SHARE

คัดลอกแล้ว

คสรท.-สรส. ทวงถามนโยบายของรัฐบาลที่เคยแถลงต่อสาธารณะว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยวันละ 425 บาท ยังไร้วี่แวง เรียกร้องปรับค่าจ้างวันละ 492 บาทครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกจดหมายเปิดผนึกรัฐบาล เรื่อง ขอให้รัฐบาลเร่งปรับค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน สาระสำคัญระบุว่า

ตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้ใช้ความพยายามเพื่อผลักดันให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อความเป็นธรรมในสังคม และการดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เหตุด้วยสภาวการณ์เศรษฐกิจโดยรวมทั้งอัตราเงินเฟ้อทั้งของประเทศไทย และทั่วโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้ราคาสินค้าทุกรายการ ทั้งอาหารการกิน เครื่องมือ เครื่องใช้ ราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น ทำให้คนงานและพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และประชาชนต่างใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างยากลำบาก และยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คนงานจำนวนไม่น้อยต้องตกงาน ว่างงาน ขาดรายได้ ไร้อาชีพ บางคนต้องเข้าโครงการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-๑๙ แต่ต้องแบกรับภาระจากค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต แทนผู้ประกอบการที่ตนทำงานให้ ทำให้แต่ละคนต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอด ในขณะที่ค่าจ้างไม่ได้มีการปรับมาเกือบ ๓ ปีแล้ว นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม

ซึ่งประเทศไทยถูกจัดลำดับจาก CS Global Wealth Report เมื่อปี 2018 จนถึงปัจจุบันว่าเป็นประเทศที่ “มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก” หลายประเทศได้ให้น้ำหนักและความสำคัญกับคนงาน เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ที่กล่าวเช่นนั้นเหตุผลเชิงประจักษ์ ก็คือ การที่รัฐบาลสนับสนุนการลงทุน และมีการจ้างงาน อัตราการว่างงานสามารถควบคุมได้ย่อมเป็นสัญญาณการเติบโตของประเทศ แล้วการที่ประเทศใดๆ สามารถสร้างงานย่อมหมายถึง การสร้างคน สร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดการหมุนเวียน เกิดการผลิต มีการจ้างงาน เกิดรายได้ มีการจับจ่าย เพราะท้ายที่สุดแล้วรายได้ของแรงงานย่อมหมายถึงภาษีที่รัฐสามารถจัดเก็บได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งนั่นคือ เป้าหมายที่แท้จริงของการสร้าง ความมั่นคง ความมั่งคั่ง ความยั่งยืนให้กับประเทศ

ครั้งสุดท้ายของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้ถูกแบ่งออกเป็น 10 ราคา ตามเขตพื้นที่ คือ 313, 315, 320, 323, 324, 325, 330, 331, 335 และ 336 บาท แต่หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึงอาจเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลและผู้ประกอบการบางแห่งอ้างว่า ระบบการผลิต การจ้างงาน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ ธุรกิจ สถานประกอบการ ร้านค้า ต้องลดการผลิต บางแห่งต้องปิดกิจการไปเลย ทำให้เกิดการเลิกจ้างแต่ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสถานประกอบการจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่อาศัยสถานการณ์โรคโควิด ปลด เลิกจ้างคนงาน โดยไม่จ่ายเงินใดๆ ทำให้คนงานเป็นจำนวนมากขาดรายได้ ไร้อาชีพ ดังที่กล่าวมา แม้รัฐบาลพยายามยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือด้วยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และแจกจ่ายเงินให้แก่ประชาชนในโครงการต่างๆ รวมทั้งมาตรการของระบบประกันสังคม แต่ก็ไม่ได้ทำให้คนงานมีชีวิตที่ดีขึ้นเพราะการช่วยเหลือเป็นเพียงระยะสั้นๆ และเงินที่นำมาแจกก็ล้วนเป็นเงินที่กู้มา ซึ่งจะเป็นหนี้สาธารณะในอนาคต ที่ประชาชนคนไทยทุกคนจะต้องร่วมชดใช้ แต่ในอีกด้านหนึ่งในขณะที่ประชาชนทุกข์ยากอย่างหนักแต่รัฐบาลเองกลับไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้อยู่ในระดับที่ประชาชนสามารถซื้อหาได้โดยไม่เดือดร้อน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความทุกข์ยากของประชาชนที่มีอยู่แล้วกลับเพิ่มสูงมากขึ้น ข้อมูลทั้งจากสถาบันทางการเงิน สถาบันวิจัยของรัฐและเอกชนหลายแห่งต่างวิเคราะห์ที่สอดคล้องกัน คือ ภาวะอัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่ปรับราคาสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบด้านแรงงานอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงาน

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลโดยพรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ได้เคยแถลงนโยบายต่อสาธารณะว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยวันละ 425 บาท จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้แต่ประการใด และที่ผ่านมา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เคยยื่นนำเสนอหลักการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาท 421 บาท และ 700 บาท

โดยปรับเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2560 เหตุผลในการขอปรับเพิ่มนั้นมาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งล้วนแสดงถึงความต้องการถึงความเดือดร้อนค่าจ้างไม่พอที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัว แม้กระทั่งลูกจ้างในภาครัฐที่รัฐเป็นผู้จ้างงานเองแต่กลับไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐประกาศโดยอ้างว่าลูกจ้างภาครัฐไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดต่อหลักปฏิญญาสากล ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

อย่างไรก็ตาม การเสนอเรื่องตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ใช้ข้อมูลการสำรวจจากความเดือดร้อนของคนงานทั่วทุกภูมิภาคของประเทศเมื่อเดือนกันยายน 2560 ผลสรุปจากแบบสอบถามคือค่าใช้จ่ายรายวันๆ ละ 219.92 บาท เดือนละ 6,581.40 บาท (ค่าเดินทาง ค่าอาหาร) ค่าใช้จ่ายรายเดือน (เช่น ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต การศึกษาบุตร ดูแลบุพการี ค่าใช้จ่ายสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน) เดือนละ 14,771.52 บาท

หากนำค่าใช้จ่ายรายวัน และ รายเดือน มารวมกันจะอยู่ที่ 21,352.92 บาท เป็นค่าจ้างที่พอเลี้ยงครอบครัวได้อยู่ที่วันละ 712 บาท แต่ คสรท. และ สรส. ได้ประชุมร่วมกันและมีมติเสนอตัวเลขในการปรับค่าจ้างเชิงประนีประนอมโดยคำนวณเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือนมาเฉลี่ยด้วย 30 วัน

ดังนั้น ตัวเลขที่เสนอปรับค่าจ้างในครั้งนี้จึงอยู่ที่ วันละ 492 บาท และขอให้ปรับขึ้นในอัตราเท่ากันทั้งประเทศ ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน เหตุเพราะราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นมีการปรับพร้อมกันทั้งประเทศไม่ได้เลือกเขต เลือกโซน เลือกจังหวัด และ เกือบทุกรายการราคาสินค้าในต่างจังหวัดสูงกว่าในกรุงเทพมหานคร และส่วนกลาง

ข้อเสนอทั้งหมดดังกล่าว คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้รวบรวมข้อมูลความเป็นจริง จากแรงงานในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากหน่วยงานรัฐ ทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ และจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และในสถานการณ์ของประเทศไทย ถึงภาวะการดำรงชีพของคนงานและประชาชนที่มีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในช่วงของการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศให้เท่ากัน ทั้งในระยะยาวรัฐบาลต้องสร้างมาตรฐานและหลักประกันที่มั่นคงแก่คนงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

นายทุนออกมาปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาก็ไม่ใช่เรื่องผิด

แต่คนงานยื่นข้อเสนอต่อรัฐ เพียงแค่ยื้อชีวิตให้ไปต่อได้เท่านั้น

คุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกัน รัฐบาลต้องยืนยันปรับค่าจ้าง

เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ 492 บาทต่อวัน เท่ากันทั้งประเทศ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=7353834181353729&id=1406814556055751

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า