SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่าควรระวังเรื่องการตีราคาของเงินดังกล่าวที่อาจไม่เท่ากัน สร้างปัญหาให้กับความน่าเชื่อถือของรัฐ และอาจลามไปกระทบกับราคาเงินบาท

ดร.พิพัฒน์ อธิบายเรื่องราคาของเงิน โดยระบุว่า เงินก็มีราคา และไม่ได้มีแค่ราคาเดียว แต่มีถึง 4 ด้าน คือ

1.อัตราดอกเบี้ย คือราคาของเงินในปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าของเงินในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต เราก็ต้องการผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันนี้ธนาคารกลางมีส่วนสำคัญในการกำหนด แต่ก็คุมได้ไม่หมด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยหลายแบบ หลายระยะ และตลาดเป็นคนกำหนดดอกเบี้ยส่วนใหญ่

2.อัตราแลกเปลี่ยน คือราคาของเงินสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางประเทศหนึ่ง เทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ถ้ามีปัจจัยด้าน demand supply ความน่าเชื่อถือ ผลตอบแทนต่างกัน ราคาอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปได้

3.เงินเฟ้อ คือ ราคาของเงินเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการ ที่เงินสามารถซื้อได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงปริมาณเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ demand supply ของสินค้า

4.Par หรือราคาของเงินสกุลเดียวกันในรูปแบบต่างกัน เช่น เราอาจจะนับว่า ธนบัตร เหรียญ เงินฝากธนาคารที่ออกโดยแต่ละธนาคาร เงินใน wallet ที่ออกโดย provider แต่ละคนว่าเป็นเงินบาทเหมือนกัน แต่ถ้าสภาพ เงื่อนไข ข้อจำกัด และความน่าเชื่อถือต่างไป เงินที่เรียกว่าเงินบาทเหมือนกัน อาจจะมีราคาไม่เหมือนกันก็ได้

และราคาทั้งสี่ของเงินนี่แหละครับ (โดยเฉพาะราคาที่สี่ของเงิน) เป็นสาเหตุสำคัญที่แต่ละประเทศมีธนาคารกลางเป็น “monopoly” ในการออกเงิน หรือเป็น regulator ของคนที่ออกเงินได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ไม่งั้นคนคงมานั่งถามว่า เงินที่ได้รับมาเป็นเงินของใคร และมีราคาต่างกันหรือไม่

และหนึ่งในปัจจัยประเด็นสำคัญที่กำหนดราคาของเงิน คือความน่าเชื่อถือของคนที่ออกเงินและสินทรัพย์ที่หนุนหลัง “เงิน” นั้น

นึกภาพว่า ขนาดธนบัตรขาดคนยังกล้ารับที่เต็มมูลค่า เพราะเชื่อมั่นว่าแบงก์ชาติจะรับแลกคืนที่ราคาเต็ม

ประเด็นที่นโยบาย digital wallet ต้องคิดหนักๆ เลยคือ จะเอา “เงิน” อีกประเภทหนึ่งโยนเข้ามาในระบบ ที่มีเงื่อนไขการใช้ไม่เหมือนเงินบาทอื่นๆ แต่คาดหวังให้ราคาเท่ากับหนึ่งบาทตลอดเวลา โดยไม่มีกลไกในการแลกเปลี่ยน หรือมีภาระของรัฐค้ำประกัน 100% ตลอดเวลาได้อย่างไร (หรือจะใช้กฎหมายบังคับให้มันเท่ากัน ซึ่งทำไม่ได้แน่ๆ)

เพราะเงื่อนไขการใช้เงินที่ต่างกัน คนจะตีมูลค่าของเงินไม่เท่ากัน และเมื่อนำมาใช้ ก็จะเกิด “ราคา” ของเงินที่รัฐอาจจะบังคับไม่ได้ และอาจจะ “break the buck” ได้ และเมื่อเกิดขึ้น คนก็จะแห่ทิ้งเงินใหม่กันอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหากับความน่าเชื่อถือของรัฐได้

เช่น คนอาจจะยอมรับ “เงิน” แต่รับในอัตราที่ไม่เท่ากับ 1 บาท เช่น ขายของ 100 บาท ในราคา 200 เหรียญที่ออกใหม่ หรือมีคนทำธุรกิจตั้งโต๊ะรับแลกเหรียญที่ออกใหม่ ในราคาต่ำกว่า 1 บาท

หรือคนรับปฏิเสธการรับเอาดื้อๆ

ลองนึกภาพถึง stable coin หลากหลายที่ดูเหมือนว่ารักษามูลค่าได้ แต่พอคนเริ่มถามว่า stable coin นั้นมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบไหม หรือกลไกที่ทำให้ราคา stable coin คงที่น่ะ ทำงานได้จริงไหม…

การอธิบายว่า เราสามารถออกสิ่งที่เหมือน “เงิน” โดยไม่ต้องสร้างหนี้ ไม่ต้องขาดดุล ไม่เป็นภาระของรัฐ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่ากลัว ทั้งจากมุมมองวินัยทางการคลัง และความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงิน

อาจจะน่ากลัวกว่าการยอมรับว่านี่คือการแจกเงิน โดยการขาดดุลและสร้างหนี้เสียอีก

และระวังว่าปัญหาจะลามไปจนกระทบราคาทั้งสี่ของเงินบาทเลยนะครับ…

เพราะเราไม่อยู่ในสถานะที่สร้าง “เงิน” จากอากาศได้ครับ (แม้ว่าอาจจะมีบางประเทศทำได้ก็ตาม)

ที่มา https://www.facebook.com/lpipat/posts/pfbid02wfUCA1FReP2ERRcTTEgPB63GgsZ9XD7rAnR41bC8Dhb7XDN7aM1Y9i5XvU61jER8l

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า