SHARE

คัดลอกแล้ว

Gen Z เมืองนอกหันมานิยมช้อปปิ้งสินค้าลอกเลียนแบบมากขึ้น เน้นซื้อแบรนด์ระดับกลาง เหตุผลประหยัดเงิน บางกลุ่มตั้งใจซื้อเพราะทึ่ง ทำมาซะเนียน และยังพากันเอามารีวิวเทียบว่าตรงปกในราคาถูกกว่า จนมีศัพท์เรียกคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ว่า คนเจน Dupe มาจาก Duplicate ลอกเลียน ทำซ้ำ

ผลสำรวจโดย Morning Consult ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว สร้างความฮือฮาไม่น้อย เพราะพบว่ากลุ่ม Gen Z (อายุ 18-26 ปี) ในสหรัฐอเมริกา มากกว่าครึ่งหนึ่ง บอกว่าพวกเขาซื้อของลอกเลียนแบบบ้าง ไปจนถึงซื้อเป็นประจำเพื่อช่วยประหยัดเงิน และเห็นว่าทำไมต้องซื้อของแพง อีกส่วนเห็นว่าลองซื้อมาใช้ดูก่อนค่อยตัดสินใจซื้อของแท้

โดยมีการเสิร์ชหาซื้อผ่านแฮชแท็ก Dupe บนติ๊กต่อก ที่มียอดดูมากกว่า 6 พันล้านครั้ง แสดงให้เห็นถึงเทรนด์ของคนรุ่นนี้ที่ไม่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์สถานะที่เกี่ยวข้องกับชื่อแบรนด์ แต่กลับชอบผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานและราคาไม่แพง มากกว่าความรู้สึกว่าจะต้องใช้ของแท้ที่ผลิตจากแบรนด์นั้นๆ​ โดยตรง

Dupe หรือ Duplicate ที่แปลว่าการลอกเลียนทำซ้ำ เป็นศัพท์ของวัยรุ่นไว้เรียกสินค้าที่ทำเลียนแบบ แต่ขายในราคาถูก โดยจะมีตั้งแต่การออกแบบทำให้คล้ายๆ กัน และแบบที่ทำมาเนียนเหมือนเว่อร์ระดับถูกอวยว่าฟังก์ชั่นไม่ต่างกัน

กระแสของสินค้าลอกเลียนแบบแบรนด์ และโปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียเกิดขึ้นต่อเนื่อง เราได้เห็นการรีวิวเปรียบเทียบระหว่างของแท้กับของเลียนแบบ ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงมาก แต่ขายในราคาต่ำกว่า ทำให้ผู้คนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่กำลังมาแรงโดยไม่ต้องกังวลเรื่องงบประมาณในกระเป๋า ซึ่ง Dupe แพร่หลายอยู่ในติ๊กต่อกและอินสตาแกรมมากมาย โดยมากจะเป็นวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ที่ซื้อสินค้าลอกเลียนแบบมาและนำมาโชว์ให้ดูในโซเชียลมีเดีย และติดแฮชแท็ก Dupe นั่นเอง

น่าสนใจว่าแม้ที่ผ่านมาการสวมใส่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบมักถูกมองในแบบเยาะเย้ยหรือล้อเลียน แต่ความนิยมนี้กลับเพิ่มขึ้นจนดูเป็นเรื่องปกติและเป็นวัฒนธรรมกระแสขึ้นมา ส่งผลให้มีการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติต่อแนวคิดเรื่องการใช้ของลอกเลียนแบบในกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z จำนวนหนึ่ง

นักการตลาดและนักวิเคราะห์มองว่ากระแส Dupe Culture มักจะเกิดในสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง เมคอัพ และเสื้อผ้า โดยจะเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะคนวัยทำงานหรือผู้ใหญ่มีงบฯ ที่จะซื้อกระเป๋า เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและเป็นสินค้าแบรนด์เนมได้

