SHARE

คัดลอกแล้ว

‘บาทดิจิทัล’ (CBDC) เริ่มทดสอบระบบแล้วโดย 3 กลุ่มธุรกิจการเงิน ‘กรุงศรี-ไทยพาณิชย์-2C2P’ ก่อนขยายไปให้ประชาชนทั่วไปได้ใช่ในปีนี้

‘แซม ตันสกุล’ กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต เปิดเผยว่า ปัจจุบันเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ของไทยยังอยู่ในช่วงทดสอบ (Pilot) โดยมีผู้ร่วมทดสอบ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และ 2C2P ซึ่งแต่ละรายต่างแยกการทดสอบระบบ

digital-baht-cbdc-has-started-testing

สำหรับการทดสอบของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดให้พนักงานทดลองใช้งานภายในโรงอาหารของธนาคารและตลาดครูหวี (ข้างกรุงศรีฯ พระราม 3) เท่านั้น แต่คาดว่าจะขยายการทดสอบไปยังกรุงศรีฯ เพลินจิต และบริษัทพันธมิตรในกลุ่มค้าปลีก (Retail) เร็วๆ นี้

เบื้องต้นตั้งเป้าหมายพนักงานเข้าร่วมทดสอบ 2,000 คน โดยกลุ่มร้านค้าที่เข้าร่วมทดสอบระบบ คือกลุ่มร้านค้าภายในตลาดครูหวีทั้งหมด ประมาณ 100 ร้านค้า

ทั้งนี้ ช่วงเวลาทดสอบระบบบาทดิจิทัลกินระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 2566 เพื่อดูการตอบรับและระบบเบื้องหลัง ก่อนรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาขยายการใช้งานไปยังประชาชนต่อไป

สำหรับประโยชน์ของ CBDC มองว่า มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการดำเนินโครงการรัฐสวัสดิการ และการปล่อยสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ของธนาคาร ยกตัวอย่างเช่นช่วงโควิด-19 รัฐบาลประกาศให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ปกครองคนละ 2,000 บาท

ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวอาจไม่ไปถึงนักเรียน แต่ต่อไปสามารถกำหนดได้ว่า เงินจำนวนดังกล่าวซื้อของกับร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนเท่านั้น เช่น ชุดนักเรียนหรืออุปกรณ์การเรียน และหากไม่ใช้ สามารถดึงเงินกลับได้ทันที คล้ายคลึงกับแอปฯ เป๋าตัง เห็นต้นทางและปลายทางที่ใช้เงิน

ส่วนสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ เช่น สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ สามารถกำหนดได้ว่า ต้องใช้เพื่อซื้ออุปกรณ์การผลิตเท่านั้น หรือสินเชื่อบ้าน นอกจากค่าบ้านแล้ว ต้องใช้เพื่อซื้อของตกแต่งบ้านจริงๆ เป็นต้น เป็นต้น กล่าวคือ สามารถควบคุมวัตถุประสงค์การใช้เงินได้ จากเดิมที่ไม่สามารถทำได้

นอกจากประโยชน์ในแง่การทำรัฐสวัสดิการและการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร กรุงศรีฯ คาดว่า CBDC จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตเหรียญและธนบัตรในระบบ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของประเทศถูกลง

สำหรับการทดสอบครั้งนี้ ความคาดหวังส่วนใหญ่เป็นความเสถียรของระบบเป็นหลัก โดยเฉพาะช่วงที่ธุรกรรมหนาแน่น เช่น ตอนพักเที่ยงที่คนมักใช้จ่ายกัน ติดปัญหาหรือไม่ สามารถเห็นเงินต้นทาง-ปลายทางได้อย่างไร สามารถแลกเงินกลับเป็นบาทปกติได้หรือไม่ เป็นต้น

‘การใช้ CBDC ต่างประเทศ เช่น จีน เริ่มไปแล้ว ระบบราชการจีนรับรองเงินเป็นหยวนดิจิทัลสามารถใช้ในร้านค้าทั่วไป สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ’

สำหรับการใช้งานค่อนข้างง่าย ลักษณะคล้ายพร้อมเพย์ เพียงแต่เป็นอีกแอปพลิเคชันเท่านั้น โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่ทดสอบ ภาพรวมค่อนข้างดีและไม่มีปัญหา

‘ตอนนี้ไม่ได้คาดหวังตัวเลขธุรกรรม แต่คาดหวังประสิทธิภาพของระบบเป็นหลักว่าใช้งานได้ ตอนนี้เป็นแอปฯ แยก แต่สุดท้ายอาจรวมเข้ามารวมกันในโมบายแบงก์กิ้ง ตอนนี้เราแยกออกมาก่อนเพื่อให้คนใช้เข้าใจเรื่องของระบบ รวมถึงเป็นการสอนร้านค้าไปด้วยในตัวว่าตอนนี้แยกกันกับพร้อมเพย์ก่อน แต่วันพนึ่งอาจมารวมกันก็ได้’

ในอนาคตเป็นไปได้ว่า CBDC จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ลดปัญหาแอปฯ ล่มในช่วงสิ้นเดือนได้ เพราะนอกจากระบบจะแยกกับโมบายแบงก์กิ้งแล้ว เทคโนโลยีเบื้องหลังอย่างบล็อกเชนก็สามารถรองรับธุรกรรมได้ค่อนข้างสูง

เบื้องต้นคาดว่า CBDC จะฝังอยู่ในโมบายแบงก์กิ้งของธนาคาร เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่ลำบากในการใช้งาน โดยจะต้องแปลงเงินบาทมาเป็น CBDC ซึ่ง 1 CBDC คือ 1 บาท โดยปัจจุบันยังไม่มีชื่อสกุลเงินสำหรับ CBDC ไทยอย่างเป็นทางการ แต่หากอิงกับ ‘หยวนดิจิทัล’ ของจีน CBDC ก็เปรียบได้กับ ‘บาทดิจิทัล’

เมื่อถามถึงการใช้งานในกลุ่มประชาชนทั่วไป กรุงศรีฯ คาดว่า ภายหลังทดสอบเฟสนี้ คาดว่า ธปท.จะเริ่มขยายการใช้งานมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีมาตรการจูงใจ (Incentive) เช่น ส่วนลด หรือเงินคืน เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า