SHARE

คัดลอกแล้ว

นโยบายเรื่องการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการทดลองการเรียนการสอนทางไกล ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน โดยผ่านการเรียนในระบบทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สำหรับชั้นอนุบาลถึงชั้น ม.3 และอีกช่องทางคือการเรียนแบบออนไลน์ในระดับชั้นชั้น ม.4-6  

การเรียนการสอนทางไกลเริ่มต้นเพียงวันแรก มีผลตอบรับมากมายหลายกระแส ส่งผลให้เกิดแฮชแท็กในทวิตเตอร์ #เรียนออนไลน์ ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง จนกระทั่งมาถึง #Saveครูวัง ที่มีการปกป้องครูผู้สอนทางไกลจากการถูกวิจารณ์

ประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์มีตั้งแต่เนื้อหา สื่อการเรียนการสอน จนถึงการสอนของครูต้นแบบ เช่น รายวิชาภาษาอังกฤษ ที่คุณครูออกเสียงภาษาอังกฤษผิดเพี้ยน ใช้คำศัพท์พื้นฐานและไวยากรณ์ไม่ถูกต้องในหลายวิชาทั้งคณิตศาสตร์ สุขศึกษา หรือแม้แต่ระดับปฐมวัยมีแบบฝึกหัดที่เฉลยผิด หรือไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง หรือแม้แต่การกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอีกด้วย  รวมไปถึงวิธีการสอนที่เน้นการจดจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์   

DLTV เผยความจริงเรื่องคุณภาพการศึกษาที่ถูกซ่อนอยู่มานาน

จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ ได้ฉายภาพที่ถูกซ่อนไว้มานานในระบบการศึกษาไทย  ความแม่นยำในเนื้อหา การมีนโมทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง การความเข้าใจธรรมชาติของวิชาหรือเรื่องที่สอน รวมไปถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้และหลักสูตรที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังสะท้อนด้วยว่า ที่ผ่านมาชั้นเรียนปกติจำนวนมาก ครูเป็นผู้กุมอำนาจ และสถาปนาความถูกต้องขึ้นในเสมอมา การจะตั้งคำถามถึงความถูกต้องและความแม่นยำในเนื้อหาการสอน รวมถึงวิธีการจัดการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีพื้นที่โอกาสโต้แย้ง แสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมพัฒนาการสอนของครู และในบางโรงเรียนขาดแคลนครู ทำให้ครูสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ นั่นยิ่งทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน 

“ไม่กล้าสอนออนไลน์ เพราะกลัวสอนผิด”

หลากหลายความเห็นบอกว่า ควรคัดเลือกครูที่สอนออกอากาศให้ดีขึ้น และควรจัดระบบการตรวจสอบการออกอากาศทั้งทางโทรทัศน์และออนไลน์ให้รัดกุมขึ้นกว่าเดิม นี่ยิ่งอาจทำให้ปัญหาที่ถูกซุกซ่อนไว้ยังคงอยู่  เคยมีครูบางท่านกล่าวว่า “ไม่กล้าสอนออนไลน์ เพราะกลัวสอนผิด” คำกล่าวเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมานักเรียนในชั้นเรียนปกติ กำลังได้เรียนอยู่กับความไม่แม่นยำในเนื้อหาของครูผู้สอนหรือไม่ ?

จากประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนปัญหาใดบ้าง เพราะหากจะกล่าวโทษคุณครูผู้สอนก็เป็นเพียงเรื่องปัจเจกบุคคล เนื่องจากยังมีครูในระบบอีกมากที่มียังปัญหาในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษา จึงต้องกลับมาทบทวนปัญหาเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการ

1. ปัญหาการผลิตครู ทั้งหลักสูตรการผลิตครู และสถาบันผลิตครู ทั้งมาตรฐานการคัดเลือกคนเข้ามาเรียนครู การจัดการเรียนการสอน  วิธีคิดการออกแบบการเรียนรู้  และการฝึกประสบการณ์  โดยมีโจทยสำคัญว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษาครูที่จบการศึกษาแล้ว ก้าวเข้าสู่โรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

2. ปัญหาระบบการบริหารและสนับสนุนครู เมื่อครูเข้ามาสู่ระบบในการปฏิบัติงานแล้ว มักมีอุปสรรคจากการถูกภาระงานนอกเหนือจากการสอนเบียดบัง อีกทั้งกระบวนการนิเทศ ติดตามและสนับสนุนการสอนให้กับครูยังไม่มีความเข้มแข็ง ไม่ได้เป็นตัวช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการสอนของครู แต่กลับเป็นเครื่องในการติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย ทำให้ครูมีลักษณะที่ยึด “ราชการ” เป็นฐานมากกว่าหลัก “วิชาการ” เฉกเช่น ความผิดพลาดจากครูสอนทางไกล ที่ต้องทำตามคำสั่งและทำให้ได้ตามที่กำหนด โดยขาดตัวช่วยในการนิเทศ แนะนำ ตรวจทานให้ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้รับผิดชอบอย่างที่ควรเป็น

ถึงเวลาที่สังคมต้องตั้งคำถามกับเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังถึงแนวทางการผลิตครูให้มีคุณภาพว่าควรไปในทิศทางใด มีระบบแบบใดที่จะช่วยสร้างความเชี่ยวชาญและความมั่นใจให้กับคุณครู และอย่างไรที่จะทำให้ให้ครูเปิดห้องเรียนและรับฟังการสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้ากับนักเรียนทุกคน

บทความโดย ธนวรรธน์ สุวรรณปาล และ อรรถพล ประภาสโนบล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า