Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะซื้อของชิ้นเล็ก ๆ อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ของชิ้นใหญ่อย่างรถยนต์หรือบ้านสักหลัง การผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคปัจจุบันที่สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยลง จนเราไม่สามารถเก็บเงินก้อนมาซื้อของเหล่านั้นได้ตามปกติ

แต่ไม่ใช่สำหรับคนที่มี ‘อาการหวาดกลัวการเป็นหนี้’ (Debt phobia) ที่ต้องออมเงินไว้มาก ๆ ไม่กล้าใช้จ่าย เพราะไม่อยากที่จะมีภาระทางการเงิน

TODAY Bizview ชวนทุกคนมาทำความรู้จักพฤติกรรมการเงินสุดแปลกว่าอาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร และจะสามารถจัดการกับภาวะความกลัวนี้ได้อย่างไรบ้าง

[หวาดกลัวหนี้สิน เพราะอดีตที่ฝังใจ]

‘หนี้สิน’ อาจจะเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะหนี้มักมาพร้อมกับการจำกัดอิสรภาพทางการเงิน ทำให้เราต้องทำงานหนักหาเงินมาใช้หนี้อยู่ตลอดเวลา จนมีคำสอนว่า “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่ความจริงการมีหนี้สินไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป เพราะหนี้มี 2 ประเภท 

ประเภทแรกคือ ‘หนี้ดี’ หมายถึงหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ สามารถสร้างมูลค่า ต่อยอดเป็นกำไรได้ในอนาคตเช่น หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ผ่อนบ้าน 

ประเภทต่อมาคือ ‘หนี้เสีย’ คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สินทรัพย์เหล่านั้นไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม แต่กลับมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ เช่น หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว 

เพราะฉะนั้น หากเป็น ‘หนี้ดี’ เราจะสามารถต่อยอดอนาคตของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ การเป็นหนี้จึงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป

แต่อาการของคนที่มีอาการหวาดกลัวการเป็นหนี้จะมองหนี้ในแง่ลบ มองว่าหนี้คือสิ่งเลวร้ายอยู่เสมอ ทำให้ไม่กล้าซื้อของที่ด้วยการผ่อนจ่าย (แม้ว่าจะมีผ่อนชำระ 0% ก็ตาม) การซื้อของแบบจ่ายในคราวหลัง ไม่กล้าซื้อบ้าน ซื้อรถ ไม่กล้าลงทุน ไม่กล้าใช้บัตรเครดิต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายของตัวเองว่าอาจทำให้เกิดหนี้สินในอนาคต บางคนมีอาการไม่กล้าใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวการโดนทวงหนี้และกลัวว่าตัวเองจะใช้เงินเกินความจำเป็น

นอกจากนี้ คนที่มีอาการ Debt Phobia จะทำงานอย่างหนัก หาเงินให้มาก ๆ และจะพยายามรักษาเงินไว้ทุกวิถีทาง เพื่อเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เช่น ตกงาน ไม่สบาย หรือซื้อสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ด้วยเงินสดเท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารหวาดกลัวการเป็นหนี้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก อย่างแรกคือการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ปลูกฝังให้มัธยัสถ์ ใช้เงินอย่างประหยัด จนกลายเป็นคนตระหนี่ ส่วนสาเหตุที่สองเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวว่าคนเหล่านี้อาจจะประสบความล้มเหลวด้านการเงินจนเป็นหนี้มาก่อน หรือโตมากับครอบครัวที่มีภาระหนี้สิน จึงรับรู้ถึงความลำบากในการเป็นหนี้ 

ตัวอย่างเช่น เดซี เมย์ คูเปอร์ (Daisy May Cooper) นักแสดงชาวอังกฤษให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Evening Standard ว่าเธอไม่เคยมีโทรศัพท์มือถือส่วนตัวเลย แต่ใช่ iPad หรือ Social media แทน เพราะเธอมีอาการกลัวเสียงโทรศัพท์มือถือดัง

คูเปอร์อธิบายว่าในช่วงวัยเด็ก เจ้าหนี้มักจะโทรศัพท์มาทวงหนี้ผ่านโทรศัพท์บ้านอยู่เป็นประจำ เมื่อเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น เธอจะตีความว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น เธอต้องจัดการเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด

ส่วนใหญ่แล้ว อาการหวาดกลัวการเป็นหนี้มักจะเกิดกับคนในวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ ทำให้หลายคนไม่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เพราะไม่กล้ากู้หนี้ยืมสินมาลงทุน

