SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันผลตรวจชาวยะลา 40 คนของห้องแล็บ จ.ยะลา ในครั้งแรกคลาดเคลื่อน หลังตรวจครั้งที่ 3 ยืนยันผลเป็นลบ ส่งทีมลงพื้นที่ไม่พบข้อผิดพลาดสำคัญ เร่งช่วยลดภาระงานจากการต้องตรวจแล็บมาก 

วันที่ 6 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยรายละเอียดกรณีผลตรวจชาวยะลา 40 คน ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จ.ยะลา สืบเนื่องจากการพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะควบคุมโรคได้ คือการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน ด้วยการเก็บตัวอย่างต่างๆ ทางระบบทางเดินหายใจ (คอ,จมูก) มาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา

นพ.โอภาส อธิบายว่า วิธีตรวจในแล็บนั้นจะมีตัวควบคุมหรือตัวเปรียบเทียบ หรือ control ประกอบด้วย positive control และ negative control ตัวเปรียบเทียบ positive control ซึ่งเราจะใส่เชื้อโควิดเข้าไป เวลาทดสอบแต่ละครั้งตัวนี้จะต้องเป็นบวกเสมอ ถ้าเมื่อไหร่ positive control กลายเป็นลบ ก็แปลว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น จะต้องหยุดตรวจ

เช่นเดียวกันอีกด้านหนึ่ง negative control หรือตัวควบคุมตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบ ซึ่งปกติเราจะใช้น้ำเปล่า แน่นอนว่าน้ำเปล่าต้องไม่มีเชื้อโรคอยู่ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ negative control กลับกลายเป็นบวก ก็แปลว่าการตรวจครั้งนั้นมีความคลาดเคลื่อน ไม่น่าเชื่อถือ ทางห้องปฏิบัติการจะรายงานไปยังแพทย์ผู้สั่งตรวจ หรือผู้บังคับบัญชาให้ทราบและจะหยุดตรวจเพื่อหาสาเหตุต่อไป

“ในครั้งนี้ที่ห้องปฏิบัติการจังหวัดยะลา ก็ตรวจพบว่า negative control กลายเป็นบวก เพราะฉะนั้นตามมาตรฐานการดำเนินงาน เขาก็จะหยุดตรวจ แล้วรายงานไปยังแพทย์ผู้สั่งตรวจ และทางผู้บังคับบัญชาให้ทราบแล้วหาสาเหตุ รวมถึงการนำตัวอย่างนั้นๆ มาตรวจทดสอบอีกครั้งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สงขลา จำนวน 40 รายที่เป็นบวก ก็พบว่า การตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สงขลา เป็นลบ จากนั้นเพื่อให้เกิดความแน่ชัด ก็ได้มีการส่งตัวอย่างนั้นมาตรวจที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ส่วนกลางอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ดำเนินการตรวจไปเมื่อคืนจนถึงเช้า ก็พบว่า ผลการตรวจทั้ง 40 คน ได้ผลเป็นลบเช่นเดียวกับที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สงขลา เพราะฉะนั้นจะสรุปว่า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทางแล็บ จังหวัดยะลา พบว่า negative control กลายเป็นบวก มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ผลสุดท้ายทางห้องปฏิบัติการก็เกิดผลลบขึ้นมา”

(นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปทางห้องปฏิบัติการจะรายงานผล ไปยังผู้ที่ส่งตัวอย่างตรวจ คือทีมระบาดวิทยา และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวะยะลาให้ได้รับทราบผล อย่างไรก็ตาม การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นเครื่องมือหนึ่งของแพทย์ที่ใช้สำหรับวินิจฉัยโรค ซึ่งต้องประกอบด้วยการซักประวัติการตรวจร่างกาย การสอบสวนโรคต้องมีข้อมูลทางระบาดวิทยาประกอบด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเราส่งข้อมูลไป ทางแพทย์ที่ดูแลทั้ง 40 คน จะนำข้อมูลไปประมวลอีกครั้ง ว่าคนไข้เป็นอย่างไร เพื่อจะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ต่อไป

