Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อย่างที่รู้กันดีว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยแนวโน้มทั้งปี 2567 คาดว่ายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนอาจขยับขึ้นแตะระดับ 16.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 90.7% ต่อ GDP

ซึ่งหนี้สินส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้เพื่อการบริโภค สะท้อนถึงปัญหารายได้ที่ไม่พอใช้จ่าย และปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

ด้านตัวเลขหนี้เสียของครัวเรือนไทยทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 ข้อมูลจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร อยู่ที่ 1.09 ล้านล้านบาท คิดเป็นราว 8% ของ 13.64 ล้านล้านบาท

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาหนี้สินของคนไทยที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการช่วยเหลือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน

หรือที่เรียกว่า ‘มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน’ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง ผ่านทั้งมาตรการเดิมและเพิ่มเติมมาตรการใหม่ ให้ครอบคลุมไปถึงการแก้หนี้เรื้อรัง และการคิดค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น

โดย ‘มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน’ จะแบ่งออกเป็น ดังนี้

[ แก้หนี้ก่อนเป็นหนี้เสีย ]

ขอปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย : ซึ่งครอบคลุมทั้งลูกหนี้รายย่อย และ SMEs เช่น สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ (Nano finance) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ทั้งก่อนเป็นหนี้เสีย (non-NPL) และหลังเป็นหนี้เสีย (NPL)

ทั้งนี้ หากเป็น NPL แล้วจะมีเวลาให้พิจารณาแผนปรับโครงสร้างหนี้ อย่างน้อย 60 วัน ก่อนถูกโอนขายหนี้ ซึ่งวิธีปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายระยะเวลาผ่อน ลดอัตราผ่อนจ่ายช่วงแรก จะพิจารณาโดยเจ้าหนี้ ตามความสามารถชำระหนี้

เข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ : ในกรณีที่เป็น NPL ทั้งบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระเกิน 120 วัน สามารถรวมแก้หนี้ในครั้งเดียวได้ หากมีเจ้าหนี้หลายแห่ง ยอดหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท

โดยสามารถลดดอกเบี้ย เหลือ 3-5% ต่อปี และเปลี่ยนเป็นผ่อนจ่ายรายงวดสูงสุด 10 ปี แต่ลูกหนี้จะต้องมีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

[ ปิดจบหนี้เรื้อรัง ]

ขอความช่วยเหลือได้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณหนี้เรื้อรัง : ด้วยการปรึกษาเจ้าหนี้เพื่อหาทางจ่ายคืนหนี้เร็วขึ้นได้ โดยไม่ต้องรอให้จ่ายไม่ไหวหรือมองไม่เห็นทางปิดจบหนี้

นอกจากนี้ เจ้าหนี้จะแจ้งเตือนให้ทราบ เมื่อเริ่มมีสัญญาณหนี้เรื้อรัง ผ่านช่องทางที่ใช้ปกติ เช่น จดหมาย อีเมล SMS mobile application หรือ LINE Official Account

เข้าโครงการปิดจบหนี้เรื้อรัง : สามารถเปลี่ยนหนี้บัตรเป็นหนี้ผ่อนจ่ายรายงวด สูงสุด 5 ปี โดยจะลดดอกเบี้ยเหลือไม่เกิน 15% ต่อปี ซึ่งเจ้าหนี้จะแจ้งเตือนให้เข้าร่วมโครงการ ผ่านช่องทางที่ใช้ปกติ เช่น จดหมาย อีเมล SMS mobile application หรือ LINE Official Account

ทั้งนี้ หนี้เรื้อรังจะต้องยังไม่เป็นหนี้เสีย (non-NPL) และมีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท (กู้ Non-bank) หรือน้อยกว่า 20,000 บาท (กู้ Bank)

แต่หากเป็นหนี้เสียแล้วหรือไม่เข้าคุณสมบัติ ให้รีบเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ก่อนเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง

นอกจากนี้ ธปท. ยังออกคำสั่งให้ธนาคารต่างๆ มีนโยบายค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่เป็นธรรมมากขึ้น ดังนี้

ไม่คิดค่าปรับชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee) : สำหรับสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท เช่น สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ (Nanofinance) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยกเว้น กรณี Refinance สินเชื่อบ้านในช่วงเวลา 3 ปีแรกเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำลง

ไม่คิดค่าธรรมเนียมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ : สำหรับสินเชื่อรายย่อย และ SMEs เช่น สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ (Nanofnance) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยกเว้น กรณีเจ้าหนี้จัดให้ประเมินหลักประกันเพิ่มเพื่อประกอบการกำหนดเงื่อนไขปรับโครงสร้างหนี้

ไม่คิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย : สำหรับสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อ OD (บัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี : Overdraft) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 ก.ค 2567

และยังเน้นย้ำให้ธนาคารโฆษณาบริการสินเชื่อต่างๆ อย่างมีความรับผิดชอบและส่งเสริมวินัยให้กับลูกหนี้มากที่สุด เพื่อให้ลูกหนี้ตระหนักถึงการเป็นหนี้ กู้เท่าที่จ่ายไหวและจ่ายให้ตรงเพื่อป้องกันการเป็นหนี้เสียในอนาคต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า