SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งในวิกฤตเศรษฐกิจปีที่แล้วคงเป็นปรากฏการณ์ Great Resignation หรือการลาออกครั้งใหญ่ ที่ผู้คนทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาลาออกจากงาน จนเกิดการขาดแคลนแรงงานมหาศาล

เหตุผลในการลาออกครั้งใหญ่มีมากมาย แต่หนึ่งในนั้นกลับเป็นเหตุผลที่ว่า ลาออกไปทำสิ่งที่เรารัก วิ่งตามฝัน ทำตามแพสชั่นด้วย

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น TODAY Bizview ชวนไปหาคำตอบกัน

—————

ก่อนจะไปหาคำตอบ อาจจะต้องรู้จักทฤษฎีของคำกล่าวที่ว่า “ทำในสิ่งที่รัก” หรือ “Do what you love.” กันก่อน

ประโยคหนึ่งที่เรามักได้ยินเวลาพูดถึงอาชีพที่ควรทำคือ “ให้ทำในสิ่งที่เรารัก”

ไม่ว่าจะเป็นจากคนที่โตกว่า, หนังสือพัฒนาตัวเอง หรือแม้แต่ในหนังฮอลลีวูด ก็ต่างพยายามสอนและแนะนำให้ทำงานด้วยการเริ่มต้นไตร่ตรองจากสิ่งที่เรารัก

โดยให้เหตุผลว่าการทำในสิ่งที่ชอบจะทำให้เราอยู่กับมันได้ และได้ทำในสิ่งที่แสดงออกถึงตัวตนของเรา

นักวิจัยเรียกวิธีคิดเรื่องงานแบบนี้ (ที่ให้ทำในสิ่งที่รัก) ว่า ‘Passion Paradigm’ และผลการศึกษาก็ชี้ว่าแนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสังคมสมัยใหม่

แต่ถึงอย่างนั้น อันที่จริง Passion Paradigm เริ่มเป็นที่พูดถึงมานานแล้ว คือตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ 1960

ช่วงนั้น ประเด็นที่มีการตั้งคำถามในวงกว้างคือเรื่องบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรม จนนำมาสู่การพัฒนาวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทของการทำงานในชีวิตของผู้คน

กระทั่งนักจิตวิทยามนุษยนิยม ‘อับราฮัม มาสโลว์’ เริ่มเป็นหัวหอกในการพูดถึงเทรนด์ Passion Paradigm ซึ่งเขานำทฤษฎีของเขาเรื่อง ‘ลำดับขั้นของความต้องการ’ มาใช้กับเรื่องการทำงาน

โดยในหนังสือของมาสโลว์ที่ชื่อว่า Eupsychian Management ระบุว่า งานควรถือเป็นแหล่งสำคัญของการเติบโตของคน และเป็นที่สร้างการตระหนักรู้ในตนเอง

มาสโลว์ยังจินตนาการถึงโลกที่มีคนที่ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ ว่าเป็นโลกที่คนมีความพึงพอใจขั้นสุดจากชีวิตการทำงาน และเต็มไปด้วยผู้คนที่ถือว่างานเป็นกิจกรรมที่ล่วงเกินไม่ได้

แต่ถึงอย่างนั้น ในปี 2021 ข้อมูลจากหลายที่เห็นว่าทฤษฎีของมาสโลว์กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่อยๆ

————–

และเอาเข้าจริง Passion Paradigm ก็มีด้านที่ไม่ดี

เนื่องจาก Passion Paradigm เป็นที่นิยมในช่วงที่ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และเกิดการเสื่อมถอยของอำนาจสหภาพแรงงาน ทำให้แนวคิดนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย

Lindsay DePalma นักสังคมวิทยา บอกว่า Passion Paradigm นั้นหนุนให้คน romanticize งานของตัวเอง และมองไม่เห็นว่าอำนาจที่จะกำหนดชีวิตการทำงานของคนนั้นเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียม

Derek Thompson นักเขียนบท The Atlantic ยืนยันว่า Passion Paradigm นั้นจุดประกายให้เกิดศาสนาใหม่ที่เรียกว่า “workism” ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายและภาวะซึมเศร้า แม้จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงก็ตาม

นักวิจารณ์เหล่านี้กลัวว่า Passion Paradigm จะทำให้ผู้คนยอมรับสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม, การปฏิบัติแย่ๆ จากนายจ้าง ฯลฯ หรือเรียกง่ายๆ ว่าต้องทนกับสิ่งที่ไม่ควรได้รับ เพื่อให้ได้ทำงานที่ชอบ

ข้อเสียอีกด้านของการนำสิ่งที่ชอบมาเป็นงาน คือ ทำให้เราอาจจัดลำดับให้งานสำคัญเป็นอันดับแรก จนลืมนึกถึงด้านอื่นๆ ที่สำคัญต่อชีวิตไป เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง และงานอดิเรก

การทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ยังทำให้บางครั้งเราประเมินคุณค่าของงานสูงเกินไป จนอาจสร้างทัศนคติลบๆ ว่าคนที่ไม่สามารถทำงานนี้ได้เป็นคนเกียจคร้าน โง่เขลา หรือไม่คู่ควรที่จะไปยุ่งด้วย

แม้จะมีข้อเสียมากมาย แต่ Passion Paradigm อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการลาออกครั้งใหญ่ หรือ Great Resignation

———–

ถ้าย้อนไปในช่วงเดือน ส.ค. 2021 ชาวอเมริกันลาออกจากงาน 4.3 ล้านคนในเดือนเดียว เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

เทรนด์ที่คล้ายกันเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศ

อย่างในแคนาดาที่ถึงจะไม่ชัดเจนว่าการลาออกครั้งใหญ่เกิดขึ้นรุนแรงพอๆ กับในอเมริกาหรือไม่ แต่งานวิจัยบางชิ้นก็แสดงให้เห็นว่าชาวแคนาดากำลังคิดเรื่องลาออกหรือเปลี่ยนงานมากขึ้น

ซึ่งอันที่จริงก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการลาออกครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น

-อัตราเงินค่าจ้างในปัจจุบันที่ทำให้คนมีอิสระในการเลือกงานมากขึ้น

-ความเครียดจากงานเนื่องจากโรคระบาด

-การต้องอยู่กับบ้านและต้องดูแลลูกเล็ก

-อยากเปลี่ยนไปทำงานระยะไกลแทน

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือการเปลี่ยนไปทำสิ่งที่รักนั่นเอง

———-

เพราะโควิดไม่เพียงแต่เปลี่ยนกิจวัตรในชีวิตของเรา แต่สำหรับหลายคน การระบาดครั้งนี้ยังปลุกแรงปรารถนาในการทำในสิ่งที่ชอบขึ้นมาด้วย ทั้งที่บางครั้งความต้องการนี้ถูกเก็บไว้มานานแล้ว

การสำรวจพบว่าชาวแคนาดาหลายคนที่กำลังมองหางานใหม่ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “นี่คือสิ่งที่เรามีแพสชั่นกับมันจริงๆ หรือเปล่า” หรือ “เราต้องการที่จะตื่นมาแล้วใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตไปกับสิ่งนี้จริงหรือไม่” หรือ “งานที่ทำนั้นทำให้เรามีความหมายไหม”

การลาออกครั้งใหญ่ในแคนาดาไม่ได้เกิดขึ้นในแค่ในงานออฟฟิศเท่านั้น แต่ลามไปถึงอุตสาหกรรมที่พักและบริการอาหารด้วย แถมยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลาออกมากที่สุด

บทความใน The Atlantic บอกว่า การลาออกครั้งนี้ หากมองในแง่ดีมันก็เป็นการแสดงออกว่าผู้คนกำลังคิดว่า “พวกเขาทำได้ดีกว่านี้”

เพราะในด้านหนึ่ง Passion Paradigm ทำให้คนรู้สึกว่าพวกเขาต้องการงานที่ดีขึ้น, เป็นงานที่ชอบมากกว่าเดิม และมีความหมายมากขึ้น

บนความคาดหวังที่มากขึ้นว่าไม่ต้องการทนต่อสภาพเดิมๆ ที่เป็นอยู่อีกต่อไป

——————

ฟังดูแล้วเหมือนกับว่าที่ผ่านมา คนทำงานจำนวนมากนั้นถูกกดทับทางความรู้สึก ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลไม่สามารถระหว่างลูกจ้างและนายจ้างได้

เพราะตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 แรงงานเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองน้อยลง ดังนั้น แม้ว่าเทรนด์ Passion Paradigm จะเติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ก็เติบโตในสภาพเศรษฐกิจที่นายจ้างเป็นคนกำหนด ไม่ใช่ลูกจ้าง

แต่หลังจากโควิดระบาด เรื่องนี้ก็เริ่มเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เมื่อนายจ้างต้องเจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้นายจ้างจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับค่าจ้าง ความยืดหยุ่นในการทำงาน ความอิสระ และการจัดตารางเวลางานของพนักงานอย่างจริงจัง

และการบริหารคนแบบปกติที่เคยใช้ ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า แม้ Passion Paradigm จะกระตุ้นให้คนอยากทำงานที่ดีขึ้นและมีความหมายมากขึ้น แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีมาตรการช่วยเหลือทางสังคม (social safety net) ที่แข็งแรงพอเท่านั้น

ท้ายที่สุดสำหรับใครที่กำลังลังเลว่าจะลาออกไปทำสิ่งที่รักอีกคนด้วยหรือไม่ ก็อาจลองทบทวนดูว่าในงานกำลังอยู่ตอนนี้ เรารักมันหรือเปล่า หรืองานนี้พอจะเป็นงานที่น่ารักอยู่ไหม และเรามีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) จริงๆ หรือยังที่จะไปทำสิ่งที่เรารัก

อ้างอิง : https://www.weforum.org/agenda/2022/01/love-passion-paradigm-great-resignation-work-mental-careers

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า