SHARE

คัดลอกแล้ว

การเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียหลากหลายแพล็ตฟอร์ม มาพร้อมกับ ‘ดิสรัปชั่น’ (Disruption) หรือความปั่นป่วนของโลกยุคปัจจุบันจากอิทธิพลของเทคโนโลยี ซึ่งเรียกร้องให้ผู้คนปรับตัวกันอย่างมากมาย แน่นอนว่าในภาคธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ต่างได้รับผลกระทบ หลายๆ คนบอกว่า หากอยากอยู่รอด ต้องดิสรัปต์ตัวเอง ก่อนที่จะโดนดิสรัปต์ 

ทิป-มัณฑิตา จินดา เจ้าของแฟนเพจ ‘Digital Tips Academy’ และ 1 ใน 5 คนของ LINE Certified Trainer 2018-2019

แต่คำว่าการตลาดออนไลน์อาจจะยังเป็นเรื่องที่ไกลตัวใครหลายคน ในจังหวะเดียวกันกับที่แม่ค้าออนไลน์ถือกำเนิดและยูทูบเบอร์ดังเปรี้ยงปร้าง ‘Digital Tips Academy’ แฟนเพจของ ทิป-มัณฑิตา จินดา สาวสมาร์ท นักการตลาดยุคดิจิทัล ก็ค่อยๆ ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จากบทความที่คอยแชร์เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและทิปเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งโลกออนไลน์ เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบธุรกิจทุกระดับ จนปัจจุบันมีแฟนเพจกว่าสามแสนคน และมัณฑิตาเองก็ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 คนของ LINE Certified Trainer 2018-2019 พร้อมมีผลงานหนังสือการตลาดออนไลน์มากมายออกมาอย่างน่าสนใจ

ล่าสุดเธอประสบความสำเร็จถึงขั้นมีการจัดงานสัมมนาออนไลน์มาร์เก็ตติ้งสุดอลังการ Seminar on Stage (SOS) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน แถมยังมีผู้เข้าชมอย่างล้นหลาม จนต้องเพิ่มรอบค่ำ จากตอนแรกที่เธอจะจัดแค่รอบบ่ายรอบเดียว

เราลองสกัดประเด็นจากสิ่งที่เธอพูดบนเวทีออกมาเป็น 2 ข้อใหญ่ เกี่ยวกับการทำการตลาดยุคใหม่บนโลกดิจิทัล ที่คิดว่ามันน่าสนใจและคนทำธุรกิจออนไลน์ควรจะรู้

บรรยากาศภายในงาน Seminar on Stage (SOS) เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน

  1. รู้ทันแพล็ตฟอร์ม รู้จักตัวเอง

คำว่าแพล็ตฟอร์ม ถ้าพูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้าน ก็คงหมายถึงบรรดาโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม ยูทูบ ตลอดจนทวิตเตอร์นั่นเอง แน่นอนว่าในยุคเก่า เรื่องของเทคนิกการตลาดอาจจะมีอายุขัยที่ยาวนานกว่าปัจจุบัน เทคนิกการขายหนึ่งอาจจะยืนยงหลายปี แต่ไม่ใช่ในยุคอินเทอร์เน็ต ที่ทุกเจ้าจะต้องปรับตัวตามสิ่งที่เรียกว่าอัลกอริธึมของแพล็ตฟอร์มต่างๆ  อย่างเช่นเฟซบุ๊กที่ช่วงไม่กี่ปีก่อน เคยให้พื้นที่นำเสนอแก่แฟนเพจต่างๆ เป็นหลัก ทำให้ผู้ใช้งานจะรู้สึกว่าได้อ่านคอนเทนต์จากเพจเยอะกว่าปกติ แต่ในปีนี้ เฟซบุ๊กปรับโฟกัสใหม่ มาให้ความสำคัญกับฟังก์ชัน ‘กลุ่ม’ หรือคอมมูนิตี้สำหรับคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน ที่รวมตัวกันบนเฟซบุ๊กแทน แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ ก็ทำให้ผู้ขายต้องปรับตัวตาม การขายผ่านหน้าเฟซบุ๊กแฟนเพจ แล้วทุ่มเงินยิงโฆษณาอย่างเดียวไม่น่าจะได้ผลต่อไป แต่ผู้ขายต้อง ‘มีส่วมร่วม’ มากขึ้นด้วย โดยการเข้ากลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของตัวเอง พูดคุย ดูเทรนด์ตลาด, การเข้ากลุ่ม ซื้อ-ขาย เพื่อเปิดขายสินค้าให้กับคนที่มีความสนใจโดยตรง ตลอดจนการตั้งกลุ่มซื้อ-ขายของตัวเอง 

