SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชัยวุฒิ’ รมว.ดีอีเอส ประชุมร่วมตำรวจไซเบอร์ ก.ล.ต. และแบงก์ชาติ เคาะสรุปแนวทางป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ 3 เรื่องเร่งด่วนทั้ง Forex-3D หลอกลงทุนเก็งกำไรการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex) การหลอกลงทุนหรือแชร์ลูกโซ่ และการหลอกดูดเงินผ่านแอปฯ มือถือ เตรียมใช้ระบบ social listening กวาดชื่อเว็บ/โซเชียลต้องสงสัย ส่งต่อให้ ก.ล.ต. และ แบงก์ชาติ ตรวจสอบ 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ร่วมกับ

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ที่สำคัญ ได้แก่ กรณี Forex-3D  หลอกลงทุนเก็งกำไรการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีหลอกลงทุนในฟาร์มเห็ด หรือ “Turtle Farm” และ การกดลิงก์ mobile app หลอกลวงโอนเงินออกจากบัญชี เป็นต้น

โดยได้ข้อสรุปแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้ 

1. เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน (FX) มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากกิจการนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. และต้องได้รับใบอนุญาต ขณะที่ ปัจจุบันยังไม่เคยมีการให้ใบอนุญาต ในการประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากพบพฤติกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน ถือว่าผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ กรณีที่บางเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย มีการโฆษณา หลอกชักชวนลงทุน หรือ หลอกให้คนเอาเงินมาฝากเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ชวนซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน (FX) โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ เข้าข่าวความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน 

2. การหลอกลวงลงทุนผ่านเว็บ/โซเชียล จากการหารือกับผู้แทน สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับคำยืนยันว่า ก.ล.ต. มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะในส่วนที่เป็น “หลักทรัพย์” ส่วนกรณีเป็นสินทรัพย์อื่นๆ อย่างเช่น กรณี หลอกลงทุนฟาร์มเห็ด หรือ “Turtle Farm” ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีใหญ่ของตำรวจไซเบอร์ขณะนี้ ก.ล.ต. จะไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลการระดมทุน หรือลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม การหลอกลวงรูปแบบนี้ อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ เพราะพฤติกรรมการเชิญชวนลงทุน และมีผลตอบแทนสูงผิดปกติ

“จากการหารือกับทุกฝ่ายร่วมกันวันนี้ ยังมีข้อสรุปถึงแนวทางป้องกันสำหรับ 2 ปัญหาข้างต้น โดยทางกระทรวงดิจิทัลฯ จะใช้ระบบ social listening กวาดรวบรวมชื่อเว็บ/โซเชียล ที่มีพฤติกรรมเชิญชวนลงทุนใน FX หรือลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อจัดส่งไปให้ทาง ธปท. และ ก.ล.ต. ตรวจสอบว่าเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ และหากพบว่าเป็นเว็บ/โซเชียลผิดกฎหมาย ก็จะดำเนินขั้นตอนประสานขอคำสั่งศาลเพื่อปิดเว็บ/โซเชียลเหล่านั้นทันที โดยอาศ้ยอำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ” นายชัยวุฒิกล่าว

จากนั้นเดินหน้ากระบวนการตรวจสอบและสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยมองว่าจะสามารถสกัดกั้นความเสียหายได้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีประชาชนหลงเชื่อจำนวนมาก และเกิดความสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล 

3.การหลอกดูดเงินจากบัญชีผ่าน mobile app ซึ่ง ได้ตรวจสอบกับ ธปท. แล้วพบว่า มีกรณีเกิดขึ้นจริง เนื่องจากผู้เสียหายหลงเชื่อ คลิกเปิด link ที่มิจฉาชีพส่งเข้ามาทางมือถือ ทำให้ถูกควบคุมมือถือจากทางไกล (remote control) โดยมิจฉาชีพจะเห็นข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอมือถือของเหยื่อ ทำให้แฮกรหัส OTP ที่ใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ และสั่งโอนเงินจากบัญชีผ่านแอปได้ 

ปัจจุบัน ธปท. ได้แจ้งเตือนธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ให้ทำการปรับปรุงระบบ mobile banking เพื่อให้ทำการปิดระบบโอนเงินทันทีเมื่อพบว่ามือถือหมายเลขนั้นๆ ถูกแฮกทางไกล ซึ่งปัจจุบันมี 2 ธนาคารที่ทำการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย ดังนั้นอยากขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ชแห่งอื่นๆ เร่งทำการอัปเดตด้วย 

“ผมขอส่งคำเตือนไปถึงประชาชนด้วยว่า การอัปเดตแอปฯ ใดๆ ก็ตามบนมือถือ ให้เข้าไปทำการอัปเดตจาก App Store (มือถือไอโฟน) หรือ Play Store (มือถือแอนดรอยด์) โดยตรง อย่าเสี่ยงไปกดอัปเดตจาก link ที่มีการส่งเข้ามา ทั้งนี้เพื่อป้องกันลิงก์จากมิจฉาชีพ ที่จะเข้ามาแฮกข้อมูลจากมือถือ” นายชัยวุฒิกล่าว

รมว.ดีอีเอส กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา มีการหลอกลวงลงทุนออนไลน์ ใช้ช่องทางโซเชียลชักชวนลงทุน มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์ ดารา คนดังที่มีคนติดตามมาก ทำให้ประชาชนสนใจอย่างแพร่หลาย และทำให้คนหลงเชื่อตามกันมาลงทุน จนเกิดความเสียหายในวงกว้าง เพื่อป้องกันปัญหา ถ้า สำนักงาน ก.ล.ต. แบงก์ชาติ หรือ หน่วยงานใด พบพฤติกรรมแบบนี้ ที่หลอกลวง มีการระดมทุนจากประชาชนอย่างผิดกฎหมาย ก็เร่งตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน ส่ง กระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อจะได้ดำเนินการเร่งปิดกั้นก่อนที่จะสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในวงกว้าง

พ.ต.อ.เอกนิรุจฒิ์ วันสิริภักดิ์ ผกก.2 บก.สอท.1 กล่าวว่า ปัจจุบันการหลอกลวงลงทุน ในบางคดีใหญ่อย่าง Turtle Farm ฟาร์มเห็ดที่สกลนคร มีการทำฟาร์มเห็ดจริง มีการเชิญชวนให้ดูฟาร์ม ใช้คนมีชื่อเสียงมาสร้างความน่าเชื่อถือ จ่ายผลตอบแทนจริงในระยะแรกๆ แต่เมื่อมีคนเข้ามาลงทุนมากๆ ขึ้น ก็มีปัญหาหรือหยุดจ่ายเงินคืนผู้ลงทุน พฤติกรรมเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ จึงขอเตือนว่า หากพบการเชิญชวนที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเกินความเป็นจริง อย่าหลงเชื่อ เพราะการลงทุนที่ให้ผลกำไรเกินจริงได้นั้นไม่มีจริง

“จากตัวอย่างคดีที่เรารับผิดชอบอยู่ตอนนี้ พบว่าส่วนใหญ่ทำการหลอกนักลงทุนแค่ 5-6 เดือน ก็มีเงินหมุนเวียนหลักพันล้านบาท ดังนั้น ยิ่งถ้าปล่อยนานไป จะยิ่งเสียหายจำนวนมาก ซึ่งเรามีกระบวนการเฝ้าระวังอยู่แล้ว ถ้าใครพบพฤติกรรมหลอกลวงลงทุน ขอให้รีบแจ้งมาที่ 1441” พ.ต.อ.เอกนิรุจฒิ์กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า