SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังประชุมศบค. ผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ’ ลงพื้นที่ติดตามการจัดการมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิตพลังงาน ตรวจสอบปัญหากลิ่นที่ส่งผลต่อชุมชน

เวลา 13.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามโครงการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชน เพื่อผลิตพลังงาน ขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตัน/วัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เขตประเวศ พร้อมทั้งติดตามการปรับปรุงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในโรงงาน และลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหากลิ่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยโดยรอบและชุมชนใกล้เคียง

กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามสัญญาจ้างให้บริษัทลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT) ที่ขนาด 800ตัน/วัน ในพื้นที่ 20 ไร่ ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2560 เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยได้ดำเนินการก่อสร้าง พร้อมติดตั้งเครื่องจักร และเริ่มเดินระบบกำจัดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 2 ปี 3 เดือน บริหารจัดการ โดย บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจ กทม) เพื่อเป็นโครงการต้นแบบและนำร่องการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการ ด้วยเทคโนโลยีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT) ลดพื้นที่ฝังกลบ และจะเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดมูลฝอยชุมชน เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยมีผลพลอยได้คือขยะเชื้อเพลิง และขยะรีไซเคิล โดยจะเหลือกากของเสียที่ต้องนำไปกำจัดน้อยที่สุด กระบวนการกำจัดมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยี MBT จะนำขยะชุมชน 800 ตัน/วัน เข้าสู่กระบวนการคัดแยกเบื้องต้น กระบวนการเตรียมหมักและบีบอัด กระบวนการผลิตก๊าซ กระบวนการผลิตไฟฟ้า

สำหรับพื้นที่ภายในโรงงานกำจัดมูลฝอยชุมชน เพื่อผลิตพลังงาน ขนาด 800 ตัน ประกอบด้วย 1.อาคารรับขยะ 2.อาคารคัดแยกเบื้องต้น 3.ระบบบำบัดกลิ่น 4.ถังเตรียมหมัก 5.เครื่องบีบอัด 6.อาคารระบบบำบัดน้ำเสีย 7.ระบบผลิตก๊าช 8.ระบบปรับสภาพก๊าช 9.พื้นที่ถังเก็บก๊าซ 10.อาคารระบบผลิตไฟฟ้า 11.อาคารสำนักงาน และ 12.อาคารชั่งน้ำหนัก

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้พบปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับ การขนถ่ายมูลฝอยชุมชน บ่อรับขยะ องค์ประกอบมูลฝอยชุมชน การจัดการขยะเชื้อเพลิง ทำให้ต้องปรับปรุงเครื่องจักรและอาคาร เพื่อลดกลิ่นที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงและบริเวณโดยรอบโรงงาน

นอกจากนี้ ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564 สมาชิกชุมชนหมู่บ้านอิมพีเรียลพาร์ค ได้มาเยี่ยมชมโรงงานและเสนอข้อเรียกร้องกับบริษัทกรุงเทพธนาคม โดยบริษัทฯ มีการกำหนดแผน และมาตรการจัดการ ดังนี้ ตรวจสอบหาแหล่งที่มาของกลิ่น กำหนดแผนงานและมาตรการเข้มข้น ตั้งทีมประสานงานร่วมกับตัวแทนหมู่บ้านฯ แผนงานระยะสั้น 30 วัน ได้แก่

1.ติดตั้งระบบสเปรย์ดับกลิ่นอัตโนมัติบริเวณอาคารรับขยะ

2.ติดตั้งผนังและประตูบริเวณอาคารรับขยะให้เป็นระบบปิด

3.ติดตั้งระบบสเปรย์ดับกลิ่นอัตโนมัติบริเวณอาคารเก็บขยะเชื้อเพลิง

4.ติดตั้งผนังและประตู อาคารเก็บขยะเชื้อเพลิง ให้เป็นระบบปิด

5.ดำเนินการจัดการขยะและกากตะกอน โดยไม่ให้มีการตกค้าง แล้วเสร็จ 100 % แผนงานระยะยาว 120-180 วัน ได้แก่ 1.ปรับปรุงอาคารรับขยะและอาคารเก็บขยะเชื้อเพลิงเพิ่มเติม 2.ปรับปรุงระบบบำบัดกลิ่นภายในอาคาร แล้วเสร็จ 70 % พร้อมทั้งการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของกรมควบคุมมลพิษ ระบบบำบัดกลิ่น โดยปรับปรุงระบบบำบัดกลิ่นเรียบร้อยแล้ว คงเหลือการทดสอบประสิทธิภาพ จะแล้วเสร็จปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ส่วนระบบการจัดการได้ปรับปรุงอาคาร ผนังและประตูปิดคลุมให้มิดชิดเรียบร้อยแล้ว และเพิ่มเจ้าหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดประตูทุกจุดที่มีการเคลื่อนย้าย ระบบลำรางระบายน้ำ ปัจจุบันได้ทำความสะอาดรางระบายน้ำ พร้อมทำแผน และมาตรการตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด ด้านระบบบำบัดน้ำเสีย ปัจจุบันได้ทำแผนการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย การปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกอบกิจการโรงงาน ส่วนการดำเนินงานปรับปรุงโครงการ ได้ปรับปรุงอาคารรับขยะให้เป็นอาคารปิดมิดชิด แล้วเสร็จ 100% ปรับปรุงระบบบำบัดกลิ่น ยังคงเหลือทดสอบประสิทธิภาพระบบ แล้วเสร็จ 70% ปรับปรุงอาคารเก็บเชื้อเพลิงให้เป็นอาคารปิดมิดชิด แล้วเสร็จ 100%

