Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ส.ส.ก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ แฉ ‘ประยุทธ์’ ในฐานะประธาน กพช. วางแผนพลังงานเกินความจำเป็น ออกใบอนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้า แถมผูกสัญญาประกันรายได้ แม้ไม่ผลิตไฟฟ้าเลยก็ได้ แบกรับ 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี เฉลี่ย 24 สตางค์ทุกหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ไป ซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชนใช้ไฟฟ้าแพงเกินจริง

นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) โดยนายวรภพกล่าวถึงการขึ้นค่าไฟฟ้าในห้วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ว่าประชาชนอาจจะต้องเตรียมตัวจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเป็น 5บาท/หน่วย โดยค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายแพงนั้น มันไม่ได้มีสาเหตุมาจาก ต้นทุนเชื้อเพลิงที่แพงขึ้นอย่างเดียว แต่มันมีสาเหตุมาจากการ บริหารราชการแผ่นดินที่ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนพลังงานของรัฐบาล

ส.ส. วรภพ สรุป 4 ขั้นตอน เริ่มจากขั้นแรก คือการประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไว้สูงเกินความเป็นจริง คือ ในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าหรือ PDP: Power Development Plan ขั้นตอนแรกของการทุจริตคอรัปชั้นเชิงนโยบายก็จะเกิดขึ้น เริ่มจากการที่ ประมาณการความต้องการไฟฟ้า ไว้สูงเกินความเป็นจริงตลอดมา

ขั้นที่ 2 คือตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกินไว้สูง เพื่อไปสู่ขั้นที่ 3 คือวางแผนให้มีโรงไฟฟ้าเพิ่มมากเกินความจำเป็น และ เหตุผลที่ต้องประมาณการความต้องการไฟฟ้าไว้สูง ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกินไว้สูง และ วางแผนเพิ่มโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็น ในแผน PDP ก็เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนที่ 4 คือรัฐบาล หรือ กพช. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะได้มีเหตุผลในการอนุมัติ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับเอกชน มากเกินความจำเป็นตามมา หรือมากเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นจริง โดยอ้างว่าเพื่อให้สอดคล้องกับแผน PDP ที่ทำไว้

และด้วยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA: Power Purchase Agreement ที่รัฐบาลประกันกำไรให้เอกชน ได้คืนทุนแถมกำไรที่ได้ลงทุนไป ตลอดระยะเวลาอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยที่ไม่สนว่าประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นหรือไม่ และต้นทุนของการมีโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นนี้ ก็จะถูกนำมาคิดในโครงสร้างราคาไฟฟ้าที่ให้ประชาชนเป็นคนรับภาระ เป็นคนจ่ายค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง จากขบวนการทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ

“ผลลัพธ์ความเสียหายของการทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายเป็นเท่าไหร่ ก็ต้องเริ่มจากว่าตอนนี้เรามีโรงไฟฟ้ามากเกินอยู่เท่าไหร่ ฟังแล้วอาจจะตกใจครับท่านประธาน วันนี้เรามีโรงไฟฟ้าเกินความต้องการสูงสุดไป 54% ผมจะอธิบายให้ท่านประธานเข้าใจและเห็นภาพง่ายๆ แบบนี้ครับ ผมเอา ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ คือช่วงหน้าร้อน มักจะเป็นเดือนที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงที่สุดในรอบปีอยู่แล้ว ซึ่งประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด หรือ ค่า peak ในเดือนเมษายน 2565 จะอยู่ที่ 33,177 MW เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 14.30 น.”

“เรามีกำลังการผลิตตามสัญญาในระบบไฟฟ้าทั้งหมด เดือนเมษายนอยู่ที่ 51,040 MW ซึ่งคำนวนง่ายๆ ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน หรือมีโรงไฟฟ้าเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด อยู่ถึง 54% หรือ 17,863 MW ซึ่งแน่นอนครับ ย้ำอีกทีว่ากำลังผลิตไฟฟ้าส่วนเกินนี้ ไม่ใช้ว่า โรงไฟฟ้าจอดเฉยๆและจบนะครับ เพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะต้องจ่ายค่าประกันกำไรให้โรงไฟฟ้าเอกชนตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตลอดทุกเดือน และค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะวนกลับมาเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าของประชาชนทั้งหมด” ส.ส.วรภพ กล่าว

นายวรภพ ยังดักทาง พล.อ.ประยุทธ์ ว่า ถ้าโพยมาให้ท่านนายกฯ อธิบายว่า การที่ประเทศไทยต้องมีกำลังการผลิตส่วนเกินสูงนั้น เพราะ เป็นความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อจะได้ไม่มีวันไหนที่ประเทศไทยไฟตกเลย ให้ท่านนายก เอาโพยคืนไปเลย เพราะมาตรฐานสากลทางพลังงานเค้ารู้ทั่วกันว่า มาตรฐานกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนเกิน อยู่กันที่เพียง 15% เท่านั้น พร้อมสรุปตัวเลข มูลค่าความเสียหายถึง 45,819 ล้านบาทต่อปี และถ้าเอามูลค่าความเสียหายนี้ หารด้วย จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี ก็จะได้ว่า ทุกๆ หน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายไป ประชาชนจ่ายค่าไฟแพงเกินความจำเป็นให้กับกลุ่มทุนพลังงานไปถึง 0.24 บาท/หน่วย

“ทีนี้ท่านประธานและพี่น้องประชาชนทุกท่านก็ลองคำนวนดูเลยครับ ว่าเดือนๆ นึง เราใช้ไฟฟ้าไปเท่าไหร่ เอามาคูณด้วย 24 สตางค์/หน่วย ก็จะได้เป็นค่าความเสียหาย ที่ประชาชนทุกคนถูกยักยอกเอาไป โดยรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ ความมั่งคั่งของกลุ่มทุน อย่างถูกกฎหมาย จากการทุจริต คอรัปชั่น เชิงนโยบายของรัฐบาล อย่างบ้านผมเนี่ย เดือนล่าสุดใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 732 หน่วย ก็เหมือน ผมเนี่ยถูกยักยอกเงินไป 175 บาท/เดือน ปีๆ นึง 2,100 บาท โดยไม่จำเป็น โดยรัฐบาลที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน” วรภพกล่าวทิ้งท้าย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า