SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์สภากาชาดไทย​ เตือนอย่าส่งต่อข้อมูล​ กินพืชpH สูงเพิ่มความด่างในเลือดเอาชนะไวรัสโควิด-19​ ไม่เป็นความจริง​ หากกินมากไปกระทบสุขภาพ​

จากกรณีข้อมูลที่มีการส่งต่อในโลกออนไลน์​ ระบุค่า pH คือความเป็นด่างที่มีอยู่ในกระแสเลือดมีส่วนควบคุมความสมดุลในร่างกาย โดยค่า pH ของไวรัสโควิด-19 มีตั้งแต่ 5.5 ถึง 8.5 สิ่งที่เราต้องทำเพื่อเอาชนะไวรัสโควิด-19 คือต้องกินอาหารที่เป็นด่าง​ และในอาหารจะต้องมีค่า pH มากกว่าค่า pH ในไวรัส โดยส่วนประกอบของพืชที่มีค่า pH สูงกว่าโคโรนาไวรัสที่น่าสนใจ​ เช่น​มะนาว 9.9 pH อะโวคาโด 15.6 pH กระเทียม 13.2 pH มะม่วง 8.7​ pH ส้ม 9.2 pH เป็นต้น

ล่าสุดวันนี้​ (7​ เม.ย.​ 63) ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือ และไม่ตรงกับหลักการทางการแพทย์ และหากประชาชนหลงเชื่อและกินพืชที่มีค่า pH สูงดังกล่าวมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยร่างกายมนุษย์มีค่า pH อยู่ที่ 7 หากบวกลบไปเพียงแค่ 1 ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ทั้งนี้กลไกของร่างกายมีการปรับค่า pH ในเลือดด้วยการปัสสาวะและการหายใจเข้าออกอยู่แล้ว จึงไม่ควรกินพืชเพื่อเพิ่มค่า pH ในเลือดให้สูงขึ้น ตามที่ข้อมูลกล่าวอ้างว่าช่วยเอาชนะไวรัส ซึ่งโดยหลักการแล้ว ความเป็นด่างในกระแสเลือดก็ไม่มี กลไกในการเอาชนะไวรัสได้

ด้าน​ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ​ หมอแล็บแพนด้า​ นักเทคนิคการแพทย์ประจำการอยู่ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า​ เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยหากสังเกตข้อมูลที่ถูกแชร์ระบุว่ามะนาวมีค่า pH อยู่ที่ 9.9 ซึ่งความเป็นจริงแล้วมะนาวมีค่า pH  อยู่เพียงแค่ 2 เท่านั้น ส่วนส้ม ที่ในข้อมูลระบุว่ามีค่า pH 9.2 แต่ความเป็นจริงส้มมีค่า pH อยู่ที่ 3.5 ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ผิดไปจากความจริงโดยสิ้นเชิง​ ขณะที่ค่า pH ของไวรัสโคโรนา  ที่ระบุว่า อยู่ตั้งแต่ 5.5 ถึง 8.5 นั้น ยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์​ยืนยันข้อมูลดังกล่าว

สิ่งที่จะฆ่าไวรัสได้ดีที่สุดคือ​ ภูมิต้านทานของ ร่างกายที่ดี​ ซึ่งการเสริมสร้างภูมิร้านร่างกายก็คือการกินอาหารที่หลากหลายให้ครบตามหลักโภชนาการ​ และการออกกำลังกาย​ ตัวนี้จะช่วยกำจัดไวรัสได้ ส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 มักเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว​ อย่างเช่นหัวใจและหลอดเลือด​ ความดัน​ เบาหวาน​ หรือมะเร็ง​ เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากให้มีการหลงเชื่อและแชร์ข้อมูลผิดออกไปเพราะจะทำให้เสียโอกาสในการรักษา​ หากปล่อยทิ้งไว้นานอาการของโรคอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

หมอแล็บ​ กล่าวอีกว่า​ เท่าที่สังเกตในช่วงที่เกิดไวรัสโควิด-19 ระบาดมีการส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเฟกนิวส์มาอย่างต่อเนื่อง​ ซึ่งจะพบว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมีลักษณะ​ นำเอาข้อมูลส่วนที่ถูกต้องมาผสมปนเปให้เกิดความน่าเชื่อถือ ก่อนหน้านั้นก็มีการระบุให้กินกระเทียม ต่อมาก็เป็นน้ำขิงล่าสุดก็เป็นน้ำมะนาว​ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา คนที่ตั้งใจปล่อยเฟซนิวทำให้เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายใกล้ตัวอยู่ในครัว จึงทำให้มีการแชร์ออกไปเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้นหากจะมีการแชร์ข้อมูลใดๆอยากให้ตรวจสอบก่อนที่จะแชร์ออกไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า