[เป็นหนี้ทำให้ปวดหัวกว่าเดิมเกือบ 2 เท่า]

มีงานวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าหลังจากกลุ่มทดลองลองย้อนกลับไปคิดถึงช่วงเวลาที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน มีอาการปวดหัวมากกว่าตอนที่คิดถึงช่วงเวลาที่มีความมั่นคงทางการเงินเกือบ 2 เท่า

การเป็นหนี้ยังส่งผลให้บรรดาลูกหนี้มีการเคารพตัวเองต่ำและมีความรู้ความเข้าใจบกพร่อง ตั้งแต่ไม่สามารถเรียนรู้ จดจำ แก้ปัญหา จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ รวมไปถึงความสามารถควบคุมอารมณ์และควบคุมตัวเองลดลง โดยเฉพาะในการใช้จ่าย ทำให้เป็นหนี้ได้มากกว่าเดิม นำไปสู่การเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดเรื้อรัง หรือกลายเป็นคนที่หุนหันพลันแล่นและอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย

นอกจากสภาวะด้านจิตใจแล้ว ความเครียดจากการเป็นหนี้ยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย ตั้งแต่ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วจนอาจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน และเกิดภาวะน้ำหนักขึ้นหรือลงมากผิดปกติด้วย

[คนรุ่นใหม่กลัวเป็นหนี้กว่ากลัวตาย]

ไม่ใช่แค่คนที่มีอาการหวาดกลัวการเป็นหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ แต่คนทั่ว ๆ ไปที่เป็นหนี้อาจจะมีภาวะที่ใกล้เคียงกัน

Credible เว็บไซต์ให้คำแนะนำเรื่องการเงินทำการสำรวจกับชาวอเมริกัน 500 คน พบว่าชาวอเมริกันกลัวการเป็นหนี้มากกว่ากลัวความตาย 

โดยกลุ่มตัวอย่าง 33% บอกว่ากลัวการเป็นหนี้บัตรเครดิต 20% กลัวความตาย 16.8% กลัวภัยคุกคามจากสงคราม 11% กลัวว่าจะไม่สามารถเกษียณได้ ต้องทำงานตลอดชีวิต อีก 6% กลัวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

ด้าน Credible บอกในเอกสารว่าคนที่มีความกังวลต่อการเป็นหนี้บัตรเครดิตจะเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้สามารถรับมือกับการเป็นหนี้ได้ และกลุ่มตัวอย่าง 80% มั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้ภายในอีก 12 เดือนข้างหน้า

[รับมืออาการหวาดกลัวการเป็นหนี้]

ถ้าคุณพบว่าตัวเองมีอาการหวาดกลัวการเป็นหนี้ และมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้หรือกำลังเป็นหนี้ อาจจะลองใช้เทคนิคเหล่านี้ ช่วยให้คุณก้าวข้ามความกลัวได้

หากใครมีหนี้บัตรเครดิต แต่กลัวจนไม่กล้าเปิดใบแจ้งหนี้ที่ส่งมาทางไปรษณีย์ ลองเปลี่ยนจากใบทวงหนี้รูปแบบกระดาษเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เรากล้าเปิดใบทวงหนี้มากขึ้น

ในบางครั้ง ชีวิตเราอาจจะเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะทำให้เราเป็นหนี้ได้ การเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉิน (Emergency fund) จะช่วยให้เรามีเงินเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินในชีวิตของเราได้ดีขึ้น และหากใครไม่กล้าใช้เงินไปกับการจับจ่ายใช้สอยในวันหยุด ให้เริ่มต้นจากการเก็บเงินล่วงหน้าและเลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

ในความเป็นจริงแล้ว หนี้สินไม่ได้มีผลแง่ลบต่อผู้เป็นหนี้เสมอไป เพราะหนี้ที่ดีสามารถทำให้เราเติบโตและประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ถ้าเรากล้าเผชิญหน้าและก้าวข้ามผ่านความกลัวนี้ไปได้ เราจะสามารถจัดการการเงินของเราได้ดีขึ้นในอนาคต

 

อ้างอิง :

https://www.debt.org/advice/emotional-effects/

https://mint.intuit.com/blog/relationships-2/chrometophobia-fear-of-money-4734/

https://www.cnbc.com/2017/11/08/credit-card-debt-scares-millennials-even-more-than-death.html

https://moneyduck.com/th/articles/910-%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-debt-phobia/

https://financebuzz.com/how-to-get-over-your-fear-of-debt

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า