SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรคเตือนไข้เลือดออกระบาดหนัก มีไข้ขึ้นสูง 2 วันต้องรีบพบแพทย์ เผยช่วง 2 เดือนพบผู้เป็นไข้เลือดออกป่วยร่วมกับติดเชื้อโควิด-19 จากข้อมูลปี 2564 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตทั้งหมด 6 ราย เป็นที่น่าสังเกตว่าปี 2565 ผ่านไปเพียง 2 เดือนมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย เป็นผู้ป่วยที่ซื้อยากินเอง-รับยาจากร้านยา โดยเป็นยากลุ่มเอ็นเสดหรือเดิมคือแอสไพริน ซึ่งทำให้มีเลือดออกในทางเดินกระเพาะอาหาร และเสียชีวิตได้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่สนใจโรคโควิด-19 มากจนละเลยว่ามีโรคไข้เลือดออกอยู่ทั้งๆ ที่ อัตราการเสียชีวิตของทั้ง 2 โรคนี้ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ

  • ไข้เลือดออก จะมีอาการไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง มีจุดแดงขึ้นตามลำตัว แขนและขา
  • โควิด-19 มีอาการ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ได้กลิ่นลดลง

นพ.โอภาส กล่าวว่า อาการไข้เลือดออกช่วงแรกใกล้เคียงโควิดมาก และด้วยโควิดระบาดทั่วประเทศ เมื่อติดเชื้ออาการช่วงแรกจะมีไข้ ซึ่งอาจจะแยกไม่ออก ยกเว้นจะมีอาการระบบทางเดินหายใจชัดว่าเป็นโควิด เช่น น้ำมูก เจ็บคอ แต่ถ้ามีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัวมาก คลื่นไส้อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ก็จะเป็นอาการไข้เลือดออก ฉะนั้น หากมีอาการคล้ายเป็นไข้เลือดออกก็ขอให้พบแพทย์ เจาะเลือดวินิจฉัย อย่าคิดว่าตัวเองเป็นเฉพาะโควิด และโรคสองอย่างเป็นพร้อมกันได้

เราพบผู้เสียชีวิต อาการมีไข้ ปวดหัว มีน้ำมูกนิดหน่อย คิดว่าเป็นโควิด ตรวจเจอโควิด แต่อาการเริ่มแย่ลง มีอาเจียนเป็นเลือด แพทย์เจาะเลือดตรวจพบไข้เลือดออก ฉะนั้น ถ้าเจออาการแปลกๆ ไม่แน่ใจ ให้รีบพบแพทย์ นอกจากนี้ ขอให้ทุกคนทุกฝ่าย ทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อสม. ช่วยกันกำจัดลูกน้ำในภาชะที่มีน้ำขัง เพื่อลดโอกาสเกิดยุงลาย

ฉะนั้นหากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งลักษณะคล้ายกันหลายโรค ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคโควิด-19 ขอให้สวมใส่หน้ากากอนามัย รับประทานยาลดไข้ 1-2 วัน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษา

สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 9 ก.พ. 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 305 ราย  เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุพบมากที่สุด  คือ อายุ 5-14 ปี และรองลงมา คือ อายุ 15-24 ปี จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า