นพ.โอกาส กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ตัวควบคุมลบกลายเป็นบวก ก็จำเป็นต้องหาสาเหตุ เมื่อวานได้ส่งทีมทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสงขลานครินทร์ ลงไปที่ห้องปฏิบัติการจ.ยะลา ได้ตรวจสอบ ซักถามสาเหตุ และดูสถานที่ปฏิบัติงานจริง

“สิ่งที่ค้นพบคือ ไม่ได้พบมีความผิดปกติที่เรียกว่า major error ไม่พบนะครับ แต่ก็พบว่ามีบางสิ่งที่สามารถพัฒนาปรับปรุงได้”

ทั้งนี้ จ.ยะลาเป็นจังหวัดแรกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถตั้งห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อโควิด-19 ได้ ซึ่งที่ผ่านมาตรวจไปแล้วกว่า 4,000 ตัวอย่าง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคได้ระดับหนึ่ง เพราะอย่างที่ทราบว่ามีผู้ป่วยจากมาเลเซีย ที่ติดเชื้อเข้ามา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมาก แล็บเป็นกำลังสำคัญที่สามารถทำให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยได้

แต่สิ่งสำคัญคือ ภาระงานค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะงานตรวจเชิงรุกในชุมชน (Active Case Finding) บางวันต้องตรวจอย่างทางห้องปฏิบัติถึง 700-800 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งที่ต้องปรับปรุง โดยในการจัดการต่อไป ถ้าการตรวจมากเกินไป อาจต้องส่งบางตัวอย่างให้แล็บอื่น และเพิ่มเครื่องมือที่รับภาระเยอะเพื่อให้เกิดความแม่นยำ ตรวจสอบได้มากขึ้น

นอกจากนี้ โดยตนได้เรียนผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ยะลาให้ทราบแล้ว เพื่อจะดูสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อปรับปรุง และเมื่อเปิดห้องแล็บอีกครั้ง ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.สงขลา จะตรวจตัวอย่างควบคู่กันไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการมั่นใจ คาดจะใช้เวลาไม่นานจะสามารถเปิดห้องปฏิบัติการได้ต่อไป

“เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าทางโรงพยาบาลยะลา เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐาน สามารถค้นหาสาเหตุของการเกิดความบกพร่อง และมีมาตรการการจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้”

“ขอย้ำอีกครั้ง เหตุการณ์การตรวจที่มีความคลาดเคลื่อนนี้เกิดได้เสมอในห้องปฏิบัติการทุกแห่ง รวมทั้งระบบต่างๆ เพราะฉะนั้นวิธีการคือเราต้องหาสาเหตุให้พบและหาวิธีป้องกัน  ที่ผ่านมาการตรวจเชื้อโควิด-19 (ทั่วประเทศ) เราตรวจไป 220,000 กว่าครั้งก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การวินิจฉัยผู้ป่วยรักษาจนหาย ซึ่งประเทศไทยมีอัตราการรักษาผู้ป่วยหายติดอันดับต้นๆ ของโลก และเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี เพราะฉะนั้นแล็บจะเป็นกำลังสำคัญอันหนึ่งในการควบคุมโรคได้ก็ขอให้พี่น้องประชาชนเกิดความมั่นใจนะครับว่าระบบมาตรฐานเรามีการตรวจสอบ ตรวจเช็ก มีการปรับปรุงให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้นต่อไป”

ส่วนคำถามที่ว่า ผู้ที่ตรวจพร้อมกับชาวยะลา 40 คน ที่ได้ผลเป็นลบในครั้งแรกจะต้องตรวจใหม่อีกหรือไม่ นพ.โอกาส กล่าวโดยสรุปว่า ในพื้นที่จะดูเป็นรายๆ ไป เนื่องจากผ่านมา 4 วันแล้ว หากป่วยก็จะแสดงอาการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า