SHARE

คัดลอกแล้ว

LAZADA แถลงขอโทษ ยืนยันไม่มีนโยบายสนับสนุนการล้อเลียนพฤติกรรม ด้านหัวหน้าพรรคกล้าโพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถามถึงเวลาไทยต้องมีกฎหมาย Digital Services Act แล้วหรือยัง

วันที่ 6 พ.ค. 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า วันนี้เห็นประเด็นโฆษณาที่ไม่เหมาะสมถึงขั้นทำร้ายจิตใจของคนไทยโดย Lazada แล้ว ทำให้นึกถึงกฎหมาย Digital Services Act (DSA) ที่ทาง EU ได้เพิ่งผ่านขั้นตอนพิจารณาสำคัญ เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา

กฎหมาย DSA มีเป้าหมายสำคัญที่จะให้ทาง platform ต่างๆ เช่น Facebook (และ Lazada) รับผิดชอบข้อความและโฆษณาที่ปรากฏในพื้นที่ของตน กฎหมายนี้เข้มงวดกว่าของสหรัฐฯ ที่มีจุดยืนกว้างๆ ว่า platform ไม่ต้องรับผิดชอบ content โดยหลักสำคัญคือภายใต้ DSA นั้น platform ต้องรับผิดชอบต่อข้อความที่เป็นข้อความเท็จ ขัดต่อกฎหมาย หรือผิดจริยธรรม

ภายใต้ DSA นั้น platform ต่างๆอาจถูกสั่งให้เปิดเผย algorithm ที่ใช้ในการคัดกรองและเผยแพร่ข้อมูลด้วย

ถึงเวลาที่สังคมเราควรต้องพิจารณากฎหมายลักษณะเดียวกัน ที่ผ่านมากฎหมายยังตามเทคโนโลยีไม่ทัน ซึ่งทาง EU วันนี้มองว่า สิทธิส่วนบุคคลและความเป็นประชาธิปไตยควรได้รับการปกป้องด้วยกฎหมาย สิทธิในการแสดงออก และหลักการ free speech ยังต้องมี

ซึ่ง EU มองว่า ‘free’ ต้องไม่ใช่เท็จ ต้องไม่มีการกีดกันอย่างไม่ยุติธรรม หรือไม่โปร่งใส และต้องไม่ใช่การแสดงออกที่ขัดต่อกฎหมาย หรือทำร้ายสิทธิของผู้อื่นและสังคมโดยรวม

ถึงเวลาของไทยต้องมีกฎหมายลักษณะนี้แล้วยัง

https://www.facebook.com/KornGoThailand/posts/553719779449921

  • LAZADA ยันไม่มีนโยบายสนับสนุนการล้อเลียนพฤติกรรม

สำหรับเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังลาซาด้าเผยแพร่คลิปในแคมเปญ 5.5 เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา มีเนื้อหาไม่เหมาะสมหลายด้านจนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และเกิด #แบนLazada ล่าสุดบริษัท Lazada ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นพร้อมให้บริษัท อินเตอร์เซคท์ ดีไซน์ แฟคทอรี่ จำกัด ผู้รับผิดชอบในการผลิตคลิป ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสาธารณชนและแสดงความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในครั้งนี้

ขณะที่ลาซาด้าขอใช้โอกาสนี้ในการขออภัยต่อความผิดพลาดที่เกิดจากการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาวิดีโอโดยอินฟลูเอนเซอร์ ‘นาราเครปกะเทย’ บนโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่าเข้าใจดีว่าเนื้อหาดังกล่าวสร้างความกระทบกระเทือนจิตใจต่อสังคมและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ทันทีที่รับทราบถึงคลิปดังกล่าว ได้มีคำสั่งให้ถอดคลิปออกทันที เพราะเนื้อหาและข้อความเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการทำงานและความเชื่อของลาซาด้าในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ให้ความเคารพต่อกันและกัน และไม่แบ่งแยก

แม้ว่าทางบริษัท อินเตอร์เซคท์ ดีไซน์ แฟคทอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนที่ดูแลการจัดการด้านอินฟลูเอนเซอร์ รวมถึงคุณนาราเอง จะได้ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสาธารณชน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์ที่ผิดพลาดอย่างรุนแรงในครั้งนี้เป็นผลมาจากความไม่รอบคอบของทางลาซาด้าอย่างปฏิเสธไม่ได้ หากเนื้อหาในวิดีโอดังกล่าวได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน วิดีโอนี้จะไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างเแน่นอน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการที่ลาซาด้ายึดถือ

ลาซาด้าขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อความผิดพลาดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เราได้ใช้เวลาในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยละเอียด รวมถึงทบทวนและน้อมรับคำแนะนำและเสียงสะท้อนที่ได้รับจากทุกภาคส่วน ทีมงานของบริษัทลาซาด้า ขอใช้พื้นที่นี้ในการขอโทษและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นต่อสังคม รวมถึง ลูกค้า ผู้ขาย และพาร์ทเนอร์ของเรา
ท้ายที่สุดนี้ จะปรับปรุงการทำงานและกระบวนการให้รัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต

