SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2566 (Value of e-Commerce Survey in Thailand 2023) มีมูลค่าถึง 5.96 ล้านล้านบาท

โดยกลุ่ม B2C มีสัดส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุด และน่าสนใจว่าอุตสาหกรรมประกันภัยมาแรง คาดการณ์การเติบโตมากสุดกว่า 31%

ส่วนช่องทางการขายยอดนิยมอยู่บน e-Marketplaces และ Social Commerce ซึ่งกลุ่มนี้ Facebook มากที่สุด รองลงมา TikTok และ Instagram

ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยถึงมูลค่าอีคอมเมิร์ซ จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซทั่วประเทศ

โดยสำรวจจาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก, อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร, อุตสาหกรรมการประกันภัย, อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และอุตสาหกรรมการบริการด้านอื่นๆ รวมกว่า 3,440 ราย ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.66

เมื่อพิจารณามูลค่าอีคอมเมิร์ซรวม จำแนกรายอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมการค้าปลีกและค้าส่ง ยังคงมีมูลรวมมากที่สุด อยู่ที่ 2.83 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการค้าปลีก 1.53 ล้านล้านบาท และอุตสาหกรรมการค้าส่ง 1.30 ล้านล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิต 6.99 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมการขนส่ง 5.52 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมการให้บริการที่พักและอาหาร 4.28 แสนล้านบาท และ อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 2.99 แสนล้านบาท

โดยช่องทางการขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ e-Marketplaces 24.58% (อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการขายผ่านช่องทางดังกล่าวมากที่สุด ได้แก่ การค้าปลีกและค้าส่ง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต และบริการที่พักและอาหาร ตามลำดับ)

รองลงมาคือ การขายผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของกิจการเอง 23.60% และ Social Commerce (มากสุดคือ Facebook รองลงมาคือ TikTok และ Instagram) 22.25%

ประเภทของช่องทางการชำระเงิน ที่ถูกเลือกใช้งานมากที่สุด คือ Mobile/Internet Banking 68.12% ของช่องทางทั้งหมด รองลงมาคือ เก็บเงินปลายทาง 7.92% เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภครายได้น้อย และต้องการตรวจสอบสินค้าก่อนชำระเงิน และสั่งจ่ายผ่านเช็ค 6.93% โดยนิยมมากในกลุ่มธุรกิจด้วยกัน

ขณะที่ช่องทางการขนส่งสินค้า พบว่า SMEs นิยมใช้มากสุดคือ ธุรกิจขนส่งสินค้าในประเทศ 41% เนื่องจากความเร็วในการจัดส่งสินค้าและต้นทุนต่ำ จึงเลือกใช้ช่องทางนี้มากที่สุด รองลงมา ไปรษณีย์ไทย 32% เนื่องจากให้บริการครอบคลุมพื้นที่ขนส่งครอบคลุมทั่วประเทศไทย และมีความปลอดภัยสูง ส่วนธุรกิจระดับ Enterprises นิยมเลือกใช้บริษัทจัดส่งสินค้าด้วยตนเอง 63% เนื่องจากต้องการควบคุมเวลาและคุณภาพของสินค้าในการส่ง รองลงมาคือ บริษัทจัดส่งสินค้าในประเทศ 38% ตามลำดับ

คาดการณ์ว่า มูลค่าอีคอมเมิร์ซของไทยจะพุ่งสูงต่อเนื่อง โดยปี 2566 จะแตะถึง 5.96 ล้านล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่จะมาแรง และมีมูลค่าอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่น่าจับตา คือ อุตสาหกรรมการประกันภัย ที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 31% รองลงมา อุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ 24% และอุตสาหกรรมการค้าปลีกและค้าส่ง 13%

ปัจจัยภายในที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มองว่าส่งผลต่อมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ได้แก่ การสร้าง Customer Experience ที่ดีให้กับลูกค้า เช่น การเพิ่มช่องทางการให้บริการ การจำหน่าย การชำระเงิน แม้กระทั่งการเลือกขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม

ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุด ได้แก่ ภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการซื้อสินค้าออนไลน์ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกและคล่องตัวในการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงความพร้อมของใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อ ระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์

ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้ Technology ที่น่าสนใจได้แก่ Affiliate Marketing หรือ การตลาดออนไลน์ ที่มีตัวแทนในการช่วยขายสินค้าหรือบริการ และจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบ Commission เป็นสาเหตุหลักที่ช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขายมากถึง 50% โดยมีผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามเพียง 18% เท่านั้นที่กำลังใช้ Affiliate Marketing ขณะที่ 36% สนใจที่จะทำ Affiliate Marketing

นอกจากนี้ พบว่า มีผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในธุรกิจ 29% ส่วนอีก 71% ยังไม่ใช้ เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ มีความไม่มั่นใจว่าจะนำปัญญาประดิษฐ์ไปปรับใช้กับส่วนใดของธุรกิจ และความซับซ้อนความเข้าใจของเทคโนโลยี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า