SHARE

คัดลอกแล้ว

เชื่อว่าคนที่โอนเงินไปต่างประเทศบ่อยๆ น่าจะคุ้นกับชื่อของ DeeMoney เพราะนอกจากค่าธรรมเนียมจะถูกที่สุดในตลาดแล้ว ยังไม่ยุ่งยากเหมือนการโอนเงินผ่านธนาคารด้วย

วันนี้ TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘อัศวิน พละพงศ์พานิช’ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด เจ้าของ DeeMoney ซึ่งแชร์ก้าวต่อไปของบริษัทฯ ให้ฟังว่า DeeMoney ต้องการทรานสฟอร์มสู่ ‘Neobank’

แต่ Neobank คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกับธุรกิจธนาคารตอนนี้ยังไง TODAY Bizview ชวนไปไขคำตอบพร้อมกัน

DeeMoney คือใคร ช่วยแนะนำตัวสำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก

DeeMoney เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเจ้าแรกๆ ในไทย ทำธุรกิจมานานกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ได้ใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2560

จุดเด่น คือ บริการโอนเงินต่างประเทศที่ทำได้ตั้งแต่ 1,000-800,000 บาท ด้วยค่าธรรมเนียมคงที่ 125 บาท ถูกที่สุดในตลาด โอนวันนี้ พรุ่งนี้ปลายทางได้รับทันที

ค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ช่วยให้ต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Margin) ของลูกค้า ลดลงเหลือ 1-2% ต่อรายการ จากปกติที่ 3-7% หรือช่วยลูกค้าประหยัดราว 5-7%

ในปีที่ผ่านมา (2564) DeeMoney มียอดธุรกรรมมากกว่า 2 ล้านรายการ มูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท

แบ่งเป็นขาโอนเข้า (Inbound) จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และขาโอนออก (Outbound) จากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

ทำให้ปัจจุบัน DeeMoney มีฐานลูกค้ามากกว่า 2 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าที่ยืนยันตัวตนกับบริษัทฯ ราว 3 หมื่นราย และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นแตะ 1 แสนราย

deemoney-the-next-paypal-transform-to-neobank

เป้าหมายการเป็น Neobank คืออะไร แตกต่างกับธนาคารยังไง

Neobanking เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ถือเป็น New Breed of Banking หรือธนาคารแบบใหม่

ถ้าเรียงไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์การธนาคาร จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุคใหญ่ๆ คือ

1. Traditional Bank หมายถึง ธนาคารที่ทำธุรกิจมานานกว่า 100 ปี เป็นผู้ก่อตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคาร ยังมีสาขาและการบริการออฟไลน์ ที่สำคัญคือ เป็นคนลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดเอง

2. Digital Bank หมายถึง ฟินเทคที่นำบริการของธนาคารมาทำให้เป็นดิจิทัล (Digitize) เช่น ธุรกิจของ DeeMoney ในปัจจุบัน ที่นำบริการโอนเงินข้ามประเทศมาอยู่บนแอปพลิเคชั่นและช่องทางออนไลน์ต่างๆ

3. Neobank หมายถึง ฟินเทคที่เริ่มให้บริการเหมือนกับ Traditional Bank มากขึ้น ส่วนใหญ่มาจากคนที่มีใบอนุญาตทำธุรกิจกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) อยู่แล้ว แต่อยากทรานสฟอร์มบริการให้ใกล้เคียงกับธนาคารมากที่สุด

แต่จุดแตกต่างสำคัญคือ 1. Neobank จะไม่รับฝากเงิน (Deposit) เพื่อให้ดอกเบี้ย และ 2. Neobank จะไม่ปล่อยกู้ (Loan Offering)

4. Challenger Bank หรือ Virtual Bank จะเป็นขั้นถัดไปของ Neobank หมายถึง ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่มีสาขา เกิดมาเพื่อให้บริการดิจิทัลเป็นหลัก ที่สำคัญคือ รับฝากเงินและปล่อยสินเชื่อ

สำหรับ DeeMoney ตั้งเป้าหมายเป็น Independent Neobank เต็มตัวภายในปี 2566 หมายถึง เป็นเจ้าของใบอนุญาตทำธุรกิจ และเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่ทำธุรกิจเอง

ส่วนปลายทางการเป็น Challenger Bank ถึงตอนนี้จะยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย เพราะใบอนุญาตที่มีอยู่ไม่สามารถให้บริการออมเงินและปล่อยสินเชื่อได้ แต่เชื่อว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทางการจะมีความชัดเจนมากขึ้น

‘เราตั้งตัวว่า เราเทียบเท่ากับเป็น PayPal ต่อไปของเมืองไทย’

deemoney-the-next-paypal-transform-to-neobank

อะไรที่ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะเป็น The Next PayPal

ซีอีโอของ DeeMoney อธิบายว่า เมื่อก่อนคนไทยใช้ PayPal กันมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่มาเจออุปสรรคช่วง 1-2 ปีนี้ ที่ทางการไทยเข้มงวดเกณฑ์การทำธุรกิจมากขึ้น

แต่ก็ถือเป็นโอกาสของ DeeMoney ที่มีความพร้อม และสามารถให้บริการ Neobank เทียบเท่ากับ PayPal โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปีหน้า (2566)

ทั้งบริการแลกเปลี่ยนเงิน (Money Exchange) โอนเงิน (Remittance) กระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) และแพลตฟอร์มให้บริการทางการเงินระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B Financial Service Platform)

นอกจากให้บริการลูกค้าบุคคลแล้ว DeeMoney ยังเปิดให้ฟินเทค วอลเล็ท หรือธนาคารในเมืองไทย เข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในฐานะลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้บริการ Payment-as-a-Service

