Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อุตุฯ เผยพายุ เตี้ยนหมู่ อ่อนกำลังแล้ว แต่ส่งผลกระทบไทย 40 จังหวัด ภาคเหนือ-อีสาน-กลาง-ตะวันออก เตรียมพร้อมรับมือปริมาณฝนที่ตกเพิ่มช่วงวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ ล่าสุด เขื่อนเจ้าพระยา ออกประกาศเพิ่มการระบายน้ำ เตือนพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จว. ท้ายน้ำ พร้อมรับมือ

วันที่ 25 ก.ย. 2564 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กรมชลประทานออกประกาศฉบับที่ 14 เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มการระบายน้ำ เตือนพื้นที่ลุ่มต่ำท้ายน้ำพร้อมรับมือ จากประเมินปริมาณฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในช่วงดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะส่งผลให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุด บริเวณสถานี C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 2,400 – 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ว่าแม่น้ำสะแกกรัง จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ Ct.19 จังหวัดอุทัยธานี อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทั้งนี้ กอนช. มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการชะลอน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาร่วมกับการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่งและพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้จะมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 0.30 – 1.00 เมตร ในช่วงวันที่ 27 – 30 กันยายน 2564 ดังนี้

  1. จังหวัดชัยนาท ตำบลโพนางดำ อำเภอสรรพยา
  2. จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอเมือง และวัดเสือข้าม ตำบลประศุก วัดสิงห์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี
  3. จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง วัดไชโย ตำบลไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
  4. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คลองบางบาล ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)

ในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงและพื้นที่ที่ยังคงสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ แจ้งเตือนจังหวัดในพื้นที่ท้ายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและ แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งผู้ประกอบกิจการ ในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย คลองโผงเผง และคลองบางบาล
  2. ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
  3. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

ล่าสุดมีรายงานว่ามวลน้ำหลายสายทะลักเข้าสู่ตัวเมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตก ระดับน้ำท่วมถนนสายหลักยาวกว่า 5 กิโลเมตร ทำให้ชาวเมืองสุโขทัยได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก สำนักประชาสัมพันธ์รายงานว่า สถานการณ์น้ำที่บ่ามาจากอ.ศรีสำโรงจากอ่างเก็บน้ำแม่มอก และอ่างเก็บน้ำแม่รำพันล้นสปริลเวย์ เอ่อล้นเข้าพื้นที่ อ.เมืองสุโขทัย บริเวณพื้นที่ ต.บ้านกล้วยและ ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย ล่าสุดมวลน้ำยังขยายวงกว้างและท่วมสูงหลายจุด ตลอดเส้นทางจากสะพานพระร่วงจนถึงวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย ระดับน้ำสูง 20-50 เซนติเมตร

โรงพยาบาลสุโขทัยต้องใช้แผ่นเหล็กทำทางเข้า และใช้เรือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยรับส่งผู้ป่วยและผู้มาใช้บริการจากสี่แยกคลองโพ ทำให้ชาวบ้านต่างได้รับความเดือดร้อนโดยเฉพาะ ที่ชุมชนคลองโพและชุมชนวัดคูหาสุวรรณน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 100 หลังคาเรือน บางจุดสูงถึง 1เมตร 50 เซนติเมตร ต้องสัญจรด้วยเรือเท่านั้น ส่วนถนนสายบายพาสตั้งแต่สะพานโตโยต้าถึงสี่แยกคลองโพระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร สถานนีขนส่งเฉลิมพระเกียรติประชาชนไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้ ในขณะที่ทางจังหวัดยังคงแจ้งเตือนระดับน้ำจะสูงขึ้นต่อเนื่อง

ส่วนน้ำในแม่น้ำยมขณะนี้มีระดับสูงในระดับเดียวกับน้ำจากคลองแม่รำพันที่ท่วมขัง ทำให้ไม่สามารถผันน้ำลงแม่น้ำยมได้ ที่สถานีวัดน้ำ Y 4 มีระดับสูง 6.50 เมตร ซึ่งจังหวัดได้ผันน้ำจากประตูน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ออกไปทางฝั่งซ้ายออกไปทางอุตรดิตถ์และพิษณุโลก สำหรับน้ำจากแม่น้ำยมยังไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด

โดยภาพรวมของจังหวัดสุโขทัยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้ทั้ง 9 อำเภอ 56 ตำบล 288 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร 169,297 ไร่ บ่อปลา 1,326 ไร่ ถนน 118 สาย สะพาน 6 แห่ง ท่อระบายน้ำ 7 แห่ง ตลิ่ง/คันกั้นน้ำ 6 แห่ง ฝาย 9 แห่ง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า