Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีล่อซื้อกระทงละเมิดลิขสิทธิ์ สู่ข้อถกเถียงเรื่องลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนในประเทศไทย โดยประเด็นร้อนล่าสุด คือ กรณีถกเถียงที่ว่า “โดราเอมอน” ยังมีลิขสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่ แล้วถ้าคนทั่วไปนำไปผลิตสินค้าขายจะถูกจับหรือเปล่า

เพื่อไขข้อสงสัยทั้งหมด ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด Workpoint News จึงเรียบเรียงข้อเท็จจริงมาให้อ่านกันใน 12 ข้อ

(1) โดราเอมอน (Doraemon) หรือ เจ้าแมวหุ่นยนต์สีฟ้าที่มีของวิเศษมากมายอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟุจิโอะ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น

(2) เรื่องราวของโดราเอมอนและเพื่อนๆ ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 ในรูปแบบหนังสือการ์ตูน

(3) ปัจจุบัน บริษัท ฟูจิโกะ-เอฟ-ฟูจิโอะ โปร จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งทางบริษัทได้จดทะเบียน “เครื่องหมายการค้า” ตัวการ์ตูนโดราเอมอน และตัวอักษรคำว่า “Doraemon” กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยด้วย

(4) ส่วนบริษัทในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ดูแลลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอน คือ บริษัท แอนนิเมชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ เอไอ ไทยแลนด์

(5) แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน หลังเกิดเหตุล่อซื้อกระทงละเมิดลิขสิทธิ์จากเด็กหญิงวัย 15 ปี ก็มีทนายความท่านหนึ่งนำคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2551 มาเผยแพร่ พร้อมกับระบุว่า

“คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 นี้ ได้วินิจฉัยเรื่องลิขสิทธิ์ของการ์ตูนโดราเอมอนไว้อย่างดีมากๆ เลยครับ ตัวการ์ตูนโดราเอมอนได้มีการโฆษณาครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น”

“แต่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปี นับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก งานดังกล่าวจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธ.ค. 2537 เท่านั้น … จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป”

“ใครที่ถูกลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ในตัวการ์ตูนโดราเอมอน ก็ขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว”

(6) โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง พ่อค้าแม่ค้าหลายคนที่เคยถูกจับฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอนเมื่อไม่นานมานี้ จึงออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ตนเองถูกหลอกกรรโชกทรัพย์หรือไม่

(7) ด้านบริษัท แอนนิเมชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตัวแทนลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอนในประเทศไทย ออกมาชี้แจงในเวลาต่อมา โดยยกคำพิพากษาศาลฎีกาอีกหนึ่งฉบับมาโต้แย้ง นั่นคือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2553

ระบุว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภท “ศิลปกรรม” ไม่ใช่ “งานศิลปประยุกต์” จึงมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์นาน 50 ปี นับตั้งแต่เผยแพร่ครั้งแรก ไม่ใช่แค่ 25 ปี

(8) ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่า สรุปแล้วตัวการ์ตูนโดราเอมอนมีลิขสิทธิ์คุ้มครองนาน 25 ปี หรือ 50 ปีกันแน่ แล้วทำไมคำพิพากษา 2 ฉบับ จึงไม่เหมือนกัน

ข่าวเวิร์คพอยท์ สอบถามประเด็นทางกฎหมายจากทนายความ เจ้าของเพจ นักกฎหมายสายบันเทิง ได้รับการอธิบายว่า

1. โดยทั่วไป ตัวการ์ตูนที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา เช่น โดราเอมอน ถือเป็นงาน “ศิลปกรรม” มีลิขสิทธิ์คุ้มครองตลอดอายุขัยของผู้สร้างสรรค์ และนับต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

2. กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นนิติบุคคล หรือ “บริษัท” ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่วันที่งานชิ้นนั้นถูกเผยแพร่ครั้งแรก

3. ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2551 นั้น เนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำภาพการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ … จึงเข้าลักษณะเป็น “งานศิลปประยุกต์”

ซึ่งตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ “งานศิลปประยุกต์” มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพียงแค่ 25 ปี นับตั้งแต่วันที่เผยแพร่ครั้งแรก

ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาตามคำฟ้อง และเห็นว่าตัวการ์ตูนโดราเอมอนเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 แต่เหตุละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2549 เกินระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปี ของ “งานศิลปประยุกต์” แล้ว ในกรณีนี้ศาลจึงตัดสินว่า “ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง”

(9) อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์ยื่นฟ้องละเมิดใน “งานศิลปกรรม” ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ซึ่งเป็นงานต้นฉบับ ผู้ที่นำภาพโดราเอมอนมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิด และถูกฟ้องได้ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง เพราะอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของ “งานศิลปกรรม” 50 ปี ยังไม่หมดลง

(10) ตัวการ์ตูนโดราเอมอนเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2512 หมายความว่าสิ้นเดือน พ.ย. 2562 นี้ อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของโดราเอมอน จะครบ 50 ปีพอดี เมื่อเป็นแบบนี้ หลังจากวันที่ 1 ธ.ค. 2562 คนทั่วไปจะสามารถใช้ตัวการ์ตูนโดราเอมอนไปผลิตสินค้าต่างๆ วางขายได้แล้วใช่หรือไม่

(11) คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะอย่างที่เล่าไปแล้ว ทางบริษัทเจ้าลิขสิทธิ์ได้จดทะเบียน “เครื่องหมายการค้า” ตัวการ์ตูนโดราเอมอนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้ด้วย ซึ่งเครื่องหมายการค้าจะมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี และต่ออายุได้เรื่อยๆ

ดังนั้น หลังจากวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ถ้าใครนำภาพโดราเอมอนไปใช้ผลิตสินค้าก็อาจจะมีความผิดฐานละเมิดเครื่องหมายการค้าแทน ทั้งนี้ การปลอมเครื่องหมายการค้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(12) ทนายความ จากเพจ นักกฎหมายสายบันเทิง ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจปิดท้ายว่า ความผิดอาญาฐานละเมิด “เครื่องหมายการค้า” เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ หลังจากที่ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอมอนสิ้นสุดลง ผู้รับมอบอำนาจจากตัวแทนจะไม่สามารถใช้วิธีการเจรจา และให้ผู้ละเมิด “เครื่องหมายการค้า” จ่ายเงินเพื่อยอมความได้อีก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า