SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสาน 12 จังหวัด เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือ น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ช่วงวันที่ 17 – 20 ส.ค. นี้

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 12 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก นครนายก ตราด ระนอง พังงา และตรัง เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ในช่วงวันที่ 17 – 20 ส.ค. 62

โดยให้ศูนย์ ปภ.เขต ในพื้นที่ร่วมกับจังหวัดติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศและปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่า ในช่วง 1 – 2 วันที่ผ่านมา ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกต่อเนื่อง

ประกอบกับกรมทรัพยากรธรณี ประกาศให้เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ในช่วงวันที่ 17 – 20 สิงหาคม 2562 กอปภ.ก จึงได้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย 12 จังหวัด ดังนี้ แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ขุนยวม แม่สะเรียง แม่ลาน้อย ปาย สบเมย) เชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สรวย แม่ลาว เวียงป่าเป่า) พะเยา (อำเภอเชียงม่วน เชียงคำ ปง) แพร่ (อำเภอสอง ลอง วังชิ้น ร้องกวาง) น่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ เฉลิมพระเกียรติ เวียงสา เชียงกลาง ท่าวังผา นาน้อย นาหมื่น ปัว ทุ่งช้าง สันติสุข แม่จริม บ้านหลวง) อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก ท่าปลา น้ำปาด) ตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ) นครนายก (อำเภอเมืองนครนายก) ตราด (อำเภอบ่อไร่ คลองใหญ่) ระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์) พังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ตะกั่วป่า ท้ายเมือง) ตรัง (อำเภอนาโยง) ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่และเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน ทั้งมอนิเตอร์เตือนภัย อปพร. ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับการจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีสถานการณ์มีแนวโน้มวิกฤต ให้สั่งอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัยทันที ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ ประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทาง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า