SHARE

คัดลอกแล้ว

AIS จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ต ผุดโซลูชั่นใหม่ “Digital Yacht Quarantine” หรือการกักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน โดยนำนวัตกรรมสายรัดข้อมืออัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มาใช้ติดตามข้อมูลสุขภาพของนักท่องเที่ยวระหว่างกักตัว ทำให้แพทย์วิเคราะห์ความเสี่ยงได้แบบเรียลไทม์ สร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว ชุมชน และช่วยฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 10 ล้านคน ในปี 2563 ภูเก็ตสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 320,000 ล้านบาท

Digital Yacht Quarantine ทางเลือกการกักตัววิถีใหม่

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวถึงโครงการ Digital Yacht Quarantine ว่ามีขั้นตอนในการให้บริการคือ เมื่อนักท่องเที่ยวประสานขอเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางเรือ สมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทยจะเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานทางการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการตรวจโรคครั้งแรก พร้อมให้นักท่องเที่ยวสวมสายรัดข้อมืออัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking)

สายรัดข้อมืออัจฉริยะจะตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณชีพจร และพิกัดของนักท่องเที่ยวแต่ละคน ตลอดระยะเวลากักตัว 14 วัน โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งไปยังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้ และเมื่อกักตัวครบ 14 วันแล้ว จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ต

“สำหรับโครงการ Digital Yacht Quarantine ครั้งนี้ เอไอเอสนำเครือข่าย Narrow Band IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนคลื่น 900 MHz และแพลตฟอร์ม Cloud มาใช้เป็นเครือข่ายหลักเชื่อมต่อกับสายรัดข้อมืออัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ซึ่งสามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้ไกลกว่า 10 กม. และมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์”

กักตัวบนเรือยอชต์ “โอกาสใหม่” สร้างรายได้ 600 ล้านบาท ใน 2 เดือน

นางสาวตัญญุตา สิงห์มณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ซุปเปอร์ยอชต์ จำกัด ตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA) กล่าวว่าโควิด -19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเรือยอชต์อย่างหนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงพยายามหาโซลูชั่นให้คนในธุรกิจเรือยอชต์ได้กลับมามีงานทำ

“ตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดจนถึงเดือนตุลาคม 2563 ทุกอย่างดับสนิทร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเราต้องปิดพรมแดนทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เรือที่อยู่เมืองไทยออกข้างนอกไม่ได้ เรือจากต่างประเทศ จากยุโรปจะเข้ามาไทยก็มาไม่ได้ เราพยายามศึกษาว่าต่างประเทศเขาทำอย่างไรให้ธุรกิจฟื้นไว อย่างมัลดีฟส์เขาให้เรือยอร์ชเข้าได้ แต่ต้องมีการ Quarantine บนเรือ ไม่ให้คนขึ้นไปท่องเที่ยวบนบก มันสร้างมูลค่าขึ้นมา บ้านเราก็ต้องทำได้”

จากแนวคิดดังกล่าวจึงเกิดเป็นโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ ที่ร่วมมือกับ AIS, DEPA, PMH และกลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ ยกระดับ Yacht Quarantine เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนและนักท่องเที่ยว

นางสาวตัญญุตา เล่าว่าตั้งแต่เริ่มโครงการ Yacht Quarantine ในเดือนตุลาคม 2563 มีสถิติการติดเชื้อโควิด-19 เป็นศูนย์ และนักท่องเที่ยวรู้สึกมีความสุขกับการกักตัวบนเรือ

“ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการธุรกิจเรือยอชต์ที่มีรายได้กลับมา ท้องถิ่นก็มีรายได้จากการขายอาหาร พวกปลา กุ้ง ผัก ดอกไม้ และเครื่องดื่มต่างๆ เรือลำใหญ่ 1 ลำ ค่าอาหารอยู่ที่ 800,000 บาท ต่อ 5 วัน เราจะส่งอาหารขึ้นเรือได้เฉพาะเวลาที่แพทย์ขึ้นไปตรวจ ดังนั้นในการ Quarantine 1 ครั้ง จะส่งอาหารได้ถึง 3 รอบ ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2563 ที่มีการทำ Yacht Quarantine เราดึงนักท่องเที่ยวเข้ามา 27 ลำ สร้างรายได้ 500-600 ล้านบาท ภายใน 2 เดือน”

ใช้เทคโนโลยีฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างภูเก็ต Smart City

ด้านนายไชยา ระพือพล ประธานกรรมการ บจก.พัชทรีทัวร์ กรุ๊ป และประธานกรรมการ บจก. โฟล คอร์ปอเรชั่น และนายธนภัทร ทั่วไตรภพ กรรมการบริหาร บจก. โฟล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยท่าเรือและนักท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีอยู่แล้ว ระบุว่า FLOWLOW เป็นแพลตฟอร์มที่จะสร้างมาตรฐานและประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งให้ข้อมูลการเดินทาง, คำแนะนำในกรณีฉุกเฉิน, ประกันการเดินทาง และระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ในนาม Flowpay

“สำหรับโครงการ Digital Yacht Quarantine นั้น โฟล คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมกับ บริษัท พัชทรีทัวร์ กรุ๊ป ผู้ได้รับสัมปทานในการบริหารจัดการท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ดำเนินการตั้งแต่ให้บริการลงทะเบียนสายรัดข้อมืออัจฉริยะ สำหรับการกักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน พร้อมจัดทีมแพทย์ขึ้นไปตรวจเชื้อโควิดบนเรือ โดยจะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพตลอดเวลาและหลังจากที่กักตัวครบ 14 วันแล้ว เรียกได้ว่าการร่วมมือกันครั้งนี้เป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวในยุค New Normal ที่นอกจากจะยกระดับการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและหมู่เกาะทะเลอันดามันให้มีความอัจฉริยะมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอีกด้วย”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า