ขณะเดียวกัน เมื่อรู้จักแพล็ตฟอร์มดีแล้ว ก็อย่าลืมรู้จักตัวเองด้วย คือรู้จักทั้งสินค้า และรู้จักความถนัดของผู้ขายเอง เช่น การถ่ายภาพสินค้า ในแต่ละแพล็ตฟอร์มก็ไม่เหมือนกัน เพราะกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกัน อย่างการถ่ายภาพสินค้าลงบนอินสตราแกรมซึ่งเป็นแอปฯ ที่เน้นภาพสวยและผู้ใช้ก็ตั้งใจเข้ามาดูภาพสวยๆ ก็ควรมีการเซ็ตการถ่ายภาพที่มีความเป็นแฟชั่น หรือมีความสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งหากหลายคนไม่ถนัดทำโปรดักชั่นถ่ายภาพ หรือรู้ตัวว่าถ่ายภาพไม่สวย อาจจะต้องลองมองหาแพล็ตฟอร์มอื่นเพื่อขายเพิ่มขึ้น เช่น การขายบนทวิตเตอร์ สังคมออนไลน์ที่เรียลไทม์ที่สุด ซึ่งภาพที่ถูกแชร์บนทวิตเตอร์ส่วนใหญ่เน้นความ ‘เรียล’ หลายคนอาจคิดว่าการขายบนทวิตเตอร์อาจจะเป็นไปได้ยาก แต่อันที่จริงไม่ได้ยากขนาดนั้น หากใช้ประโยชน์จากแฮชแท็ก # และหมั่นอัพเดตเทรนด์ผ่านแฮชแท็กต่างๆ 

บรรยากาศภายในงาน Seminar on Stage (SOS) พร้อมผู้เข้าร่วมสัมมนาคับคั่ง

  1. เข้าใจลูกค้า 

อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของการทำความเข้าใจลูกค้า ซึ่งในครั้งนี้มัณฑิตาแนะนำให้รู้จักคำว่า ‘Small Data’ แน่นอนว่า คำว่า Big Data เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในหลายปีมานี้ และบริษัทใหญ่ต่างใช้ประโยชน์จากมันไปอย่างมหาศาล แต่ว่า Small Data นี่แหละจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือบรรดาบริษัทขนาด SMEs ได้อย่างถูกจุด 

เคสศึกษาที่น่าสนใจก็เช่น สถานการณ์ร้านข้าวตามสั่งในช่วงพักกลางวันของพนักงานออฟฟิศ ซึ่งหลายร้านรับมือกับออเดอร์มหาศาลไม่ไหว ไหนจะหน้าร้าน ไหนจะออเดอร์ออนไลน์อีกต่างหาก คำแนะนำก็คือ ร้านข้าวควรจะลองจดสถิติเมนูยอดนิยมในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ไว้อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ และนี่คือ Small Data ง่ายๆ ที่จะช่วยทำให้ร้านข้าวสามารถเตรียมของ และลงมือทำได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียลูกค้าสักทาง

ซึ่งนอกจากการทำความรู้จักลูกค้าผ่าน Data แล้ว เรื่องเบสิกๆ อย่างการทำความเข้าใจ Insight ของลูกค้า เข้าใจความคิดว่าเขาอยากได้สินค้าของเราด้วยความรู้สึกอย่างไร ก็เป็นสิ่งสำคัญ วิธีคิดง่ายๆ ก็คืออย่าลืม ‘เอาใจเขา มาใส่ใจเรา’ เพราะ Insight เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยต่อยอดแบรนด์ เสนอการขาย และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ผู้บริโภคต่อไปได้ในอนาคต 

สรุป : จากที่ได้ไปนั่งฟังมา เข้าใจได้ว่าสัมมนาบนเวทีครั้งนี้ คงไม่ได้เข้มข้นเท่ากับในห้องเรียนที่มัณฑิตาจัดคลาสเรียนเป็นประจำ แต่สิ่งที่ได้พิเศษกว่าน่าจะเป็นเรื่องความบันเทิง ที่เจ้าของงานจัดเต็ม นำเรื่องราวของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมาเล่าผ่านโปรดักชั่นละครเวที ซึ่งพูดกันตามตรง เราว่ามันน่าจะเข้าถึงใจคนรุ่นเก่า ตลอดจนคนที่มีความรู้เป็นศูนย์เกี่ยวกับการขายบนโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนี่น่าจะเป็นเรื่องที่มัณฑิตาเอง ก็น่าจะคาดหวังมากที่สุดในการจัดงานครั้งนี้

บรรยากาศภายในงาน Seminar on Stage (SOS) เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน

 

บรรยากาศภายในงาน Seminar on Stage (SOS) เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์ สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า