SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ภัยแล้งทวีความรุนแรง ปริมาณน้ำใช้การได้ทั่วประเทศเหลือเพียงร้อยละ 42 ภาคกลางแล้งสุดเหลือน้ำเพียงร้อยละ 25  หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว เร่งดำเนินการตามแผนเพื่อช่วยผ่อนคลายวิกฤตภัยแล้ง

วันที่ 17 ม.ค.2563 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำมีน้ำรวมทั้งสิ้น 48,334 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 59) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การ 19,693 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 42) ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล แหล่งน้ำขนาดกลาง จำนวน 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่ง ที่มีระบบติดตามได้ เฝ้าระวังน้ำน้อย 104 แห่ง

ส่วนสถานการณ์แม่น้ำสายหลัก ภาพรวมระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
– แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักทุกภาค ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤติ ยกเว้น ภาคกลาง และภาคใต้ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปกติ
– แม่น้ำโขง ทุกสถานีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤติ ยกเว้น จ.เลย อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยระดับน้ำต่ำกว่าระดับน้ำต่ำสุดในปี 2535 และต่ำกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แนวโน้มระดับน้ำแม่น้ำโขง จ.เชียงราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จ.เลย จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ.มุกดาหาร มีแนวโน้มทรงตัว ส่วน จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง

คุณภาพน้ำ
– ค่าความเค็ม ด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์ปกติ บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึง อ.เมือง จ.นนทบุรี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ด้านการเกษตร แม่น้ำแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
– ค่าออกซิเจนละลายน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึง แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนแม่น้ำอื่น ๆ ส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี

ขณะที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีจังหวัดประกาศเขตฯ ภัยแล้ง 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี สุโขทัย พะเยา และสกลนคร รวม 98 อำเภอ 541 ตำบล 4,600 หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่ง ปภ.ได้จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ รวมถึงขอความร่วมมือประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ

ด้านศาสตราจารย์ ดร. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแนวทางการประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและการให้ความช่วยเหลือประชาชนในช่วงฤดูแล้ง ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติร่วมกับ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยมี ผศ. ดร. รัชดา ธนาดิเรก และ นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สทนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ เพื่อกำหนดทิศทางการประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและการให้ความช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยแนวทางการประชาสัมพันธ์จะเป็นการบูรณาการทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ร่วมกับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำ การดำเนินงานภาครัฐ รวมถึงการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้เป็นไปอย่างรอบด้านและทันต่อสถานการณ์ ครอบคลุมทั้งการประชาสัมพันธ์เชิงรุก-เชิงรับ ซึ่งจะมีการแถลงข่าวเป็นประจำทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี โดยจะมีรองเลขาธิการ สทนช. (นายสำเริง แสงภู่วงค์) เป็นผู้แถลงหลัก

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว เร่งดำเนินการตามแผนเพื่อช่วยผ่อนคลายวิกฤตภัยแล้ง และปัญหาฝุ่นควันอย่างไม่ย่อท้อ โดยยังคงมุ่งเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่ที่ต้องการน้ำ เติมน้ำเข้าเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ปัจจุบันได้เติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 14 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางถึง 100 แห่ง ขณะเดียวกันฝนหลวงยังช่วยบรรเทาปัญหาคุณภาพอากาศในหลายพื้นที่ทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า