SHARE

คัดลอกแล้ว

‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ แชร์อินไซต์ล่าสุด โดยพบว่า จำนวนลูกค้าที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้ตอนนี้ เพิ่มสูงกว่าช่วงโควิด-19 ซะอีก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้ฟื้นตัวตามคาด ลูกหนี้หลายกลุ่มไปต่อไม่ไหว

วันนี้ (29 ส.ค. 2567) ‘คุณอาร์ต-อธิศ รุจิรวัฒน์’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด และประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สมาคมธนาคารไทย เล่าถึงการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารฯ ในตอนนี้ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงโควิด-19

โดยบอกว่า การปรับโครงสร้างหนี้ที่เห็นว่าเพิ่มขึ้นเยอะ (เห็นสัญญาณมาตั้งแต่ต้นปี) นอกจากจะเพิ่มขึ้นเพราะธนาคารฯ ต้องการช่วยลูกค้าตามนโยบายของแบงก์ชาติแล้ว ยังเพิ่มขึ้นจากการสื่อสารที่มากขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมาธนาคารฯ มีโปรแกรมให้บริการ แต่ลูกค้าไม่ค่อยรู้

แต่ยังไงก็ต้องยอมรับว่า อีกสาเหตุหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มันไม่ได้ดีตามที่ใครๆ คาดหวัง ตัวชี้วัดต่างๆ ก็สะท้อนว่า การฟื้นของเศรษฐกิจไทยตัวมันช้ากว่าที่เราคาดหวังเอาไว้

ส่วนกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ก็มีผสมๆ กันไป มีลูกค้าหลายกลุ่มที่ไปต่อไม่ไหว ไม่ใช่ว่าเป็นกลุ่มที่รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทเท่านั้น

เมื่อถามว่าสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้จะทำให้แบงก์เข้มการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นมั้ย คุณอาร์ตตอบว่า ที่ผ่านมาก็เข้มงวดมาโดยตลอด และขออวดเล็กๆ ว่า กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ถือเป็นบริษัทที่ปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ เป็นที่มาว่าทำไมตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ถึงต่ำกว่าตลาด

* NPL บัตรเครดิตของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ 1.4% เทียบกับตลาดอยู่ที่ 2.9% ส่วน NPL สินเชื่อส่วนบุคคลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ 2.6% ตลาดอยู่ที่ 4.1%

ถึงจะไม่ได้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยอดอนุมัติสินเชื่อ (Approval Rate) ของบริษัทปีนี้ก็ลดลงไปเหมือนกัน ถึงจะแค่ 1-2% เมื่อเทียบกับปลายปีก่อน โดยยอดอนุมัติบัตรเครดิตอยู่ที่ 40% ส่วนยอดอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ 30%

พอถามถึงหนี้เสีย คุณอาร์ตประเมินว่า สิ้นปีน่าจะเพิ่มขึ้น หลังมาตรการช่วยลดขั้นต่ำบัตรเครดิต (มาตรการ Min Pay) จบลง (ปกติเก็บที่ 10% ลดลงเหลือ 5% ช่วงโควิด ตอนนี้ขยับกลับมาเก็บที่ 8%) โดยเห็นสัญญาณมาตั้งแต่กลางปี แต่คิดว่ายังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และท้ายสุดลูกค้าน่าจะปรับตัวได้

ส่วนถ้าให้ตอบในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิตฯ ต้องบอกว่า ในส่วนของผู้ประกอบการ มีบางรายที่คิดว่า ถ้าลดขั้นต่ำต่อไปก็ดี แต่ก็มีบางรายเหมือนกันที่อยากให้คงไว้ที่ 8%

‘พอลดแล้วเวลาปรับขึ้นมันก็ไม่สวยทั้งนั้น ตอนลดก็เฮ แต่ตอนขึ้นก็เจ็บ แต่ส่วนตัวคิดว่า ถ้าลดอีกรอบแล้วไปขึ้นในอนาคต ก็จะเกิดวัฏจักรแบบนี้อีก’

ป.ล. การปรับโครงสร้างหนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring: DR) ซึ่งทำก่อนเป็นหนี้เสีย และ 2. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled Debt Restructuring: TDR) ซึ่งทำหลังเป็นหนี้เสีย

แต่ไม่ว่าจะปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน แบงก์ก็ต้องตั้งสำรองเพิ่มอยู่ดี…

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า