Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความหวังเดียวที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน คือการบริจาคสเต็มเซลล์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค

“การบริจาคเลือด” หรือ “การบริจาคโลหิต” เป็นคำที่เราต่างได้ยินกันจนคุ้นชิน แต่ “การบริจาคสเต็มเซลล์” เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยินแล้ว แต่พอรู้ความหมายเพียงแค่ว่า “สเต็มเซลล์” (Stem Cell) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนของเลือดที่อาศัยในไขกระดูก และจะเจริญเติบโตไปเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ในร่างกาย ก็กลัวกันแล้ว ไหนจะ “เขา” ว่ากันว่ายุ่งยาก น่ากลัว จากที่กลัวอยู่แล้ว ก็เลยพลอยไม่กล้าบริจาคตาม “เขา” ไปด้วย ซึ่ง “เขา” ไหนว่ามา ก็ไม่มีใครรู้

ทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว “การบริจาคสเต็มเซลล์” ไม่น่ากลัว และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคเลย ทั้งยังได้ทำบุญครั้งใหญ่ เสมือนต่อชีวิตให้ผู้ป่วยได้เกิดใหม่ เนื่องจากการบริจาคสเต็มเซลล์เป็นความหวังเดียว ที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ซึ่งโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ, โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน / เรื้อรัง, โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ปัจจุบันสเต็มเซลล์ขาดแคลนมาก นอกจากไม่ค่อยมีผู้บริจาคแล้ว สเต็มเซลล์ที่มีผู้บริจาคมา ก็ต้องเข้ากันได้กับสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยด้วย ดุจการตามหา “คู่แท้” ก็ไม่ปาน

ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยที่รอคอยอยู่ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของคุณก่อน ได้แก่

  1. ต้องมีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ – 50 ปี
  2. เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว ก็เดินทางไปบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยเริ่มจากการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ หลังจากผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนบริจาคโลหิต, ตรวจความเข้มข้นโลหิต, ตรวจวัดความดันโลหิตแล้ว ให้ติดต่อเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ก่อนไปบริจาคโลหิต ชั้น 2

จากนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะทำการเก็บตัวอย่างโลหิตของคุณประมาณ 5 ml. พร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อนำไปตรวจลักษณะเนื้อเยื่อ (HLA or Tissue typing) และเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ก่อน หากผู้บริจาคมีลักษณะเนื้อเยื่อ HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วยแล้ว ศูนย์บริการโลหิตฯ จะเชิญอาสาสมัครมาบริจาคสเต็มเซลล์ในภายหลัง

สำหรับ วิธีบริจาคสเต็มเซลล์ นั้นมี 2 วิธี ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมวิธีการบริจาคสเต็มเซลล์ทางหลอดเลือดดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation) เพราะง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริจาค โดยผู้บริจาคสามารถเลือกวิธีบริจาคได้ หรืออาจจะได้รับการร้องขอจากแพทย์ให้บริจาคด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (ก่อนการบริจาคต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้บริจาค) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. การบริจาคสเต็มเซลล์ทางหลอดเลือดดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation)

โดยปกติในกระแสเลือดจะมีสเต็มเซลล์อยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G-CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้สเต็มเซลล์ ออกจากไขกระดูก (Bone Marrow) มากระจายในกระแสเลือดให้มากพอ จึงจะเข้ากระบวนการเก็บสเต็มเซลล์ ซึ่งคล้ายกับวิธีการเก็บเกล็ดเลือด หรือน้ำเหลือง (Plasma) โดยนำเลือดผ่านเข็มที่แทงอยู่ในเส้นเลือดดำ (Vein) เข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉพาะสเต็มเซลล์ ทั้งนี้ จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วยด้วย

  1. การบริจาคไขกระดูก (Bone Marrow Donation)

เป็นกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์จากโพรงไขกระดูก โดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ซึ่งดำเนินการเก็บในห้องผ่าตัด กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึงกระบวนการเจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้หลังจากที่ได้เจาะเก็บไขกระดูกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ร่างกายสามารถสร้างสเต็มเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และหลังทำแผลแล้วผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5-7 วัน

ในวันที่คุณยังมีโอกาสให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้ อย่าลืมให้ ใครจะรู้ วันหนึ่งคุณอาจเป็นผู้รอคอยรับการบริจาคเช่นกัน

ผู้สนใจบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถไปบริจาคได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. วันเสาร์, อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4300 หรือ 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1771 และ 1777 หรือ e-mail: [email protected] เว็บไซต์: www.stemcellthairedcross.com

(ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สภากาชาดไทย)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า