Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี วิเคราะห์  ‘เดลตาครอน’ น่าจะไม่ใช่สายพันธุ์ลูกผสม อาจจะเป็นการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำยังไม่มีข้อมูลทางการ แต่ไทยติดตามต่อเนื่อง 

วันที่ 10 ม.ค. 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง เดลตาครอน (Deltacron) สายพันธุ์ลูกผสม หรือการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ มีผู้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม รพ.รามาธิบดี มากมายว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม ‘เดลตาครอน’ ขึ้นที่ไซปรัสแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือน่าจะไม่ใช่ครับ

เพราะ Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวีตแจ้งว่าจากการพิจารณารหัสพันธุกรรมมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ ‘โอไมครอน’ และ ‘เดลตา’ ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรมจึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน

ศ. นิค โลแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านจีโนมของจุลินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา กล่าวแม้ว่าการเกิดลูกผสมระหว่างเดลตาและโอไมครอนจะไม่น่าแปลกใจเลย แต่การค้นพบจากไซปรัสน่าจะเป็น ‘technical artifact’ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมของไวรัสมากกว่า 

ล่าสุด ศูนย์จีโนมฯ ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่างที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก ‘GISAID’ โลก มาวิเคราะห์ เห็นพ้องกับที่ ดร.  Tom Peacock กล่าวไว้คือเมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree (ภาพ ขวามือ) พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกันยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันไม่แตกกิ่งก้านสาขาไปมากมายและจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่างบ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ ‘เดลตา’ ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ ‘โอไมครอน’ เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม

คำถามที่ตามมาคือหากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริงๆ ทางศูนย์จีโนมฯ จะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือน่าจะตรวจพบเพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000 – 2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุกรรมของ ‘เดลตา’ และ ‘โอไมครอน’ ผสมปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนอาจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลสักระยะ หากหลายสถาบันในไซปรัสยังสามารถถอดรหัสพันธุกรรมพบสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวจากบรรดาตัวอย่างที่ส่งเข้ามาภายใน 1 – 2 อาทิตย์จากนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าได้เกิดสายพันธุ์ลูกผสม ‘เดลตาครอน’ ในไซปรัสเป็นที่แน่นอน

ท้ายที่สุดทางองค์การอนามัยโลกคงจะจัดทีมเข้ามายืนยันผลที่ไซปรัส เหมือนกับที่เคยดำเนินการที่เวียดนาม

ด้านนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ ขอเวลาตรวจสอบก่อน ว่าเป็นข่าวหรือรายงานอย่างเป็นทางการ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการติดตามข้อมูลจากทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา ขอให้ทุกคนใจเย็น ไม่อยากให้ตื่นตระหนกเกินไป 

ส่วนกรณีมีนักวิชาการระบุว่า การรายงานสายพันธุ์โอไมครอน ของไทยต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น เรื่องนี้ได้อธิบายไปหลายครั้งแล้วว่า สัดส่วนการรายงานเชื้อโอไมครอน มีทั้งสูงและต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเราตรวจหาเชื้อจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคน ก็จะมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ส่วนผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ไม่ได้ตรวจหาสายพันธุ์ทุกคน จะใช้วิธีการสุ่มตรวจ ดังนั้นเราจะวางระบบการสุ่มตรวจ เพื่อที่จะดูสัดส่วนของการระบาดของสายพันธุ์ให้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด แนวทางการป้องกันตัวเองก็เหมือนเดิมคือ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า