SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยมี ‘แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ’ ครองตลาด 2 เจ้ามานาน ก่อน TikTok จะเข้ามาเป็น ‘ขั้วที่ 3’ ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทย พร้อมกับจุดเด่นอย่าง ‘ความบันเทิง’ นำ ‘การซื้อขาย’ ที่มาพร้อมกับวิดีโอสั้นและไลฟ์ที่เป็นพื้นที่สำหรับขายสินค้าสำคัญ ทำให้สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก Shopee และ Lazada ไปได้สำเร็จ แม้จะเล็กน้อย

หลัง TikTok ขยับไม่ทันไร ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นไม้เด็ดของ Shopee ที่ขยับมารุกทำตลาด Live Commerce อย่างเต็มกำลัง ด้วยโค้ดส่วนลด 50% ลดสูงสุด 150 บาทและลดสูงสุด 100 บาท ที่สร้างกระแสฮือฮาและช่วยบูส ‘Shopee Live’ ให้โดดเด่นขึ้นในตลาด

แม้หลายคนจะมองว่าการลุย ‘Shopee Live’ จะเป็นการลั่นกลองรบ สตาร์ทศึกอีคอมเมิร์ซไทยรอบใหม่ของ ‘Shopee’ แต่จริงๆ แล้วผู้บริหาร Shopee ยืนยันว่า “เราเป็นอีคอมเมิร์ซเจ้าแรกในไทยที่ทำไลฟ์” พร้อมเล่าว่า Shopee เริ่มทำไลฟ์มา 3-4 ปีแล้ว เพราะเห็นเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภค

นอกจากนั้น ล่าสุด ‘Shopee’ ยังได้เดินหน้ารุกอีกหนึ่งก้าว คือ เพิ่มเติมฟีเจอร์วิดีโอสั้นอย่าง ‘Shopee Video’ ที่อธิบายง่ายๆ คือ หน้าตาเหมือนกับ TikTok ทุกอย่าง คือสามารถเล่นวิดีโอสั้นอย่างต่อเนื่องด้วยการปัดขึ้น พร้อมสามารถติดตะกร้าขาย-ซื้อของได้ด้วย

เรียกได้ว่างัดขึ้นมาทุกกลยุทธ์เพื่อสู้ ‘ศึกอีคอมเมิร์ซครั้งใหม่’ โดยมีเดิมพันเป็นมูลค่า ‘ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย’ ในปีที่ผ่านมาคาดว่าแตะ 932,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนตลาดอีคอมเมิร์ซต่อตลาดค้าปลีกทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนราว 15% เท่านั้น (เทียบกับหลายๆ ชาติอย่างจีนที่มีสัดส่วนอีคอมเมิร์ซมากกว่า 20%)

เรียกว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเป็น ‘เค้กก้อนใหญ่’ ที่ใครๆ ก็อยากแบ่ง
แล้วแผนต่อไปในศึกใหญ่อีคอมเมิร์ซของ Shopee คืออะไร?
หรือจริงๆ แล้ว Shopee อยากเป็นอย่างอื่นนอกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ?

[ ถึงจะมี Live มี Video แล้ว Shopee ก็จะยังคงเป็นอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม ]

จากการปรับแนวทางมาทำ Shopee Live และ Shopee Video ของ Shopee ทำให้คำถามแรกที่ทุกคนอยากรู้ คือ Shopee อยากเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหรือแพลตฟอร์มวิดีโอแบบ TikTok ไหม?

ทาง Shopee (‘การัน อำบานี’ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจช้อปปี้ (ประเทศไทย) และ ‘สุชญา ปาลีวงศ์’ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ ประเทศไทย) ยืนยันว่า ตัวตนของเราเป็น ‘แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ’ และยังคงเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอยู่ เราไม่ได้จะเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม

แต่ถ้าผู้ซื้อต้องการอะไร เราก็จะจัดหาเครื่องมือมาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อย่างเช่นต้องการดูรีวิวก่อนซื้อก็จะจัดหาเครื่องมือช่วยในการดูรีวิวก่อนซื้อมาให้ อย่างในปี 2024 ลูกค้าต้องการ ‘คอนเท้นต์’ ในการซื้อสินค้า จึงเป็นที่มาของ Shopee Video และ Shopee Live ที่จริงๆ Shopee ซุ่มพัฒนามานานหลายปีก่อนหน้านี้ เพราะ “เมื่อเราตอบโจทย์เขาได้ เขาก็จะกลับมาหาเรา”

