SHARE

คัดลอกแล้ว

เคยเสิร์ชชื่อตัวเองบนเฟซบุ๊กหรือเปล่า? ถ้าใครสักคนอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรา แค่เสิร์ชชื่อนามสกุลก็จะพบกับข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ประวัติการทำงานทันที

แต่ถ้าเจอโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม คราวนี้ก็จะได้รู้ทั้งความคิดความอ่าน เรื่องที่ชอบ งานอดิเรก สถานที่ที่ชอบไป เพราะเรื่องเหล่านี้ถูกบันทึกผ่านการโพสต์ คอมเมนต์ แชร์ในโลกออนไลน์ ย้อนกลับไปดูเมื่อไหร่ก็ได้ ไ่ม่มีวันหมดอายุ

สิ่งเหล่านี้ประทับในโลกอินเตอร์แน่นเหมือนเป็นรอยเท้า เราจึงเรียกว่า “Digital Footprint”

รอยเท้าดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเป็นพื้นที่เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นใคร มีความคิดความชอบ แนวทางในการใช้ชีวิตแบบไหน นายจ้างอาจใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ หรือถ้าเจอคนถูกใจก็เป็นพื้นที่ “ส่อง” ก่อนทำความรู้จักกันได้

แต่ข้อเสียคือ ยิ่งเราโพสต์เพื่อแสดงความเป็นเราไปมากเท่าไหร่ ความเป็นส่วนตัวก็จะเหลือน้อยลงยิ่งขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ลบออกได้ยากมาก หากเราโพสต์อะไรในสถานการณ์แบบหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปข้อความหรือรูปภาพเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการสะท้อนต่อสังคมแล้ว ถึงจะลบออก ก็มีโอกาสในการถูกใครบางคนแคปภาพเก็บไว้ และที่แน่ ๆ ข้อมูลก็จะยังอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Big Data ตลอดไป มีโอกาสถูกผู้ไม่ประสงค์ดีขุดคุ้ยขึ้นมาใหม่เสมอ

หลายคนอาจจะกล่าวว่า หากบริสุทธิ์ใจก็ไม่มีอะไรหลบซ่อน แต่จริงๆแล้วในโลกออนไลน์ไม่ได้ง่ายอย่างนั้น ข้อความบางข้อความถูกโพสต์ในบริบทหนึ่ง แต่เมื่อถูกเผยแพร่และส่งต่อในวงกว้างเราจะควบคุมให้ทุกคนเข้าใจบริบทได้เป็นเรื่องยากมาก โอกาสในการตีความผิดพลาดมีสูง เหมือนที่เราจะเห็นหลายคนถูกแคปเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์มาวิพากษ์วิจารณ์จนต้องมาอธิบายกันพัลวัล หรืออยู่ดีๆเราอาจถูกนำชื่อและใบหน้าไปใช้แอบอ้าง ทำเรื่องผิดกฎหมายได้เสมอ

ในต่างประเทศเริ่มมีการถกเถียงกันว่าควรจะบังคับให้มีการลบรอยเท้าพวกนี้ออกไปได้ในบางกรณีไหม เช่น ในกรณีของเด็กที่ยังไม่รู้ความ แต่พ่อแม่เห่อลูกมาก โพสต์ข้อมูลส่วนตัวของลูกลงอินเตอร์เน็ตทั้งหมด หากเด็กคนนั้นโตมาแล้วคิดว่าข้อมูลของเขาไม่ควรอยู่ในโลกออนไลน์เราควรจะให้เขามีสิทธิสั่งให้ทุกคนลบเรื่องของเขาได้หรือไม่ เรื่องนี้ศาลแห่งยุโรปตัดสินเป็นที่แรกว่าบุคคลควรมีสิทธิถูกลืมได้ (The Right to be Forgottem)

อีกกรณีที่ถกเถียงอย่างหนักคือ เราควรลบโซเชียลมีเดียของ “คนตาย” หรือไม่ เนื่องจากข้อมูลอาจถูกนำไปใช้โดยไม่มีใครปกป้องได้ แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก google จึงได้ออกแบบตัวเลือกมาให้เราเลือกได้ว่าจะจัดการบัญชีอย่างไรหลังเสียชีวิตไปแล้ว

แต่สุดท้ายแล้ว การโพสต์ของเรายังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า “Digital Footprint” อยู่ดี ในโลกที่มีการพัฒนาระบบเก็บ Big Data การใช้งานอินเตอร์เน็ตของเราถูกเก็บข้อมูลยิบย่อยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นประวัติการค้นหาสินค้าในหน้าเว็บ เวลาที่ใช้ในการเสพข้อมูล สถานที่ที่เข้าอินเตอร์เน็ต ทุกอย่างล้วนเป็นรอยเท้าที่ถูกนำมาระบุตัวตนเพื่อสร้างประโยชน์ให้ใครคนใดคนหนึ่งได้เสมอ

ทางที่ดีที่สุดควรตรวจตราการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ขนาดของ Digital Footprint ของเราแพร่กระจายออกไปจนควบคุมไม่ได้

 

อ้างอิง

Internet Society

Why we must remember to delete – and forget – in the digital age

How Europe’s ‘right to be forgotten’ could protect kids’ online privacy in the U.S.

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า