคยเดินได้ก็ได้ เช่น ตนก็เคยป่วยด้วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก่อนกายภาพบำบัด เวลาขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสเหนื่อยใจมาก พอเห็นที่นั่งว่างใจจริงอยากขอนั่ง แต่ขอไม่ได้เพราะคนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนปกติ แต่อาการป่วยของเรามันร้าวลงขาจนเกือบนั่งลงพื้นไปแล้ว คำว่า “อารยะ” คือแม้วันนี้เราไม่ได้ใช้ แต่เราพึงพอใจที่สังคมนี้คิดเพื่อทุกคน และผู้สูงอายุก็มีสิทธิ์ได้ใช้ ยืนยันกฎหมายและคู่มือการออกแบบเมืองของเราไม่ได้มีปัญหา แต่สิ่งที่ต้องผลักดันให้ได้ คือ การแก้ไขพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ต้องมีงบออกแบบเพื่อให้มีวัตถุประวงค์ออกแบบเพื่อทุกคน รวมทั้งการตรวจรับงาน ทางเท้าต้องเรียบ ส่วนตัวไม่มีนโยบาย “สกายวอล์ค” เพราะเห็นว่าคือทางด่วนของคนมีขา เพราะอยากทำทางปกติให้คนขึ้นได้ รถประจำทางต้องเป็นรถชานต่ำ ส่วนเรื่อง 3 เดือนทำทันทีคือลิฟท์รถไฟฟ้าบีทีเอสต้องเปิดใช้ได้แล้ว

ด้าน น.ต.ศิธา กล่าวว่า ตนไม่เคยเชื่อมั่นกับคำว่า เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเราได้ทิ้งเขาไปแล้ว เวลาเจอคนพิการ ทุกคนจะเชิญคนพิการเข้าลิฟท์ก่อน หากตนเป็นผู้ว่าฯ จะเปลี่ยน Mindset ของข้าราชการ กทม. ต้องให้ “คนพิการ” อยู่ข้างหน้า โดยทุกคำขอจากทุกเขตที่จะส่งมานั้น ต้องเขียนให้เห็นตั้งแต่บรรทัดแรกว่า ได้ให้เกียรติคนพิการอย่างไร ได้จัดงบประมาณ ออกแบบอย่างไร ส่วนกรณี “สกายวอล์ค” เช่นเดียวกัน ถ้าลงทุนพันล้าน แล้วถ้าไม่สามารถทำทางให้คนพิการขึ้นได้ ไม่ต้องทำ ตนจะไม่ให้ผ่านงบประมาณ จะไม่อนุมัติ แต่ใน 1,000 ล้านบาท ต้องลดเหลือ 900 ล้านบาท ส่วนอีก 100 ล้านจะทำให้คนพิการขึ้นได้ ถ้าแบบนี้ตนจะอนุมัติให้ ดังนั้นจากนี้ คนที่เคยถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จะต้องผลักไว้ข้างหน้า ให้ได้โอกาสเหมือนประชาชนทั่วไปให้เกียรติคนพิการ ซึ่งในทุกๆ การออกแบบ ทั้งสถานที่ การสัญจรไปมาเราต้องออกแบบให้เขาก่อน ย้ำ “สกายวอล์ค” คนทั่วไปว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ดี แต่คนพิการมองไม่ใช่อารยสถาปัตย์ แต่คือความอัปลักษณ์ของสถาปัตย์ ที่ทำให้ทุกคนไม่ทัดเทียมกันและไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบายที่ออกแบบไว้ให้ได้ทุกคน

สำหรับ สกลธี บอกว่า ตนเองมีอยู่ช่วงหนึ่งลูกสาวขาหักต้องนั่งวิลแชร์ เวลาไปเดินห้างตามทางเท้ายังรู้เลยถึงความลำบากมากๆ ดังนั้น 3 เดือนที่จะให้ความสำคัญ คือทางต่างระดับ ให้ลดลงให้มากที่สุด การเดินทางเท้าของคนพิการในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯ ที่จะต้องกำหนดว่าแบบของทางเท้าจะต้องเป็นอย่างไร ถ้าเป็น ผู้ว่าฯ สกลธี ทางต่างระดับต้องเป็นทางสำหรับทุกคน คำนึงถึงคนพิการ คนสูงอายุใช้ได้สบาย เพราะคนทั่วไปจะสามารถใช้ได้เท่าเทียมกันทั้งหมด รวมทั้งการขนส่งทางสาธารณะต้องทำให้ทุกคนใช้ได้อย่างเหมาะสม ต้องเอาตัว เอาใจใส่ลงไป ทำทุกอย่างเพื่อคนทุกคน

ปิดท้ายที่ โฆสิต กล่าวว่า ตอนวัยรุ่นตนก็เกือบพิการ เพราะขี่มอเตอร์ไซค์แว้น ส่วนคุณแม่ก็ป่วยติดเตียงมานานเวลาไปไหนลำบาก สิ่งแรกคือผู้ว่าฯ ต้องเอาจริง แล้วอย่าโกง อิสระจากพรรคการเมืองจะได้ไม่มีปัญหาในการประสานงานกับรัฐบาล ผู้ว่าฯ ต้องชัดเจน 3 เดือนแรก กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองสำหรับทุกคน เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับคนพิการ ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดสำหรับคนพิการ ถ้าตนเป็นผู้ว่าฯ คำสั่งแรก คือแต่งตั้งคุณกฤษณะ, คุณแอ้ เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าฯ ด้านคนพิการ ต้องสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองสะดวกสำหรับคนพิการตลอด 24 ชั่วโมง

ชมเวทีดีเบตเต็มๆ :

https://www.facebook.com/fdexpo/videos/321862363417754

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า