SHARE

คัดลอกแล้ว

https://youtu.be/9LDqDzx9pGc

 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ฝนตกน้อย ทิ้งช่วงนาน เสี่ยงแล้งหนัก โดยเฉพาะในช่วงเดือน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม ที่เป็นช่วงที่ฝนจะตกน้อยที่สุดอยู่แล้ว

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายปฏิบัติการ เปิดเผยว่า ช่วงตั้งแต่เดือนมกราคาคมถึงปัจจุบัน ปริมาณน้ำฝนที่ตกโดยเฉลี่ย ถือว่าต่ำกว่าค่าปกติ ในรอบ 10 ปี และที่น่ากังวลคือเวลาที่ฝนตกจะไปตกบริเวณขอบๆ ของประเทศ ส่งผลในพื้นที่ส่วนกลาง แห้งแล้ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ตัวการที่ทำให้ฝนตก ที่มีผลกระทบเห็นชัดเจน มันไม่ค่อยจะมี ตัวที่นอกเหนือจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมในช่วงของฤดูฝนมันเป็นแค่ตัวแปรเดียว ตัวพายุหมุนเขตร้อนจากที่ผ่านมาตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงกรกฎาคม มันจะมีพายุหมุนเขตร้อนที่เข้ามา เคลื่อนเข้ามาใกล้ประเทศไทยก็คือพายุมูนตัวเดียว ในช่วงนั้นคือช่วงของเดือนกรกฎาคม ก็หลายๆ พื้นที่มีฝนตกลงมา แต่หลายๆ พื้นที่ก็ไม่ใช่ว่ามีฝนตกทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ”  นางสาวกรรวี  กล่าว

ขณะที่ ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ระบุว่า แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีพายุมูน (Mun) พัดเข้ามาใกล้ประเทศไทย ที่ทำให้ฝนตก แต่ก็ไม่ได้ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากนัก เพราะฝนตกที่ขอบประเทศ แต่เขื่อนส่วนใหญ่อยู่ที่กลางประเทศ ส่งผลให้ในเขตชลประทานที่มีร้อยละ 23 ของประเทศ ได้รับผลกระทบ แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือพื้นที่นอกชลประทาน ที่ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ พืชโดยทั่วไปขาดน้ำ 10 – 15 วัน ก็จะเริ่มตาย ดังนั้นจึงแนะนำเกษตรกรว่า ควรเลื่อนการเพาะปลูกพืชเพื่อรอฝนที่คาดว่าจะเริ่มตกเยอะขึ้น ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน โดยต้องติดตามรายงานสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

“เลื่อนการปลูกข้าวนาปีให้สอดคล้องกับสภาพของฝน ให้รอไปก่อน คาดการณ์ว่าฝนจะเพิ่มในเดือนสิงหาคม และเดือนสิงหาคมจะเพิ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนแหล่งเก็บกักน้ำต้องดูแลวัชพืชที่กั้นทางน้ำเข้า เพราะว่าเจ้าของสระ บึง จะดูเฉพาะพื้นที่แต่ไม่ได้เดินสำรวจไปขึ้นไปตามคลอง หรือว่าลำธารที่นำน้ำไหลมาเข้าสระนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือไม่”  ดร.สุทัศน์ กล่าว

โดยช่วงเดือนกันยายน คาดว่าจะมีพายุ 1 ลูกพัดเข้ามา ซึ่งอาจจะช่วยให้มีฝนบ้าง ดังนั้นประชาชนต้องติดตามสถานการณ์ ก่อนลงแรงทำการเกษตร เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า