พร้อมอธิบายว่า “เราเป็นอีคอมเมิร์ซเจ้าแรกในไทยที่ทำไลฟ์” เพราะเห็นเทรนด์ของผู้บริโภคมาจึงได้พัฒนาฟีเจอร์เพื่อตอบโจทย์เหล่านั้น ในปีที่แล้วเป็นปีที่เริ่มเห็นผลสัมฤทธิ์และเห็นคอนเวอร์ชันชัดเจนขึ้น

แม้ว่าหลายคนมองว่าจะให้ลูกค้าซื้อผ่านไลฟ์ได้ต้องมีโปรโมชัน แต่จริงๆ แล้วทุกโปรแกรมของ Shopee เริ่มจากการซับซิดี้เพื่อสร้างทราฟิกเข้ามา ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นยอดขายสูง และอนาคตจะต้องยั่งยืนด้วยตัวเอง หลังการเปลี่ยนแปลงโปรโมชันและแบรนด์เข้ามาซับซิไดซ์มากขึ้น

โดย Shopee เชื่อว่า การเข้ามาของอีคอมเมิร์ซเจ้าใหม่ๆ จะเป็นผลดีต่อวงการอีคอมเมิร์ซ เพราะช่วยกัน educate ตลาดให้ผู้ใช้บริการให้รู้จักฟีเจอร์ใหม่ๆ และเทรนด์ใหม่ๆ ในวงการอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

[ ผู้ใช้โนหนึ่ง คือ คนรุ่นใหม่ Shopee กางแผนอีกขั้นของอีคอมเมิร์ซ ]

อีกหนึ่งในจุดที่กำหนดแนวทางของ Shopee คือ สัดส่วนผู้ใช้งาน Shopee ประเทศไทยมากกว่า 50% เป็นคนเจน Y และเจน Z ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี สอดคล้องกับกลุ่มผู้ใช้งานไทยที่ใช้งานและซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่น

Shopee ที่วางแนวทางใหม่จะโตไปเป็น ‘Shopee Beyond The Commerce’ หรืออีคอมเมิร์ซที่เหนือกว่าเดิม ยกระดับบริการ-การมีส่วนร่วม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน บอกว่า ได้ปรับหลายมิติ เพื่อเสิร์ฟให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน

Shopee แบ่งสิ่งที่ทำไปแล้วออกเป็น 3 ด้าน คือ
1) สิ่งใหม่ในไลน์วิดีโอ Shopee Live & Shopee Video
2) บริการหลังการขาย 24 ชั่วโมง คืนสินค้าได้ไวและฟรี
3) เครื่องมือการตลาด KOL Pool ไซส์ใหญ่และเลขเบิ้ลยังไปต่อ

[ สิ่งใหม่ในไลน์วิดีโอ  Shopee Live & Shopee Video ]

– Shopee Live เนื่องจากพบว่า คนไทยซื้อของผ่านไลฟ์สตรีมติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก รองแค่จากจีนและอินเดียเท่านั้น โดยในปีที่ผ่านมา ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2566 และยอดขายโต 10 เท่าเทียบปีก่อนหน้า

โดยชูจุดแตกต่างอย่าง ‘เซอร์ไพร์ซ’ ที่เกิดขึ้นใน Live อย่างการเด้ง ‘โค้ดส่วนลด’ ขึ้นมาระหว่างไลฟ์และการเปิดให้โหวตโพลในไลฟ์ ที่น่าสนใจในเคส Shopee Live คือ สินค้าในหมวดอาหารได้รับความนิยมมากขึ้น ขึ้นมาเป็น TOP3 แตกต่างจากหมวดยอดนิยมปกติ 3 หมวด อย่างความงามและของใช้ส่วนตัว เครื่องใช้ในบ้าน และอาหารเครื่องดื่ม

ตัวอย่างความสำเร็จ คือ แคมเปญ 11.11 แบรนด์ยูนิลิเวอร์สามารถสร้างยอดออเดอร์ได้มากกว่าช่วงเวลาปกติ 1,000% ที่ประสบความสำเร็จจากการนำเสนอโปรดักส์ใหม่ จัดโปรโมชัน และบันเดิลดีล

