SHARE

คัดลอกแล้ว

5 ธนาคารไทย ธนชาต กรุงเทพ กสิกร ไทยพาณิชย์ กรุงศรี สแกน QR Code ผ่านแอพฯ ชำระเงินในลาวได้เหมือนที่ไทย ไม่ต้องแลกเงินสด

ธนาคารธนชาต ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารการค้าต่างประเทศของ สปป.ลาว (BCEL) ทดลองเชื่อมต่อระบบชำระเงิน โดยสแกน QR Code ผ่านแอพพลิเคชั่น เป็นการเชื่อมต่อระบบชำระเงินระหว่างประเทศด้วย QR Code คู่แรกในอาเซียน

ปัจจุบันคนไทยที่เดินทางไป สปป.ลาว สามารถชำระเงินผ่านแอพฯ ของธนาคารไทยได้ 5 แห่ง คือ ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

จาก PromptPay สู่การเชื่อมต่อระบบชำระเงิน ASEAN

ทุกวันนี้หลายคนคงคุ้นชินกับการโอน-รับเงิน โดยใช้แค่เบอร์โทรศัพท์มือถือผ่านระบบ PromptPay (พร้อมเพย์) ซึ่งถือเป็นระบบชำระเงินกลางแบบ Digital Payment ของไทย ข้อมูลจากแบงก์ชาติ ระบุว่าปัจจุบัน (ต.ค. 62) มีผู้ใช้ลงทะเบียนในระบบ PromptPay กว่า 49.5 ล้านราย และมีการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 8.1 ล้านรายการ ทั้งโอนเงิน จ่ายบิล และบริจาคออนไลน์

นายบัญชา มนูญกุลชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าระบบ PromptPay ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และจะต้องขยายรูปแบบการใช้งานให้ครอบคลุมบริการ Digital Payment อื่นๆ ในอนาคต เช่น การชำระเงินของภาคธุรกิจ ความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการเชื่อมต่อระบบชำระเงินของอาเซียน

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

ไทย-ลาว เชื่อมต่อระบบ QR Payment คู่แรกใน ASEAN

ที่ผ่านมา ธนาคารธนชาต ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารการค้าต่างประเทศของ สปป.ลาว (BCEL) ทดลองเชื่อมต่อระบบชำระเงิน โดยสแกน QR Code ผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารไทยอีก 4 แห่ง ที่ร่วมเชื่อมต่อระบบนี้ด้วย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ทำให้คนไทยที่เดินทางไป สปป.ลาว สามารถชำระเงินผ่านแอพฯ ของธนาคารไทยทั้ง 5 แห่งนี้ ได้เหมือนกับที่ใช้งานในประเทศไทย โดยระบบจะคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนให้อัตโนมัติ แล้วตัดเงินจากบัญชีของเราเป็นเงิน ‘บาท’ ก่อนส่งเงินเข้าบัญชีของร้านค้าเป็นเงิน ‘กีบ’

ตัวอย่างร้านค้าในหลวงพระบาง สปป.ลาว ที่รับชำระเงินโดยสแกน QR Code

สแกน QR Code ได้แล้ว แต่จำนวนร้านยังไม่เยอะ

Workpoint News ได้เดินทางไปหลวงพระบาง สปป.ลาว ร่วมกับแบงก์ชาติเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงถือโอกาสเดินสำรวจ พบว่าร้านค้าที่รับสแกน QR Code ยังมีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ทาง BCEL ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนจุดสแกน QR Code ให้กระจายอย่างทั่วถึงมากขึ้น ทั้งในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และเมืองอื่นๆ

ส่วนคนลาว ที่เดินทางมายังประเทศไทยก็สามารถใช้แอพฯ ของตนเองสแกนเพื่อชำระเงินได้เช่นกัน ซึ่งในช่วงเริ่มต้นตั้งแต่เดือน ก.พ. – ก.ย. 62 พบว่ามีการใช้จ่ายผ่าน QR Code ของคนลาวในประเทศไทยทั้งสิ้น 32,000 รายการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 157 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 4,000-5,000 บาทต่อการซื้อ

นายบัญชา มนูญกุลชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าการเชื่อมต่อระบบชำระเงินระหว่างไทย-ลาว จะนำไปสู่การเชื่อมต่อระบบชำระเงินด้วย QR Code กับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนต่อไป ทั้งสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และกัมพูชา

เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ และสามารถโอน-รับเงินข้ามประเทศได้โดยที่ประชาชนจ่ายค่าธรรมเนียมถูกลง หรือไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจและแรงงานข้ามประเทศ

อนาคตอันใกล้เราอาจได้เดินทางไปประเทศต่างๆ ในอาเซียน แบบไม่ต้องแลกเงินเลย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า