  • กฎหมายการให้บริการดิจิทัล

Digital Services Act คือ กฎหมายการให้บริการดิจิทัล เพื่อควบคุมธุรกิจบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม อาทิ สื่อโซเชียล ตลาดออนไลน์ และบริการออนไลน์อื่น ๆ ให้โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการผูกขาดบริการออนไลน์ ปกป้องผู้บริโภค และสิทธิพื้นฐานของประชาชนสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปต้องการออกกฎระเบียบดิจิทัลใหม่ที่สามารถควบคุมการให้บริการและตลาดดิจิทัลที่ทันสมัย ดังนี้

1) กฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act (DSA)) จะมีบทบาทในการควบคุมให้แพลตฟอร์มออนไลน์นั้นปลอดภัยสําหรับผู้ใช้ โดยการออกข้อปฏิบัติและเสนอเครื่องมือในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎฯ ซึ่ง DSA เปรียบเสมือนไฟจราจรที่ควบคุมถนนบนโลกออนไลน์ให้ปลอดภัยสําหรับผู้ใช้ถนนดิจิทัลทุกคน หากมีการละเมิดกฎฯ ก็จะโดนสหภาพยุโรปลงโทษ ซึ่งสหภาพยุโรปจะดําเนินการ (1) เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ โดยการกําหนดให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ใช้มากขึ้น เช่น ต้องมีการตรวจสอบเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ขายออนไลน์ และต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบและลบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม/ข้อมูลที่มีการบิดเบือนความจริงออกทันที โดยผู้ให้บริการต้องให้เหตุผลในการลบข้อมูลนั้นออกแก่ผู้ใช้ด้วย(2) เพิ่มความโปร่งใสในการทํางานของแพลตฟอร์ม โดยผู้ให้บริการต้องอธิบายอัลกอริทึม (algorithms) ของแพลตฟอร์ม เพื่อแจ้งผู้ใช้ถึงที่มาที่ไปของผลการค้นหาออนไลน์ และ (3) เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎระเบียบมากขึ้น โดยสหภาพยุโรปเสนอให้ใช้กฎระเบียบนี้ ภายใต้หลักการตลาดเดียวของสหภาพยุโรปและเสนอมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฏฯ

2) กฎระเบียบด้านการตลาดดิจิทัล (Digital Market Act (DMA)) จะมีหน้าที่ในการควบคุมบริษัท ออนไลน์ยักษ์ใหญ่ (Gatekeeper) หรือ บริษัทที่เป็นผู้คุมประตูระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการจํานวนมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Google บริษัท Amazon และบริษัท Booking.com ซึ่งอยู่ในตําแหน่งเป็น Gatekeeper ในตลาดออนไลน์ของสหภาพยุโรป และได้ถูกร้องเรียนอย่างหนาหูเรื่องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม สหภาพยุโรปจึงเสนอ DMA เพื่อป้องกันการผูกขาดบริการออนไลน์และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยเฉพาะสนับสนุนให้บริษัท Start-up มีโอกาสแข่งขันในตลาดออนไลน์ โดยสหภาพยุโรปได้เสนอเกณฑ์ในการกําหนด Gatekeeper อาทิ รายได้และขนาดของบริษัท และกําหนดภาระหน้าที่ให้ Gatekeeper ต้องปฏิบัติตาม เช่น (1) ห้ามนําข้อมูลการใช้บริการของผู้ใช้แพลตฟอร์มของ Gatekeeper ไปใช้ประโยชน์เพื่อแข่งขันของกับบริษัทคู่แข่ง (2) เพิ่มความสามารถในการทํางานร่วมกันของแพลตฟอร์มต่าง ๆ (interoperability) โดยบริษัทจะต้องพัฒนาบริการที่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์/แพลตฟอร์มชนิดอื่น ๆ ด้วย (3) ต้องมีความเป็นธรรมในการแสดงตัวเลือกจากบริษัทคู่แข่งบนแพลตฟอร์มของตนเอง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกผู้ให้บริการตามความพอใจไม่ใช่จากการบิดเบือนผลการค้นหา โดยสหภาพยุโรปจะมีมาตรการในการปรับเงินบริษัทที่ละเมิดกฎฯ อาจสูงถึง 10% จากรายได้จากทั่วโลกของบริษัท Gatekeeper ซึ่งหากมีการกระทําผิดซ้ำ สหภาพยุโรปอาจเสนอมาตรการลงโทษอื่น ๆ เพิ่มเติม

ที่มา : https://europetouch.mfa.go.th/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า