SHARE

คัดลอกแล้ว

รายงานสถานการณ์น้ำเขื่อนพบ 14 เขื่อนใหญ่น้ำน้อยกว่า 30% ขณะที่แม่น้ำสายหลักปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะแม่น้ำโขงระดับน้ำต่ำสุดในรอบ 28 ปี ส่งผลกระทบทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

วันที่ 7 ม.ค.2563 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระบุว่า ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,501 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 60) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,484 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 43) เฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง (แม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล) แหล่งน้ำขนาดกลาง 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่ง ที่มีระบบติดตามได้เฝ้าระวังน้ำน้อย 93 แห่ง

สำหรับสถานการณ์แม่น้ำสายหลัก ต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักทุกภาคปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ แม่น้ำโขง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ต่ำกว่าระดับน้ำต่ำสุดในปี 2535 และต่ำกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ระดับน้ำแม่น้ำโขง จ.เชียงราย และจ.มุกดาหาร มีแนวโน้มลดลง ส่วน จ.เลย จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มทรงตัว

คุณภาพน้ำ ค่าความเค็ม ด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์ปกติ บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึง อ.เมือง จ.ปทุมธานี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ด้านการเกษตร แม่น้ำแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนแม่น้ำอื่น ๆ ส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี

ทั้งนี้ สทนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. ให้ทุกหน่วยงาน ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำเค็มอย่างใกล้ชิด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน และการประปานครหลวง ให้เร่งปรับแผนและผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองโดยขอความร่วมมือกับกรุงเทพฯ ในการวางกระสอบทรายในพื้นที่จากคลองประปาออกคลองบางกอกน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงน้ำลงคลองบางกอกน้อย
2. ให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมควบคุมมลพิษ และการประปานครหลวง ตรวจสอบข้อมูลความเค็มและคุณภาพน้ำ พร้อมทั้งแจ้งให้ สทนช.ทราบ
3. ให้กรมชลประทานควบคุมความเค็มที่อาจส่งผลกระทบกับพืชผลทางเศรษฐกิจ เช่น สวนทุเรียน สวนกล้วยไม้ ฯลฯ ไม่ให้เกิดความเสียหาย พร้อมแผนการให้ความช่วยเหลือ
4. กรมทรัพยากรน้ำติดตามข้อมูลระดับน้ำ และตรวจวัดคุณภาพน้ำแม่น้ำโขง รวมทั้งรายงานให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้รับทราบทุกสัปดาห์

.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า