ขณะเดียวกันมีการสำรวจที่น่าสนใจว่า หาก Gen Z จะควักเงินซื้อแบรนด์แท้ แบรนด์นั้นต้องเป็นแบรนด์ที่ตรงกับคุณค่าความเชื่อของพวกเขาด้วย เช่น แบรนด์แท้ที่มีความรักษ์โลกกระบวนการผลิตใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นบริษัทที่มีจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ดี แม้จะมีราคาสูงแต่ Gen Z บางส่วนก็เลือกซื้อของแท้ไม่ Dupe เช่น แบรนด์สินค้าเอ้าท์ดอร์ Patagonia เป็นต้น

Kent State Today เว็บไซต์ข่าวมหาวิทยาลัย ได้รายงานเรื่องนี้และถามนักศึกษาของ Kent State ถึงเรื่องการใช้สินค้าลอกเลียนแบบแบรนด์ โดยนักศึกษาหลายคนที่ตอบ ล้วนเคยผ่านประสบการณ์สั่งซื้อสินค้าลอกเลียน เช่นการซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ใน Amazon

เทย์เลอร์ เออร์วิน นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ปี 2 กล่าวว่า Skims (แบรนด์เสื้อผ้าและชุดชั้นในของคิม คาร์เดเชียน) มันแพงมาก แล้วทำไมฉันถึงต้องเสียเงินถึง 60 ดอลลาร์ไปกับของที่หาซื้อได้ในราคา 20 ดอลลาร์ล่ะ และใครจะสนใจว่าแบรนด์ของ คิม คาร์เดเชียนจะถูกปลอม การที่แบรนด์ Skims จะถูกทำเทียบส่วนหนึ่งก็อาจทำให้ตัวสินค้ามันโด่งดังขึ้น

มัวร่า คอนราด นักศึกษาปีที่ 2 สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน บอกว่า ในแวดวงเพื่อนๆ ฉันไม่รู้จักใครที่สนใจเรื่องชื่อแบรนด์และโลโก้ของแท้จริงๆ ฉันมีผลิตภัณฑ์ลอกเลียนมากมาย และบางอย่างมันดูเหมือนของจริงเลย

อย่างไรก็ตามยังมีบางคนที่มองว่า สุดท้ายสินค้า Dupe ก็ไม่น่าเชื่อถือ เช่น โซเชีย ฟาบริซี นักศึกษาสาขาวิชาการเงินปี 2 บอกว่าเคยซื้อสินค้าลอกเลียนเป็นรองเท้า Ugg รุ่น tazz เพราะเห็นมีขายทั่วติ๊กต่อก แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวัง เพราะใส่เดินได้ไม่ถึง 10 นาที ก็แทบจะลื่นไถล จนไม่กล้าใส่ต่อ เธอบอกว่าที่ตัดสินใจซื้อ เพราะอยากรู้ว่าสินค้า Dupe มันดีเหมือนของแท้หรือเปล่า อีกทั้งเอามาใส่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น

มีการวิเคราะห์ว่า กลุ่ม Gen Z ไม่ใช่กลุ่มที่จะมีความซื่อสัตย์ภักดีต่อแบรนด์แท้นัก

ถ้าจะมองหาผลกระทบเชิงบวกของเรื่องนี้ ก็พบว่าสินค้าตัวไหนที่เข้าไปติดกระแส Dupe ได้ อาจจะเพิ่มความนิยมของแบรนด์มากขึ้นในการถูกพูดถึง จนทำให้คนที่มีงบประมาณก็จะไปตามซื้อของแท้จากแบรนด์มาจนเพิ่มยอดขาย

แต่บางแบรนด์ก็มองว่าการถูก Dupe ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ เพราะมีการไปผลิตทำซ้ำปริมาณมาก ขณะที่มีคุณภาพต่ำกว่า และบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ เช่นเดียวกับเหตุผลที่ทำไม Uniqlo ถึงฟ้อง Shein กรณีลอกเลียนแบบกระเป๋าสะพายทรงเกี๊ยวสุดฮิตนั่นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า