– Shopee Video เพราะพบว่า 64% ของนักช้อปชอบดูรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อของ และ 2 ใน 3 ของนักช้อปรับชมสินค้าผ่านวิดีโอสั้น โดยประเทศที่มีฟีเจอร์ Shopee Video คือ อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

[ บริการหลังการขาย 24 ชั่วโมง ส่งเร็วขึ้น คืนสินค้าได้ไวและฟรี ]

– Call Center ศูนย์บริการลูกค้า 24 ชั่วโมง ทีมงานคนไทย แก้ปัญหาภายใน 1 วัน
– Shopee Guarantee โปรแกรมช้อปปี้การันตี คลิกเดียว คืนได้ใน 48 ชั่วโมง รับสินค้าฟรีถึงบ้าน
– Shop Safe with Shopee ช้อปปลอดภัยกับช้อปปี้ ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

[ เครื่องมือการตลาด KOL Pool ไซส์ใหญ่และเลขเบิ้ลยังไปต่อ ]

– Shopee Affiliate Marketing Solution (AMS) ช่วยร้านค้าและแบรนด์โปรโมทสินค้าผ่านเครือข่ายพาร์ทเนอร์ผู้โปรโมทสินค้า สร้างการรับรู้-เพิ่มอัตราการมองเห็นแบรนด์หรือร้านค้าได้

โดยครึ่งหลังของปีที่แล้ว ‘แคมเปญดับเบิ้ลเดท’ ผู้เข้าร่วมโปรแกรมโต 3 เท่า ยอดขายโต 11 เท่าจากช่วงปกติ และ Shopee เชื่อว่า เป็นอีคอมเมิร์ซที่มี KOL Pool ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

– แคมเปญ ‘เลขเบิ้ล’ ยังคงไปต่อได้ดี โดยแคมเปญเลขเบิ้ลในไตรมาส 1 ปีนี้เติบโต 1.1 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2023 แคมเปญที่เติบโตสูงสุดคือ 11.11 และ 12.12 ที่เติบโต 1.5 เท่า)

[ ใครตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดีที่สุด จับเทรนด์ต้องดีและต้องเร็ว ]

โดย ‘การัน อำบานี’ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจช้อปปี้ (ประเทศไทย) บอกว่า อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเมื่อก่อนอาจจะเป็นเรื่อง ‘ราคา’ เรื่องเดียว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องราคาเรื่องเดียว แต่มีเรื่องความปลอดภัย การคืนสินค้า การบริการ ไปจนถึงวิธีการซื้อสินค้าใหม่ๆ อย่างวิดีโอหรือไลฟ์สตรีม มูฟต่อไปของ Shopee คือ User Centric หรือ “มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง”

ความท้าทาย คือ “ใครจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีที่สุด” ดังนั้น จึงจะต้องจับเทรนด์ให้ดีและเร็ว เพราะความต้องการของผู้ซื้อผู้ขายเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันตลอดเวลา อันไหนทำได้ต้องทำเลยและทำแล้วไม่ดีก็ต้องมูฟออน เป้าหมายคือ นำ Shopee เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งาน

อีกเรื่องที่ Shopee อธิบายคือ ปัจจัยที่ทำให้ Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่สามารถทำกำไรได้ คือ การหารายได้เพิ่มจากผู้ใช้ โดยเมื่อผู้ใช้มากเพิ่มขึ้นและสเกลแล้ว ต้นทุนของ Shopee ก็จะลดลงจากการประหยัดต่อขนาดที่ลดลง

ฟังจาก Shopee แล้วเห็นเลยว่า ศึกอีคอมเมิร์ซในปี 2024 นี้ไม่ได้เดือดน้อยลง แต่กำลังเดือดมากขึ้นเรื่อยๆ ยักษ์ใหญ่พยายามรักษาตำแหน่ง รักษาฐานผู้ใช้ และดึงดูดผู้ใช้ใหม่ๆ เข้ามาสู่แพลตฟอร์ม ขณะที่หน้าใหม่แห่งวงการก็กำลังขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างเต็มที่ ศึกนี้ยังยากจะตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ชนะ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า