Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น” คุณคิดว่าประโยคนี้จริงไหม?

กัมพล จันทวิบูลย์ หรือคุณจิว CEO แห่งแอพลิเคชัน ‘Dime!’ แอพลิเคชันการลงทุนสำหรับมือใหม่ ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ เล่าให้ TODAY BIZVIEW ฟังว่า จริงๆ แล้วประโยค ‘คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น’ มันไม่ได้เป็นแบบนั้นจริงเสมอไป 

มองกลับกัน คนรวยก็เล่นหวยได้ แค่เล่นด้วยจุดประสงค์ที่ต่างจากกลุ่มคนที่มีฐานะน้อย อาจจะเล่นเพื่อความตื่นเต้น ความบันเทิงใจ ขณะที่คนฐานะน้อย เล่นหวยเพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเอง แล้วถ้าย้อนกลับไปดูต้นต่อของประโยคนี้ คำว่า ‘คนจนเล่นหวย’ มันเกิดขึ้นมาก็เพราะก่อนหน้านี้ คนที่มีฐานะน้อย หรือมีระดับรายได้ปานกลาง ไม่สามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายๆ

อย่างที่เล่าไปก่อนหน้า แอพลิเคชัน Dime! ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับคอนเซ็ปต์ต้องการเปิดพื้นที่ให้ใครก็สามารถเข้าถึงการลงทุนได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเป็นมหาเศรษฐีหรือเงินหลักล้านในบัญชี ซึ่งจริงๆ คอนเซ็ปต์นี้ก็เป็นเป้าหมายที่คุณจิว-กัมพล อยากทำให้สำเร็จมานานแล้ว เพราะอยากผลักดันให้คนในสังคมเข้าถึงโอกาสการลงทุนมากขึ้น 

โดยก่อนหน้าที่จะมาลุยทำโปรเจ็กต์ Dime! จริงจัง คุณจิวเคยไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของคนไทย ซึ่งคำว่า ‘การลงทุน’ ที่ว่านี้ เขารวมถึงการซื้อหวยด้วย ก่อนจะพบว่า คนไทยเฉลี่ยเล่นหวยกันเดือนละประมาณ 600 บาท เล่นกันต่อเนื่องประมาณ 19 ปี และมีคนเล่นหวยประมาณ 21 ล้านคน ขณะที่คนเล่นหุ้นไทย มีประมาณ 2.6 ล้านคนเท่านั้น 

คุณจิวมองว่าถ้าคนไทยเข้าถึงการลงทุนในรูปแบบอื่นได้มากขึ้น แบ่งเงินมากระจายการลงทุนรูปแบบอื่นๆ ก็น่าจะช่วยกระจายความเสี่ยง และเพิ่มช่องทางในการสร้างความมั่งคั่งในชีวิตได้มากขึ้น ซึ่งนี่แหละที่เป็นกุญแจสำคัญที่นำมาสู่การเกิดขึ้นของแอพลิเคชัน ‘Dime!’ 

[Customer Centric คือหัวใจสำคัญของภารกิจนี้]

ถ้าดูภาพรวมดีไซน์ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานแอพลิเคชัน Dime! จะรู้สึกว่านี่คือแอพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง แต่คุณจิวเล่าว่า ตอนที่ออกแบบโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของ Dime! จุดตั้งต้นมันไม่ใช่การออกแบบมาเพื่อ Generation ใด Generation หนึ่ง แต่เป็นการตั้งเป้าหมายจากพฤติกรรมของลูกค้า

กลุ่มเป้าหมายหลักของแอพลิเคชัน Dime! คือ คนที่ไม่เคยลงทุนมาก่อน หรือไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนมากนัก เพราะฉะนั้นฟังก์ชันต่างๆ จะต้องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย 

คุณจิวเล่าว่า ทีม Dime! ให้ความสำคัญกับ Customer Experience อย่างมาก เพราะนี่คือจุดที่จะทำให้ Dime! แตกต่างจากแอพลิเคชันการลงทุนอื่นๆ คีย์แมสเสจที่ทีมคุยตั้งแต่เริ่มต้นคือ “อะไรที่มันยากสำหรับเรา แต่ง่ายสำหรับลูกค้า เราจะทำ” 

ทีมจะคิดโดยเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางว่าต้องออกแบบยังไงลูกค้าถึงจะใช้งานง่ายที่สุด และได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกประทับใจการใช้งานแอพลิเคชัน ผลลัพธ์มันจะกลับมาตอบโจทย์เป้าหมายแรกที่วางไว้ นั่นคือขยายกลุ่มเป้าหมายนักลงทุน จากเดิมที่มีแค่กลุ่ม Wealth ก็กลายเป็นใครก็สามารถเข้าใจการลงทุนได้ เพราะเครื่องมือมัน Friendly กับทุกคนอย่างแท้จริง

และไม่ใช่แค่เรื่องดีไซน์ที่ Dime! ถือคติ ‘Customer Centric’ แต่อย่างที่บอกไป Dime! ตั้งใจให้ทุกคนเข้าถึงการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่คนทั่วไปกล้าเสี่ยง คุณจิวเล่าว่า Dime! ทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นอเมริกาด้วยเงินเพียง 50 บาทได้ ขณะที่ก่อนหน้านี้แทบเป็นไปไม่ได้ ทั้งที่หุ้นอเมริกามันอยู่รอบตัวเรา มีทั้ง Google, Apple หรือ Microsoft ที่คนรู้จักแต่ไม่มีโอกาสลงทุน พอ Dime! เข้ามาเปิดโอกาสตรงนี้ คนก็เข้าถึงหุ้นได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น 

[การเติบโตของ Dime! คือสิ่งที่วัดการขยายตัวของตลาดการลงทุน]

คุณจิวเล่าว่าเวอร์ชันแรกๆ ของแอพลิเคชัน Dime มี 3 โปรดักส์ คือ เงินฝาก ลงทุนหุ้นอเมริกา และกองทุน แต่พอเริ่มพัฒนาไป ก็ได้เพิ่มโปรดักส์ใหม่ๆ ทั้งทองคำ เงินฝากต่างประเทศ หุ้นไทย ฯลฯ ส่วนจำนวนผู้ใช้งานก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

แล้วก็พบว่ากลุ่มลูกค้า ก็ตรงกับเป้าหมายแรกที่วางไว้ตั้งแต่ต้น คือ Gen Z ประมาณ 50%, Gen Y ประมาณ 40%, Gen X ประมาณ 6-7% และสัดส่วนที่เหลือเป็น Baby Boomer

ซึ่งถ้ามองอนาคตอีกไปซัก 10-20 ปีกลุ่ม Gen Z ที่เป็น Generation ใหม่ๆ ก็จะเติบโตขึ้นและจะส่งต่อนิสัยการลงทุนให้กับ Generation หลังจากนี้ไปมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาวเราก็จะได้เห็นสัดส่วนการลงทุนของคนไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

[คำแนะนำถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากลงทุน]

สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ลงทุนมาก่อน คุณจิวมองว่า อย่างแรกที่ต้องทำอาจไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องการลงทุน แต่ต้องรู้ก่อนว่ารายรับรายจ่ายของเรามีสัดส่วนเท่าไหร่ 

เมื่อก่อนมันจะมีสูตรที่มักจะใช้กัน แบ่งเป็น 

  • 50% สำหรับเรื่องจำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าผ่อนที่พักต่างๆ 
  • 30% สำหรับเรื่องที่อาจจะใช้คำว่า ‘ดีต่อใจ’ พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ซื้อของที่อยากได้
  • 20% สำหรับเงินเก็บ

แต่ปัจจุบันเราไม่ต้องยึดสูตรนี้เป๊ะๆ ก็ได้ เพียงแค่ต้องรู้ว่าเราจะบริหารเงินยังไง ในแต่ละหนึ่งเดือนเหลือเงินสำหรับเก็บเท่าไหร่ และค่อยคิดต่อยอดว่าจะนำเงินที่มีเก็บตรงนั้นไปเพิ่มพูนได้อย่างไรบ้าง หรือเอาเงินไปวางตรงไหนถึงจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเรา

คุณจิวทิ้งท้ายไว้ว่า หลายคนอาจจะมองว่าเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต มันก็จริง… แต่เงินเป็นตัวกำหนดว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร การเงินกับชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน เงินจะเป็นตัวกำหนดว่ารูปแบบชีวิตของคุณจะเป็นแบบไหน มันไม่ใช่ว่าคุณมีเงินน้อยแล้วจะใช้ชีวิตต่อไปไม่ได้ คุณจะยังมีชีวิตต่อไป แต่มันจะเป็นชีวิตอีกแบบ ดังนั้นคุณอยากมีชีวิตแบบไหน ก็จงออกแบบการใช้เงินเสียตั้งแต่วันนี้

#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า