เช่น ธนาคาร A ต่อเชื่อมกับ DeeMoney ลูกค้าของธนาคารที่ใช้โมบายแบงก์กิ้งโอนเงินไปต่างประเทศ จะทำผ่านเครือข่ายของ DeeMoney ซึ่งความสะดวกคือ ธนาคารไม่ต้องลงทุนเอง ต่อเชื่อมกับ DeeMoney และให้บริการได้ทันที

ภาพรวมการโอนเงินข้ามประเทศหลังโควิด-19 คลี่คลาย

ต้องยอมรับว่า การโอนเงินข้ามประเทศโตค่อนข้างเร็วช่วงโควิด-19 ทั้ง DeeMoney เองและคู่แข่งในอุตสาหกรรม เพราะลูกค้าไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศ จึงหันมาโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น

ถึงโควิด-19 จะคลี่คลายแล้ว แต่ด้วยความสะดวก และการใช้งานที่ง่าย ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเริ่มเปลี่ยน ถึงจะเดินทางข้ามประเทศได้แล้ว แต่ยอดโอนเงินข้ามประเทศก็ยังสูงต่อเนื่อง

ที่น่าตื่นเต้นคือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ช่วงโควิด-19 ถูกดิสรัปค่อนข้างหนัก เช่น ธุรกิจอาหาร และธุรกิจท่องเที่ยว ตอนนี้เริ่มฟื้นตัวกลับมาอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ การช้อปปิ้งออนไลน์ที่เริ่มกลับมาคึกคัก ก็ช่วยให้ธุรกรรมของ DeeMoney เติบโตขึ้นเพิ่มขึ้น เช่น การซื้อของผ่าน Facebook ซึ่งค่าธรรมเนียมของบริษัทฯ ถูกกว่าการตัดผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น

‘เราเห็นแนวโน้มตลาดนิติบุคคลเป็นขาขึ้นหลังโควิด-19 จึงขยายบริการไปยังลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น และคาดว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ น่าจะเติบโตได้หลายพันเปอร์เซ็นต์’

ตอนนี้ DeeMoney มีฐานลูกค้านิติบุคคลที่ลงทะเบียนยืนยันตัวตนกับบริษัทมากกว่า 100 รายแล้ว หลังเปิดให้บริการโอนเงินเจาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจ DeeBusiness ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น

deemoney-the-next-paypal-transform-to-neobank

DeeMoney มองการเข้ามาของคริปโตเคอร์เรนซีและ CBDC ยังไง

ต้องเริ่มเล่าก่อนว่า DeeMoney เป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) เจ้าแรกในไทยที่จับมือกับ Ripple ในปี 2563 เพราะเห็นโอกาสจากนวัตกรรมของคริปโตเคอร์เรนซี

แต่จนตอนนี้ แบงก์ชาติก็ยังไม่มีกฎเกณฑ์รองรับคริปโตเคอร์เรนซี ไม่ว่าจะในฐานะสกุลเงินสำหรับการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (Settlement Currency) หรือแม้กระทั่งการเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า (MoP)

เพราะงั้น การนำคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้แทนการโอนเงิน โอกาสยังน้อยมากๆ เพราะกฎหมายยังไม่พร้อม แต่ถ้าวันไหนที่มีกฎหมายออกมารองรับ เชื่อว่าผู้บริโภคน่าจะสนใจใช้บริการ ถึงตอนนั้น DeeMoney ก็พร้อมให้บริการเช่นกัน

ส่วนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ประเทศไทย รวมถึงหลายประเทศทั่วโลก พยายามสร้างระบบการเงินใหม่ขึ้นมา เพราะไม่อยากพึ่งพาเงินดอลลาร์

พูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ไทยกำลังจะสร้าง ‘เงินบาทดิจิทัล’ (Digital Baht) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลคล้ายกับคริปโตเคอร์เรนซี แต่ความแตกต่างคือ เป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่แบงก์ชาติเป็นคนออก

ถ้าประเทศไทยมีเงินบาทดิจิทัลใช้ การรับโอนเงินเข้า-ออกด้วยดอลลาร์น่าจะลดลง ซึ่งผู้บริโภคก็น่าจะได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ลดลง เพราะเสียอัตราแลกเปลี่ยนน้อยลง รวมถึงได้บริการที่เร็วขึ้น

ทำธุรกิจมาหลายปี มีแผนระดมทุนหรือขยายบริษัทยังไงบ้าง

เริ่มแรก DeeMoney มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท แน่นอนว่าในช่วง 1-2 ปีแรกที่ทำธุรกิจ ก็ขาดทุนจากการลงทุนระบบ และการลงทุนสร้างฐานลูกค้า แต่ในปีที่ 3 เริ่มมีกำไร และเริ่มเห็นการเติบโตในปีที่ 4

ตอนนี้เข้าปีที่ 5 ก็มองตัวเองไม่ใช่สตาร์ทอัพแล้ว เป็นบริษัทที่พร้อมจะเติบโตต่อในอนาคต ทั้งรายได้และกำไรที่เริ่มมั่นคง และทีมงานมากกว่า 100 คน

สำหรับแหล่งเงินทุนตอนนี้ ยังเป็นการลงทุนจากบุคคลภายในบริษัทเท่านั้น ยังไม่มีบุคคลภายนอกเข้ามาลงทุน แต่ในอนาคต ถ้ามีความจำเป็น DeeMoney ก็พร้อมเปิดโอกาสเปิดรับนักลงทุนจากภายนอก

deemoney-the-next-paypal-transform-to-neobank

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า