“ขอให้ทุกคนใจเย็นๆ เราต้องมาคุยกันอีกที เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ในวันนี้เวลากระชั้นชิด ต้องกลับไปดูรายละเอียดเชิงลึกในการแก้ไขปัญหา แล้วจะกลับมาใหม่ เรื่องนี้จะหลอกกันไม่ได้ เพราะกลิ่นที่ออกมาทุกคนรับรู้เหมือนกันหมด ซึ่งหลายหน่วยงานได้มาช่วยกันตรวจสอบหาแนวทางในการแก้ไขและข้อเสนอแนะต่างๆ ประเด็นสำคัญคือต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ลดปัญหากลิ่นที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ” ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ระหว่างลงพื้นที่ ช่วงหนึ่งมีฝนตกลงมา และเนื่องจากมีภารกิจต่อ ทำให้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ต้องกึ่งเดินกึ่งวิ่งไปดูพื้นที่และรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน

 

จากนั้น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ไปเข้าร่วมประชุมหารือระหว่างผู้บริหารหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย และกรุงเทพมหานคร โดยเห็นตรงกัน จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนในระดับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ของเมืองในอนาคตจำเป็นต้องฟังภาคเอกชนด้วย เพราะภาคเอกชนจะมีเข้าใจในธุรกิจในอนาคตดีกว่า

สำหรับการหารือครั้งนี้ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอประเด็น ที่จะผลักดัน 6 ประเด็น ดังนี้

1. การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชน ของกรุงเทพมหานคร (กรอ. กทม.) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ และร่วมวางแผนยุทธศาสตร์ของ กทม.ร่วมกัน

2. การสร้าง Ecosystem ที่เหมาะกับ การสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยได้มีการนำเสนอการสร้างผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ได้มีการยกตัวอย่างของหอการค้าฯ ที่มีการสนับสนุนให้ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) กรุงเทพฯ ในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมของหอการค้าฯ โดย ได้มีข้อเสนอพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ในมิติต่าง ๆ อาทิ เช่น การพัฒนา Street Food เป็นต้น

3. การเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพงาน APEC 2022 ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยเฉพาะงาน APEC CEO Summit ที่วางแผนจะจัดขึ้นที่ ไอคอนสยาม จึงขอให้ทาง กทม. ช่วยเร่งการก่อสร้างและปรับปรุงถนนแถวนั้น รวมถึงเข้ามามีส่วนร่วมหรือสนับสนุนกิจกรรมเนื่องจากเป็นงานระดับชาติที่มีผู้นำจากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศไทย ซึ่งพื้นที่การจัดงานทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ กทม.

4. โครงการอบรมข้าราชการครูในสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก (To become active global citizens) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างพลเมืองไทยให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และ พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีความองค์ความรู้ และความเข้าใจในการสร้างสรรค์พลเมืองโลก ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการเรียนรู้ผ่านประเด็นทางสังคม รวมถึงมีการเสริมเรื่องการสอนภาษาจีนให้โรงเรียนของสังกัดกทม 400 กว่า โรงเรียนทั้งระดับประถม มัธยม และอาชีวะด้วย ซึ่งการสร้างคนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

5. ผลักดันให้เกิดการทบทวนราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เนื่องจากปัจจุบันราคากลาง ไม่เท่ากับราคาตลาด ทำให้กระทบต่อหลายโครงการที่ดำเนินการอยู่ หรือกำลังอยู่ระหว่างสรรหาผู้รับเหมา ซึ่งราคาที่ต่างกันอาจทำให้เกิดกรณีผู้รับเหมาบางรายทิ้งงานในหลายโครงการ รวมถึงภาคธุรกิจแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงมากในช่วงที่ผ่าน ดังนั้น จึงเสนอให้ท่านผู้ว่าฯหารือกับกรมบัญชีกลาง ช่วยผลักดันประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนต้นทุนความเป็นจริงของภาคธุรกิจ

6. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ที่เรียกว่า หลักสูตร Top Executive Program on China Business Insights and Network หรือเทพเซียน (TEPCIAN) เป็น หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงทั้งชาวไทยและชาวจีนที่ต้องการทำการค้า การลงทุน การท่องเทียว ระหว่าง 2 ประเทศ และถือเป็นหลักสูตรแรกของไทยที่เน้นให้ผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมของจีน ได้รับทราบถึงแนวทางในการค้า การลงทุน และการประสานงานกับภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศด้วย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว

ช่วงเย็น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เป็นประธานเปิดพิธีเปิดงานมหกรรมของดี กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ครั้งที่ 15 ที่ GRAND HALL ชั้น G ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค

ภาพจาก : ทีมงาานชัชชาติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า